วลีและประโยค |
![]() |
เขียนโดย ภาษาสยาม |
วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน 2008 เวลา 12:43 น. |
วลี คือ กลุ่มคำที่กล่าวออกมาได้ใจความ แต่ไม่ครบทั้งสองภาค คือถ้ามีภาคประธานก็ขาดภาคแสดง ถ้ามีภาคแสดงก็จะขาดภาคประธาน ประโยค คือ ถ้อยคำที่เรียงกันเป็นระเบียบสมบูรณ์ ประกอบด้วยภาคประธาน และภาคแสดง แต่ละภาคจะมีส่วนขยายหรือไม่ก็ได้ วลี มี ๗ ชนิด เหมือนชนิดของคำ สังเกตว่าเป็นวลีชนิดใกได้จากคำขึ้นต้นของกลุ่มคำนั้นๆ เช่น นามวลี ขึ้นต้นด้วยคำนาม เช่น โรงเรียนของเรา สรรพนามวลี ขึ้นต้นด้วยสรรพนาม เช่น เขาทั้งหลาย กริยาวลี ขึ้นต้นด้วยคำกริยา เช่น ดีดสีตีเป่า วิเศษณ์วลี ขึ้นต้นด้วยคำวิเศษณ์ เช่น งามเหลือหลาย บุพบทวลี ขึ้นต้นด้วยคำบุพบท เช่น สู่จุดหมายปลายทาง สันธานวลี ขึ้นต้นด้วยคำสันธาน เช่น แต่อย่างไรก็ดี อุทานวลี สังเกตได้จากจะมีคำอุทานต่างๆอยู่ เช่น โอ้ตัวเราเอ๋ย
ประโยค แบ่งเป็นรูปประโยค และชนิดประโยครูปประโยค มี ๕ รูป ๑. ประโยคกรรตุ ( อ่านว่า กัด - ตุ ) ๒. ประโยคกรรม ๓. ประโยคกริยา ๔. ประโยคการิต ๕. ประโยคกริยาสภาวมาลา
ที่มา เอกสารประกอบการอบรมการเขียน ผศ.ประเทือง คล้ายสุบรรณ |
แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน 2008 เวลา 13:20 น. |