คำและคณะของร้อยกรอง |
![]() |
![]() |
![]() |
เขียนโดย ภาษาสยาม |
วันพุธที่ 10 กันยายน 2008 เวลา 13:50 น. |
บทร้อยกรองแบ่งเป็น ๕ ประเภทใหญ่ๆ คือ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย บทร้อยกรองแต่ละประเภทยังแบ่งเป็นประเภทย่อยๆได้อีกมากมาย เราสามารถแบ่ง ประเภทของร้อยกรองได้ เพราะมีลักษณะบังคับที่แตกต่างกัน ลักษณะบังคับของร้อยกรองประเภทต่างๆสรุปได้ดังนี้ ๑ .คณะ ๒ . คำ ๓. สัมผัส ๔. คำเป็น - คำตาย ๕. คำครุ - ลหุ ๖. เสียงวรรณยุกต์ ๗. คำเอก - โท ๘. คำขึ้นต้น ๙. คำสร้อย ๑๐. คำลงท้าย
คณะ คณะ คือ ข้อกำหนดว่าร้อยกรองชนิดนั้นจะต้องมีจำนวนคำเท่าใดใน ๑ วรรค ๑ บาท หรือ ๑ บท เช่น กาพย์ยานี กำหนดคณะไว้ว่า ๑ บท มี ๒ บาท ๑ บาท มี ๒ วรรค วรรคแรกมี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ * คณะเป็นลักษณะบังคับที่ร้องกรองทุกประเภทต้องมี
คำ คำเป็นหน่วยย่อยที่สุดในคณะของฉันทลักษณ์ การนับคำทางฉันทลักษณ์ ต่างจากการนับคำทางไวยากรณ์ การนับคำทางฉันทลักษณ์ถือการออกเสียงเป็นเกณฑ์ เมื่ออ่านบทร้อยกรอง ผู้อ่านจึงควรทราบลักษณะบังคับของร้อยกรองนั้นว่าบังคับจำนวนคำ วรรคละเท่าใด เพื่อจะได้อ่านครบถ้วนตามฉันทลักษณ์ ไม่ทำให้ลีลาจังหวะของร้อยกรอง บกพร่องไป คำประพันธ์ประเภทโคลง กลอน กาพย์ ร่าย ไม่เคร่งครัดจำนวนคำมากนัก แต่ในคำประพันธ์ประเภทฉันท์ จะเคร่งครัดจำนวนคำมาก ที่มา หนังสือเรียนภาษาไทย ม. ๒ นันทา ขุนภักดี |
แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน 2009 เวลา 18:15 น. |