สัมผัส..ของร้อยกรอง |
![]() |
![]() |
![]() |
เขียนโดย ภาษาสยาม |
วันพุธที่ 10 กันยายน 2008 เวลา 13:59 น. |
สัมผัส คือ การกำหนดคำให้คล้องจองกัน แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ ๑. สัมผัสสระ คือ คำที่ประสมเสียงสระเดียวกัน ถ้าเป็นคำที่มีตัวสะกดก็ต้องเป็น ตัวสะกดมาตราเดียวกัน เช่น ใช่การชาญกอบชอบกิจ เพ่งมองผองมิตรพิศหมาย ข้อกล่าวข่าวกล้ำคำกลาย เหมือนแทนแม่นทายหมายที คำที่สัมผัสสระกัน คือ การ - ชาญ กอบ - ชอบ มอง - ผอง มิตร - พิศ กล่าว - ข่าว กล้ำ - คำ แทน - แม่น ทาย - หมาย
๒ . สัมผัสพยัญชนะ คือ คำที่มีพยัญชนะต้นเป็นเสียงเดียวกัน อาจเป็นพยัญชนะตัวเดียวกัน หรือเป็น เสียงสูงต่ำเข้าคู่กันก็ได้ หรืออาจเป็นพยัญชนะควบชุดเดียวกัน คู่ - คอ - แคน - ขัน / ชน - ชาม - เชิญ ฉาย ปลอบ / เปลี่ยน / ปลาย / ขวา - แขวน - ควัน - ความ ที่มา หนังสือเรียน ภาษาไทย ม.๒ .นันทา ขุนภักดี |
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 10 กันยายน 2008 เวลา 23:42 น. |