สัมผัสนอก - สัมผัสใน |
![]() |
![]() |
![]() |
เขียนโดย ภาษาสยาม |
วันพุธที่ 10 กันยายน 2008 เวลา 14:19 น. |
สัมผัสนอก คือ สัมผัสที่ส่งจากวรรคหนึ่ง ไปยังอีกวรรคหนึ่งตามข้อบังคับ ของร้อยกรองแต่ละประเภท ดังตัวอย่าง เขาทำชอบปลอบให้น้ำใจชื่น จึงเริงรื่นรักแรงไม่แหนงหนี ปรารถนาสารพัดในปถพี เอาไมตรีแลกได้ดังใจปอง ( เพลงยาวถวายโอวาส : สุนทรภู่ ) สัมผัสใน คือ สัมผัสที่อยู่ในวรรคเดียวกัน จะเป็นสัมผัสสระ หรือ สัมผัสพยัญชนะก็ได้ ถึงแม้สัมผัสในจะไม่มีกฎเกณฑ์บังคับเหมือนสัมผัสนอก แต่ก็มีส่วนช่วยให้บทร้อยกรองมีความไพเราะยิ่งขึ้น อันความคิดวิทยาเหมือนอาวุธ ประเสริฐสุดซ่อนใส่เสียในฝัก สงวนคมสมนึกใครฮึกฮัก จึงค่อยชักเชือดฟันให้บรรลัย ( เพลงยาวถวายโอวาท : สุนทรภู่ ) |
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 10 กันยายน 2008 เวลา 23:41 น. |