การใช้เสียงอำแทนเสียงเอกในโคลงสี่สุภาพ พิมพ์
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันเสาร์ที่ 13 กันยายน 2008 เวลา 07:00 น.
          ชมแขคิดใช่หน้า นวลนาง
เดือนตำหนิวงกลาง ต่ายแต้ม

พิมพ์พักตร์แม่เพ็ญปราง จักเปรียบ ใดเลย

ขำกว่าแขไขแย้ม ยิ่งยิ้มอัปสร

                              ( นิราศ นรินทร์ )

          โฉมแม่ฝากน่านน้ำ อรรณพ แลฤา

ยยวนาคเชยชอก พี่ไหม้

โฉมแม่รำพึงจบ จอมสวาสดิ กูเอย

โฉมแม่ใครสงวนได้ เท่าเจ้าสงวนเอง

                           ( โคลงกำสรวลศรีปราชญ์ )

           ยามไร้เด็ดดอกหญ้า แซมผม

หอมบ่หอมทัดดม ดั่งบ้า

สุกกรมลำดวนชม เชยกลิ่น

หอมกลิ่มเรียมโอ้อ้า กลิ่นแก้วติดใจ


                           ( ลิลิตพระลอ )

            กฎ ข้อบังคับ ฉันทลักษณ์ หรือทฤษฎีใดๆก็ตาม มักเกิดขึ้นภายหลัง ซึ่งต้องผ่านการวิจารณ์

จนเป็นที่ยอมรับ ดังนั้นหากเรานำกฎข้อบังคับ หรือ ฉันทลักษณ์ไปจีบกวีนิพนธ์โบราณก็จะถือว่าผิด

หมด มิหนำซ้ำอาจเป็นการลบหลูบุรพกวีท่านโดยบังอาจ


            หากตั้งข้อสังเกตจะเห็นได้ว่า " คำที่ใช้แทนเสียงเอก " ในโคลงเหล่านี้ล้วนเป็นคำประสมสระอำ

ทั้งสิ้น คำบางคำ เช่น สำแดง คำนึง ซึ่งปัจจุบันเราเปลี่ยนไปใช้ แสดง คะนึงเพื่อเข้าหลักอนุโลมใน

การใช้คำตายแทนเสียงเอกได้ แต่บุรพกวีทั้งหลายท่านกลับมีความเข้าใจที่ตรงกัน คือ ใช้ อำ แทนเสียงเอก

ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นเรื่องบังเอิญได้ 


            การอนุโลมใช้อำ แทน ลหุ ในคำประเภทฉันท์ ก็พอทึกทักเอาว่า คำลหุ เช่น มิ จะ นะ ลุ และ ล้วนแต่

 

เป็นคำตายทั้งสิ้น ซึ่งในคำประพันธ์ประเภทโคลง อนุโลมให้ใช้คำตายแทนเอกได้ แต่การเขียนโคลงสี่สุภาพ

 

ยุคนี้ เราต้องยึดฉันทลักษณ์ เอกเจ็ด โทสี่ ตามตำแหน่งที่ถูกต้อง โดยเฉพาะการประกวด " กรุณาอย่าแผลง "

 

ถ้าแผลงคือจบ แต่หากจะเขียนตามความสะใจของตนเองแล้ว จะนั่งเขียน นอนเขียน หรือตีลังกาเขียน

 

อย่างไร ก็คงจะไม่ผิดกติกากระมัง



ที่มา อาจารย์ชมพร เพชรอนันต์กุล วารสารสุนทรภู่