การแต่งกลอนสุภาพ |
เขียนโดย ภาษาสยาม |
วันเสาร์ที่ 13 กันยายน 2008 เวลา 07:42 น. |
กลอนสุภาพพึงจำมีกำหนด กลอนหนึ่งบทสี่วรรคกรองอักษร วรรคละแปดพยางค์นับศัพท์สุนทร อาจยิ่งหย่อนเจ็ดหรือเก้าเข้าหลักการ ห้าแห่งคำคล้องจองต้องสัมผัส สลับจัดรับรองส่งประสงค์สมาน เสียงสูงต่ำต้องเรียงเยี่ยงโบราณ เป็นกลอนกานท์ครบครันฉันท์นี้เอย ฐะปะนีย์ นาครทรรพ
คณะของกลอนสุภาพ
ของกลอนสุภาพเป็นสัมผัสสระตามแผนผัง
แผนผังกลอนสุภาพจำนวน ๑ บท
ขอขอบคุณแผนผังกลอนสุภาพจาก http://www.st.ac.th/bhatips/glon.htm
สัมผัส
พยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับพยางค์สุดท้ายของวรรคที่ ๓ และสัมผัส
กับพยางค์ที่ ๓ หรือ ๕ ในวรรคที่ ๔
สัมผัสระหว่างบท
สัมผัสใน
ยังต้องมีสัมผัสในที่เป็น สัมผัสสระและสัมผัสอักษร อีกด้วยจึงจะเป็นบทกลอนที่ไพเราะ
เสียงวรรณยุกต์ คือ การบังคับเสียงท้ายวรรคของบทร้อยกรอง โดยเฉพาะบทร้อยกรองประเภทกลอน อันที่จริงไม่ถึงกับเป็นการบังคับที่เคร่งครัด แต่ก็เป็นความนิยมโดยทั่วไปทางการแต่งบทร้อยกรอง
เสียงท้ายวรรคของกลอน วรรคสดับ นิยมใช้เสียงวรรณยุกต์ทุกเสียง วรรครับ นิยมใช้เสียงวรรณยุกต์เอก โท และจัตวา วรรครอง นิยมใช้เสียงวรรณยุกต์สามัญ และ ตรี วรรคส่ง นิยมใช้เสียงวรรณยุกต์สามัญ และตรี หลักการสังเกตเสียงวรรณยุกต์
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน 2013 เวลา 17:53 น. |