การแต่งอินทรวิเชียรฉันท์๑๑ พิมพ์
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันอังคารที่ 16 กันยายน 2008 เวลา 17:28 น.

อินทรวิเชียรฉันท์๑๑

      หมายถึง  เพชรของพระอินทร์  ซึ่งมีแสงสวยงามระยิบระยับ  เป็นฉันท์ที่ไพเราะรองจากวสันตดิลกฉันท์

สำหรับแต่งเรื่องโน้มน้าวจิตใจให้หวั่นไหว  บังเกิดความเอ็นดู  สงสาร  เศร้าสลด  หรือบรรยายความ

 

คณะและพยางค์

      บทหนึ่งมี  ๒  บาท  ๔ วรรค  วรรคที่ ๑  มี  ๕ คำ 

วรรคที่ ๒ มี ๖ คำ  วรรคที่ ๓  มี  ๕  คำ  วรรคที่ ๔  มี  ๖  คำ

หนึ่งบทมี  ๒๒ คำ

 

สัมผัส   มีสัมผัสในบท  ๒  แห่ง  คือ

             ๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑  สัมผัสกับคำที่ ๓  ของวรรคที่ ๒

             ๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒  สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓

        สัมผัสระหว่างบท  คือคำสุดท้ายของบท สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ในบทต่อไป

 

คำครุลหุ   บทหนึ่งมีคำครุ  ๑๔  คำ  คำลหุ  ๘  คำ

           วรรคที่ ๑  และวรรคที่ ๓  มีคำครุ  ๔  คำ  คำลหุ ๑ คำ  คำที่ ๑  ๒   ๔  ๕

เป็นคำครุ   คำที่ ๓  เป็นคำลหุ

          วรรคที่ ๒  และวรรคที่ ๔  มีคำครุ  ๓  คำ  คำลหุ  ๓  คำ  คำที่ ๑  ๒  ๔

เป็นคำลหุ  คำที่ ๓  ๕  ๖  เป็นคำครุ

แผนผัง

 

ตัวอย่าง

         โขดเขินศิรขรเขา              ณ  ลำเนาพนาลัย

สูงลิ่วละลานนั -                         ยนพ้นประมาณหมาย

        ยอดมัวสลัวเมฆ                 รุจิเรขเรียงราย

เลื่อมเลื่อมศิลาลาย                     ก็สลับระยับสี

                                    อิลราชคำฉันท์  พระยาศรีสุนทรโวหาร ( ผัน )

 

ที่มา  หนังสือการแต่งคำประพันธ์  ประยอม  ซองทอง

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 09 พฤษภาคม 2009 เวลา 16:32 น.