วสันตดิลกฉันท์๑๔ |
เขียนโดย ภาษาสยาม |
วันอังคารที่ 16 กันยายน 2008 เวลา 18:09 น. |
วสันตดิลกฉันท์ ๑๔ มีความหมายเรียกกันว่า ฉันท์สายฝน เป็นฉันท์ที่มีลีลางดงามที่สุด ประดุจความงามของน้ำฝนในวสันตฤดู มีความไพเราะเหมาะสำหรับแต่งเรื่องพรรณนา ชมเชย ให้ผู้ฟังรู้สึกไพเราะซาบซึ้งกินใจ
คณะและพยางค์ บทหนึ่งมี ๒ บาท ๔ วรรค วรรคที่ ๑ มี ๘ คำ วรรคที่ ๒ มี ๖ คำ วรรคที่ ๓ มี ๘ คำ วรรคที่ ๔ มี ๖ คำ ๑ บทมี ๒๘ คำ
สัมผัส มีสัมผัสในบท ๒ แห่ง คือ ๑. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๓ ของวรรคที่ ๒ ๒. คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ สัมผัสระหว่างบท คือ คำสุดท้ายของบท สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ ของบทต่อไป คำครุ ลหุ บทหนึ่งมีคำครุทั้งหมด ๑๔ คำ คำลหุ ๑๔ คำ วรรคที่ ๑ และวรรคที่ ๓ มีคำครุ ๔ คำ คำลหุ ๔ คำ คื่อ คำที่ ๑ ๒ ๔ ๘ เป็นคำครุ คำที่ ๓ ๕ ๖ ๗ เป็นคำลหุ วรรคที่ ๒ และวรรคที่ ๔ เป็นครุ ๓ คำ คำลหุ ๓ คำ คำที่ ๑ ๒ ๔ เป็นคำครุ คำที่ ๓ ๕ ๖ เป็นคำลหุ แผนผัง ตัวอย่าง อำพนพระมนทิรพระราช สุนิวาสน์วโรฬาร์ อัพภันตรไพจิตรและพา- หิรภาคก็พึงชม เล่ห์เลื่อนชะลอดุสิตฐา น มหาพิมานรมย์ มารังสฤษฎ์พิศนิยม ผิจะเทียบก็เทียมทัน ( สามัคคีเภทคำฉันท์ ชิต บุรทัต )
ที่มา หนังสือการแต่งคำประพันธ์ ประยอม ซองทอง |
แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 09 พฤษภาคม 2009 เวลา 16:34 น. |