กลอนเปล่า พิมพ์
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน 2008 เวลา 05:39 น.

กลอนเปล่า (Blank Verse) เป็นกลอนในวรรณคดีอังกฤษที่ไม่มีการ

สัมผัสคำ แต่มีการเน้นเสียงในลักษณะ lambic Pentameter คือ 1 บาท แบ่งเป็น

 5 จังหวะ จังหวะละ 2พยางค์ พยางค์แรกเสียงเบา (ลหุ) พยางค์หลังเสียงหนัก (ครุ)

กลอนเปล่าได้กลายเป็นองค์ประกอบสำคัญของกวีนิพนธ์ประเภทบรรยาย

โวหารยาวๆ รวมทั้งงานด้านปรัชญาและการละคร นับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา

...สำหรับกลอนเปล่าของไทยนั้น

 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงนำกลอนเปล่าเข้

มาใช้ในไทย โดยใช้เป็นบทสนทนาที่แปลมาจากบทละครของเช็คเสปียร์

 

...ต่อมา จิตร ภูมิศักดิ์ เขียนบทร้อยกรองชื่อพิราบขาวในลักษณะของกลอนเปล่า

 แต่เป็นกลอนเปล่าที่เปลี่ยนแปลไปจากเดิมในความหมายจากตะวันตก ซึ่งทำให้มีผู้เรียกว่า กลอนปลือย

--- กลอนเปล่าและกลอนเปลือยที่ไทยใช้ จึงหมายถึงงานเขียนที่ผู้แต่งมุ่งประหยัดและพิถีพิถันในการ

ใช้คำและที่สำคัญ คือ ผู้เขียนพยายามจัดถ้อยคำเป็นวรรค หรือเป็นรูปใดรูปหนึ่งคล้ายร้อยกรอง เพียงแต่ไม่มีสัมผัสบังคับเท่านั้น

จ่าง แซ่ตั้ง ใช้ความเป็นจิตรกรในการเขียนงานกวีนิพนธ์ งานบางชิ้นวางรูปร่างโดยคำนึงถึงความเป็นจริงของธรรมชาติ

 งานของจ่าง จึงมีความเป็น วรรณรูป ด้วย เช่น กลางคืน หนี :

 

กลางคืน

ท้องฟ้า ยามกลางคืน

ดาว

ดาว

ดาว

ดาว

จันทร์

ดาว

ดาว

ดาว

ดาว

พื้นดินทุกแห่ง เงียบ คงเหลือนแต่เสียงร้องของแมลง

 

หนี

ไล่ ไล่ ไล่ ไล่ ไล่ ไล่ ไล่ ไล่ ไล่ ไล่ ไล่ ไล่ ไล่ ไล่ ไล่ ตามเวลาไม่ทัน

หนี หนี หนี หนี หนี หนี หนี หนี หนี หนี หนี หนี หนี หนี หนีความตายไม่พ้น

+++ จากที่กล่าวมาจะเป็นว่า จ่าง แซ่ตั้ง เขียนกลอนเปล่าด้วยรูปแบบต่างๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ

แนวคิดที่ต้องการจสะท้อนออกมาเป็นสำคัญ แนวการเขียนของจ่าง ทำให้มีนักเขียนรุ่นหลังนำไปเป็นแบบอย่างในการเขียนบ้าง

 

หยาดฝน เป็นผลงานของผกาดิน (นามปากกา) ที่วางรูปแบบเป็น

 วรรณรูป โดยวางเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน เหมือนเป็นเม็ดฝนหล่นจากฟ้า ตรงกับเนื้อความที่พรรณนาไว้

เด็ก

คนนั้น

มองสายฝน

ภายนอกหน้าต่าง

หยาดน้ำฝนจากฟ้า

หลั่งมาเป็นสาย

ดู ซิ จ๊ะ

น้ำฝน

ใส

สาว

คนนั้น

มองสายฝน

ภายในหัวใจ

หยาดน้ำฝนจากใจ

หลั่งมาเป็นสาย

ดู ซิ จ๊ะ

น้ำฝน

ขุ่น

 

 ที่มา  : หนังสือร้อยกรอง . รองศาสตาจารย์ วราภรณ์ บำรุงกุล

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน 2008 เวลา 20:31 น.