หน้าหลัก ภาษาไทย หลักภาษาไทย การพิจารณาว่าคำใดเป็นคำไทยแท้
การพิจารณาว่าคำใดเป็นคำไทยแท้ PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันพุธที่ 10 กันยายน 2008 เวลา 21:32 น.

          ปัจจุบันนั้นมีคำศัพท์ใหม่เกิดขึ้นมากมาย  จึงเป็นที่กังขากันว่าเราจะทราบได้อย่างไรว่า

คำไหนคือคำไทยแท้ 

         -  ภาษาไทยเป็นคำโดด  ซึ่งหมายถึง คำที่ใช้ได้โดยอิสระ   คือแต่ละคำใช้ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนรูปคำ

        -   คำภาษาไทยโดยมากเป็นคำพยางค์เดียว ส่วนเหตุที่มีคำไทยหลายคำที่มีหลายพยางค์นั้น  เพราะ

            คำเหล่านั้นเกิดขึ้นในชั้นที่สอง  ไม่ใช่คำไทยเดิม  คำไทยแท้เริ่มจากคำมูล ( คำที่มีความหมายในตัวสมบูรณ์

            และไม่อาจแยกพยางค์ออกไปโดยให้มีความหมายได้อีก ) ซึ่งมักมีพยางค์เดียว  คือ เปล่งเสียงออกมาครั้งเดียว

       -    คำที่ใช้เรียกเครือญาติมาแต่เดิม  เช่น  พ่อ  แม่  พี่  น้อง  พี่  ป้า  น้า  อา

       -    คำที่เป็นสรรพนาม  เช่น  มึง กู  สู  เรา  เขา  แก  เอ็ง  อี

       -    คำที่บอกกิริยาอาการโดยทั่วๆไปซึ่งใช้มาก่อน เช่น  นั่ง  นอน  คลาน  ย่าง  ย่ำ  ก้ม  เงย  เกิด  ตาย

       -    คำที่บอกจำนวน  เช่น  อ้าย  ยี่  ร้อย  เอ็ด  ล้าน  จ้าน  จัง

       -    คำที่ใช้เรียกเครื่องมือเครื่องใช้ หรือสัตว์สิ่งของที่ใช้ประกอบอาชีพมาแต่โบราณ  เช่น  บ้าน  เรือน  ครัว  วัว 

            ควาย  หม้อ  เสา  

      -     คำเรียกชื่อธรรมชาติซึ่งมีมานาน  เช่น คลอง  ห้วย  หนอง  ไฟ  ดิน  หิน  ฝน

      -     คำที่ใช้เรียกสีที่รู้จักกันโดยทั่วไป  เช่น  ดำ  ด่าง  ม่วง  เขียว  มอ  ฟ้า

      -     คำที่เป็นคุณศัพท์เก่าแก่ เช่น  ใหญ่  หนัก  แบน  กลม  เกลียด  ลืม   หลง  อ้วน  ซูบ

      -     คำที่ใช้เรียกอวัยวะ  เช่น  หู  ตา  มือ  ตีน  ขน  ผม

      -     คำที่ใช้เป็นลักษณนาม  เช่น  กลอ  ลำ  ก้อน  หลุม  คน  ข้าง

 ที่มา   หนังสือหลักภาษา  ไวยากรณ์ไทย

เพิ่มเติม

        คำไทยแท้หลายพยางค์  เกิดจากวิธีการทางภาษา  ดังนี้ 

        -  การกร่อนเสียง  เช่น  มะม่วง  มาจาก  หมากม่วง

       -   การแทรกเสียง  เช่น  ผักกะเฉด  มาจาก  ผักเฉด

       -  การเติมพยางค์หน้าคำมูล  เช่น  ท้วง  มาจาก  ประท้วง

       - คำไทยแท้มีตัวสะกดตรงตามมาตรา  เช่น  ขัด  กับ  ตัก

       - คำไทยแท้ไม่นิยมควบกล้ำ 

       - คำไทยแท้ไม่มีการันต์

      - คำไทยแท้คำเดียวอาจมีความหมายหลายอย่าง  เช่น  ไก่ขัน  ขบขัน  ขันน้ำ

      - คำไทยแท้มีรูปวรรณยุกต์เป็นเครื่องหมายกำกับเสียง เช่น  คา ค่า  ค้า

     - คำไทยแท้ไม่พบพยัญชนะต่อไปนี้ ฆ ณ ญฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ธ ศ ษ ฬ ยกเว้น  ฆ่า  เฆี่ยน ระฆัง  ศอก

       ศึก  ธ  เธอ  ณ ฯลฯ ใหญ่ หญ้า

    - คำไทยแท้หากออกเสียง  ไอ จะใช้  ใอ  เช่น ใหม่  สะใภ้  ใช้  ใฝ่

 

 ที่มา  หนังสือเรียนภาษาไทย ม.๓ ปราณี   บุญชุ่ม

แก้ไขล่าสุด ใน วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม 2008 เวลา 13:23 น.
 

Facebook Like Box

ออนไลน์

เรามี 9 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ผู้เยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้125
mod_vvisit_counterเมื่อวาน198
mod_vvisit_counterอาทิตย์นี้826
mod_vvisit_counterเดือนนี้4164
mod_vvisit_counterทั้งหมด6426530