หน้าหลัก ภาษาไทย หลักภาษาไทย หลักการสังเกตคำภาษาบาลีและสันสกฤต
หลักการสังเกตคำภาษาบาลีและสันสกฤต PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันพุธที่ 10 กันยายน 2008 เวลา 23:12 น.

          ภาษาบาลีและสันสกฤตนั้น  มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก  หากแต่มีความแตกต่างกันดังนี้

                  - แตกต่างกันด้วยเสียงสระ  สระ ไอ  เอา ฤ นั้นภาษาสันสกฤตนิยมใช้มาก  แต่ไม่มีในภาษาบาลี

                 -  แตกต่างกันด้วยเสียงพยัญชนะ 

                             + พยัญชนะสันสกฤตมี  ศ  ษ  ซึ่งบาลีไม่มี 

                             + ภาษาสันสกฤตไม่นิยมใช้ ฬ แต่มีใช้ในภาษาบาลี

                             + ภาษาสันสกฤตไม่คำที่ใช้การันต์  ภาษาบาลีไม่มี

                - แตกต่างกันด้วยเสียงควบกล้ำ  ภาษาสันสกฤตมีเสียงควบกล้ำมาก  แต่ภาษาบาลีไม่นิยม

                  คำควบกล้ำในภาษาบาลีมีน้อยคำ  แต่บางครั้งจะแทรกเสียงสระให้เกิดพยางค์ใหม่

               -  แตกต่างกันด้วยตัวสะกดตัวตาม  ในภาษาบาลีคำที่เป็นเสียงธนิต  เป็นนิยมเป็นเสียงสะกด

                  แต่ภาษาสันสกฤตจะใช้พยัญชนะธนิตเป็นตัวสะกด

สรุปเพิ่มเติม

             - คำที่ใช้ ไอ เอา ฤ ฤา  ฦ  ไม่ใช่ภาษาบาลี 

            - คำที่ประสมด้วย  ศ  ษ  จะไม่ใช่ภาษาบาลี

            - คำที่มี  ฬ จะเป็นคำภาษาบาลี

            - คำที่มีคำควบกล้ำมักเป็นภาษาสันสกฤตเพราะภาษาบาลีไม่นิยม

            - ในภาษาบาลีตัวสะกดจะต้องมีตัวตาม  และตัวสะกดตัวตามจะต้องเป็นพยัญชนะวรรคเดียวกัน

              ( มีฐานเสียงที่เกิดร่วมกัน )

ที่มา  หนังสือหลักภาษา  ไวยากรณ์ไทย

การสังเกตคำที่มาจากภาษาสันสกฤต 

          -  คำไทยที่มาจากภาษาสันสกฤตจะไม่มีหลักการสะกดที่แน่นอน  เช่น  อัคนี  มัตสยา  อาชญา

          -  คำไทยที่มาจากภาษาสันสกฤต นิยมใช้  ฑ ฒ เมื่อคำที่มาจากภาษาบาลีใช้  ฬ

            เช่น  ครุฑ  วิฑาร

         -  คำที่มาจากภาษาสันสกฤตใช้ ศ ษ เมื่อคำภาษาบาลีใช้ ส  เช่น  ศาลา  ฤษี  ยกเว้นคำไทยแท้ที่ใช้ ศ  ษ

            ศอก ศึก  เศิก  ศก  กระดาษ  ดาษ  ฝีดาษ  ฝรั่งเศส

         -   คำไทยที่มาจากภาษาสันสกฤตมักใช้  ฤ ฤา ฦ ฦา ไอ เอา

         -   คำไทยที่มาจากภาษาวันสกฤต มักแผลง ร เป็น รร เช่น  ธรฺม  เป็น  ธรรม  ยกเว้น คำไทยแผลง ได้แก่

            กระ  เป็น กรร  ประ เป็น  บรร  คระ เป็น ครร        

         -   คำไทยที่มาจากภาษาสันสกฤตมักมีคำควบกล้ำ 

         -  ไทยที่มาจากสันสกฤตหากใช้  ส  จะใช้กับพยัญชนะวรรค  ตะ เช่น  พัสดุ  ภัสดา

         -   คำไทยที่มาจากภาษาสันสกฤตมัก ใช้ ณ ตามหลัง ร  เช่น  นารายณ์  พราหมณ์  ประณม 

         -   คำไทยที่มาจากภาษาสันสกฤต  มักจะแผลง ไอ เป็น แอ  เช่น  ไวทฺย - แพทย์  ไสนฺ - แสนยา ไวศฺย - แพศยา

         -    ทำไทยที่มาจากสันสกฤตมักแผลง  เครฺห  เป็น  เคราะห์  เช่น  สงเคราะห์  อนุเคราะห์

 

 ที่มา  หนังสือเรียนภาษาไทย ม.๓ ปราณี   บุญชุ่ม

แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2008 เวลา 22:58 น.
 

Facebook Like Box

ออนไลน์

เรามี 12 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ผู้เยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้216
mod_vvisit_counterเมื่อวาน157
mod_vvisit_counterอาทิตย์นี้721
mod_vvisit_counterเดือนนี้6226
mod_vvisit_counterทั้งหมด6421812