คำมูล |
![]() |
![]() |
![]() |
เขียนโดย ภาษาสยาม |
วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน 2008 เวลา 13:29 น. |
คำมูล คือ คำที่มีอยู่ในภาษาแต่เดิม จะเป็นคำไทยแท้ๆๆหรือมาจากภาษาอื่นก็ได้ แต่คำมูลต้องเป็นคำที่ไม่นำมาประสมหรือประกอบกับคำอื่นๆ มีลักษณะ ดังนี้ ๑. เป็นคำเดียวโดดๆ มีความหมายในตัวเอง เช่น ปู่ ย่า ลม ทาง ๒. เป็นคำหลายพยางค์ แต่ถ้าแยกพยางค์เหล่านั้นจะไม่มีความหมายใช้ในภาษา หรือถ้ามีก็ไม่ใกล้เคียงกับคำที่รวมพยางค์อยู่เลย เช่น กระป๋อง กระถาง ศิลปะ ๓. เป็นคำที่มาจากภาษาอื่น เช่น กังวล ( เขมร ) ตุนาหงัน ( ชวา ) เก้าอี้ ( จีน ) ๔. คำเดียวอาจมีความหมายได้หลายความหมาย หรือหลายคำอาจมีความหมายเดียวกัน เช่น ขันน้ำ พนันขันต่อ ไก่ขัน น่าขัน
ที่มา เอกสารประกอบการอบรมการเขียน ผศ.ประเทือง คล้ายสุบรรณ |