ลักษณะของคำสมาสที่ปรากฏในภาษาไทย |
![]() |
![]() |
![]() |
เขียนโดย ภาษาสยาม |
วันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2008 เวลา 22:03 น. |
คำสมาส คือ การย่นนามศัพท์ตั้งแต่สองคำขึ้นไปให้เป็นคำเดียวในภาษาบาลีและสันสกฤต ลักษณะของคำสมาสที่ปรากฏในภาษาไทยมี ดังนี้ ๑.คำที่เกิดจากคำบาลีหรือคำสันสกฤตล้วนๆ มาต่อกัน เช่น เทวบัญชา ราชบุตร ผลิตผล ๒.คำที่เกิดจากนามศัพท์หรืออัพยศัพท์ต่อกับนามศัพท์ เช่น สมณพราหมณ์ อัศวมุข ทุศีล อธิการ ๓. พยางค์สุดท้ายของคำหน้าในคำสมาสไม่ประวิชสรรชนีย์หรือไม่เป็นตัวการันต์ เช่น กิจการ วิวาหมงคล ๔.คำสมาสจะเรียงต้นศัพท์ไว้หลัง ศัพท์ประกอบไว้หน้า เมื่อแปลความหมายจะต้องแปลจากหลังไปหน้า เช่น สภานายก (นายกแห่งสภา ) ภูมิภาค ( ส่วนของแผ่นดิน ) ๕.คำสมาสบางคำเรียงลำดับคำอย่างไทย คือ เรียงต้นศัพท์ไว้หน้า ศัพท์ประกอบไว้หลัง การเขียนคำสมาสเหล่านี้ ไม่ประวิสรรชนีย์ระหว่างคำ แต่เมื่ออ่านจะออกเสียงสระต่อเนื่องกัน เช่น บุตรภรรยา (บุด-ตระ-พัน-ระ-ยา) บุตรและภรรยา ๖. คำสมาสส่วนมากออกเสียงสระตรงพยางค์ท้ายของคำหน้า เช่น กาลสมัย ( กาน- ละ - สะ -ไหม ) ๗. คำบาลีสันสกฤตที่มีคำว่า " พระ " ที่แผลงมาจาก " วร " ประกอบข้างหน้า จัดเป็นคำสมาสด้วย เช่น พระโอรส พระอรหันต์ ๘. คำสมาสบางพวกจะมีลักษณะรูปคำรูปหนึ่งคล้ายกัน เช่น - คำที่ลงท้ายด้วยศาสตร์ เช่น นิติศาสตร์ อักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ - คำที่ลงท้ายด้วยภัย เช่น อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย - คำที่ลงท้ายด้วยกรรม เช่น นิติกรรม นวัตกรรม กสิกรรม ที่มา หนังสือภาษาไทย ม.๓ ปราณี บุญชุ่ม |
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2008 เวลา 22:26 น. |