คำสนธิ PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2008 เวลา 22:23 น.

         คำสนธิ  คือ การนำคำหลายคำในบาลีสันสกฤตมาต่อกันให้เป็นคำเดียว  แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ

                 ๑. สระสนธิ  คือ การรวมคำบาลีหรือคำสันสกฤตที่พยางค์ท้ายของคำหน้าสุดคำด้วยสระ

                     และพยางค์ต้นของคำหลังก็ขึ้นต้นด้วยสระเช่นกัน  เช่น

                     ราช + อธิราช  = ราชาธิราช

                     มหา +  อานิสงห์ = มหานิสงฆ์

                     นร  + อินทร์ = นรินทร์

                ๒. พยัญชนะสนธิ  คือ  การนำคำบาลีสันสกฤตมารวมกัน  โดยพยางค์ท้ายของคำหน้าสุดคำด้วยพยัญชนะ

                    และพยางค์หน้าของคำหลังขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ  แล้วเชื่อมคำทั้งสองเข้าด้วยกัน  เช่น

                    รหสฺ   สนธิกับ  ฐาน  เป็น  รโหฐาน

                    พรหฺมน   สนธิกับ   ชาติ   เป็น  ธรรมชาติ

                    นมสฺ  สนธิกับ  การ  เป็นนมัสการ

               ๓. นฤคหิตสนธิ  คือ  การนำคำบาลีหรือสันสกฤตสองคำมารวมกัน โดยพยางค์ท้ายของคำหน้าสุดด้วยนฤคหิต เช่น

                   สํ  สนธิกับ อาคม  เป็น  สมาคม

                  สํ    สนธิกับ  คม  เป็น  สังคม

                  สํ    สนะกับ  ฐาน  เป็ร  สัณฐาน

   ที่มา หนังสือภาษาไทย ม.๓ ปราณี  บุญชุ่ม

     

                   

                

                  

                    

 

Facebook Like Box

ออนไลน์

เรามี 3 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ผู้เยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้33
mod_vvisit_counterเมื่อวาน190
mod_vvisit_counterอาทิตย์นี้393
mod_vvisit_counterเดือนนี้2597
mod_vvisit_counterทั้งหมด6424963