หน้าหลัก ภาษาไทย หลักภาษาไทย การสังเกตคำไทยที่มาจากภาษาเขมร
การสังเกตคำไทยที่มาจากภาษาเขมร PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันศุกร์ที่ 12 กันยายน 2008 เวลา 23:08 น.

การสังเกตคำภาษาเขมรมีวิธีการดังนี้

      -  คำไทยที่มาจากภาษาเขมรมักใช้พยัญชนะ  จ ญ  ร ล สะกด  เช่น  เผด็จ  สมเด็จ  เดิร ( เดิน ) ถวิล  ชาญ

     -   คำไทยที่มาจากภาษาเขมรมักเป็นคำควบกล้ำและเป็นคำมากพยางค์ เช่น  ขลาด  โขมด  โขนง  เสวย  ไถง  กระบือ

     -  คำไทยที่มาจากภาษาเขมรมักใช้ บัง  บัน  บำ  แทน  บ เช่น 

            บัง     บังคับ  บังคม  บังเหียน  บังเกิด  บังคล  บังอาจ

            บัน    บันได  บันโดย  บันเดิน  บันดาล  บันลือ

           บำ     บำเพ็ญ  บำบัด  บำเหน็จ  บำบวง

     - คำไทยที่มาจากภาษาเขมรโดยวิแผลงคำมีหลายพวก 

             -  ข  แผลงเป็น  กระ  เช่น  ขดาน  เป็น กระดาน   ขจอก เป็น  กระจอก

            -   ผ แผลงเป็น  ประ ผสม  -  ประสม    ผจญ - ประจญ  

            -  ประ  แผลงเป็น  บรร  ประทม เป็น บรรทม  ประจุ -  บรรจุ   ประจง  -  บรรจง

     -  คำไทยที่มาจากภาษาเขมรที่เป็นคำโดด เช่น  แข  โลด  เดิน  นัก  อวย  ศก  เลิก 

 

ที่มา  หนังสือเรียนภาษาไทย  ม.๓ ปราณี  บุญชุ่ม

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน 2008 เวลา 09:09 น.
 

Facebook Like Box

ออนไลน์

เรามี 9 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ผู้เยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้62
mod_vvisit_counterเมื่อวาน198
mod_vvisit_counterอาทิตย์นี้763
mod_vvisit_counterเดือนนี้4101
mod_vvisit_counterทั้งหมด6426467