คำนาม พิมพ์
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันเสาร์ที่ 06 กันยายน 2008 เวลา 07:04 น.
 คำนาม

                คือ  คำที่แสดงความหมายถึงบุคคล  สัตว์  สิ่งของ  สภาพ  อาการ  และลักษณะ  ทั้งนี้รวมสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต 

 

 ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรมคำนามแบ่งเป็นชนิดย่อยๆได้    ชนิด

 

๑.  คำนามสามัญ  (สามานยนาม)  แทนชื่อทั่วไปไม่ชี้เฉพาะ  เช่น  คน  สัตว์  บ้าน  เวลา  วัน  คืน  เดือน 

 ปี  อายุ  อำนาจ  บาป  บุญ  ฯลฯ

 

                คำนามสามัญ  แบ่งเป็น  ชื่อสิ่งของจำพวกใหญ่  เช่น  คน  นก  ต้นไม้  เป็นต้น  และชื่อสิ่งของจำพวกย่อย

 

 

จากจำพวกใหญ่อีกชั้นหนึ่ง  เรียกว่า  สามานยนามย่อย  เช่น

 

คนจีน                      คน  -  เป็นสามานยนามจำพวกใหญ่  จีน  -  เป็นสามานยนามย่อย

 

นกเอี้ยง                  นก  -  เป็นสามานยนามใหญ่                               เอี้ยง  -  เป็นสามานยนามย่อย

 

ต้นกุหลาบ              ต้น  -  เป็นสามานยนามใหญ่                               กุหลาบ  -  เป็นสามานยนามย่อย

 

                ๒.  คำชื่อเฉพาะ  (วิสามานยนาม)  นามที่เป็นชื่อเฉพาะของคน  สัตว์  สิ่งของและสถานที่  เช่น  วิชัย  สมศรี 

 

มอม  ทะยานชล  กรุงเทพ  ชาติไทย  สโมสรสามัคยาจารยสมาคม            

 

    ๓.  คำนามร่วมหมู่  (สมุหนาม)  คือ  คำนามที่เป็นชื่อคน  สัตว์  และสิ่งของที่อยู่รวมกัน  เช่น

 

สมุหนามใช้สำหรับ
สงฆ์โขลงฝูงนิกายโรงศาลรัฐบาลบ้านเมืองภิกษุ    รูปขึ้นไปช้างป่าหลายตัวอยู่รวมกันสัตว์พวกเดียวกันที่ไปด้วยกันเป็นพวกๆหรือคนจำนวนมากนักบวชศาสนาเดียวกันที่แยกออกเป็นพวกๆผู้เล่นมหรสพที่โรงเล่น  เช่น  ละคร  โขน  หนัง  ฯลฯคณะบุคคลที่ทำหน้าที่พิจารณาคดีคณะบุคคลที่บริหารประเทศประเทศชาติซึ่งประกอบด้วยองค์กรต่างๆ

 

                 คำนามร่วมหมู่  มักใช้กับคำนามสามัญ  โดยนามสามัญใช้ขยายความ  เช่น  ฝูงนก  วงดนตรี  โขลงช้าง  ฯลฯ      

      ๔.  คำนามธรรม  (อาการนาม)     

                           การ  +  กริยารูปธรรม  เช่น  การกิน  การอยู่  การออกกำลังกาย  การเรียน  ฯลฯ            

                    ความ  +  กริยานามธรรม  เช่น  ความรัก  ความโกรธ  ความเกลียด  ฯลฯ                

                ความ  +  วิเศษณ์  เช่น  ความดี  ความชั่ว  ความทุกข์  ความสุข  ฯลฯ       

     ๕.  ลักษณนาม  คำนามที่ใช้บอกลักษณนามทั่วไป                           

 

     ลักษณนามมักใช้หลังคำวิเศษณ์บอกจำนวน  เช่น  ช้าง    เชือก  ขลุ่ย    เลา  เลื่อย    ปื้น

 

                                บางกรณีอาจใช้คำนามคำต้นแทนลักษณนามได้  เช่น  วัด    วัด  โครงการ  ๑๐  โครงการ 

 

ประเทศหลายประเทศ  หรือใช้ลักษณนามอยู่หน้าคำ  เดียว,  นี้,  โน้น  ฯลฯ 

 

 เช่น  คนคนเดียว  สมุดเล่มนี้  ห้องห้องโน้น  เป็นต้น ลักษณะของลักษณนาม

 

                                ลักษณนาม  ได้แก่  นามทั่วไป(สมานยนาม)  หรือนามบอกหมวดหมู่(สมุหนาม)  แต่นำมาใช้เพื่อบอก

 

ลักษณนามของนามข้างหน้า  จำแนกได้    ชนิด  คือ

 

๑.  ลักษณนามบอกชนิด

 

                ๒.  ลักษณนามบอกหมู่

 

                ๓.  ลักษณนามบอกสัณฐาน

 

                ๔.  ลักษณนามบอกจำนวนและมาตรา

 

                ๕.  ลักษณนามบอกอาการ

 

                ลักษณนามที่จะยกมาให้เห็นต่อไปนี้  จะใช้อักษรย่อกำกับไว้ตอนท้าย  เพื่อบอกชนิดของลักษณนามคำนั้นๆดังนี้ 

 

 

๑.  (ช.)  ๒.  (ม.)  ๓.  (ส.)  ๔.  (จ.)  ๕.  (อ.)

 

คำลักษณนาม

 

กระบอก (ส.)          ปืน  ข้าวหลาม

 

กัณฑ์ (ม.)               การเทศน์  คำเทศน์

 

กลัก (ม.) ไม้ขีดไฟ

 

ก้อน (ส.) ก้อนดิน  ก้อนหิน  ก้อนอิฐ  ก้อนข้าว  ก้อนขนมปัง  ฯลฯ

 

กำ (อ.)                    ของที่ทำเป็นกำ  ผัก  หญ้า  รวงข้าว  ฯลฯ

 

กิ่ง (ช.)                    งาช้าง  กิ่งไม้

 

กุลี (จ.)                    ผ้าห่อหนึ่งที่รวมกัน  ๒๐  ผืน

 

ขนาน (ช.)               ยาแก้โรคต่างๆ

 

ขอน (ช.)  ใช้กับจำนวนเอกพจน์  หรือข้างหนึ่งของของที่เป็นคู่  เช่น  กำไล    ขอน  สังข์    ขอน

 

โขลง (ม.)                ช้างป่าอยู่รวมกันหลายตัว

 

คัน (ช.)                    ของที่มีส่วนสำหรับถือและลาก  รถ  ร่ม  ฉัตร  คันชั่ง  คันกระสุน  หน้าไม้  แร้ว  ช้อน 

 

ส้อม  ซอ  เป็ด  ไถ

 

จั่น (ม.)                    จั่นหมาก  จั่นมะพร้าว

 

จับ (อ.)                    ขนมจีน

 

จีบ (อ.)                    ของที่จีบ  จีบพลู

  

หน้าที่ของคำนาม

 

                คำนามเมื่ออยู่ในวลีหรือประโยค  ทำหน้าที่ไดหลายอย่าง  ดังต่อไปนี้

 

๑.  คำนามทำหน้าที่เป็นประธาน  เช่น

 

                                ครูตีนักเรียน          ความดีคุ้มครองโลก

 

                คำสมุหนามและลักษณนามไม่นิยมนำมาเป็นประธานของประโยค  เว้นแต่ได้กล่าวถึงหรือเขียนถึงคำนาม

 

ที่ใช้กับสมุหนามหรือลักษณนามนั้นในประโยคต้น  เช่น

 

                                ในป่านี้มีช้างอยู่    โขลง  โขลงหนึ่งมีลูกช้างเผือก

 

                                รถจอดหน้าโรงเรียนหลายคัน  คันโน้นเป็นของอาจารย์ใหญ่

 

                ๒.  คำนามทำหน้าที่เป็นกรรมตรง  เช่น  แมวจับหนู  คนดีมุ่งทำความดี  คำสมุหนามและลักษณนามไม่นิยมใช้เป็นกรรม

 

                ๓.  คำนามทำหน้าที่เป็นกรรมรอง  เช่น

 

                                นายสุเทพให้เงินขอทาน  ครูสอนหนังสือนักเรียน  ชาวนาขายข้าวโรงสี

 

                ในกรณีที่คำนามซ้อนกัน    คำ  หลังกริยาดังตัวอย่างข้างบนนั้นเพื่อให้แน่ใจได้ว่า  คำหลังเป็นกรรมรอง  ให้แทรกคำ

 

  “แก่”  “ให้แก่”  เข้าไประหว่างคำนามทั้งสอง  ถ้าได้ความหมายเช่นเดิม  คำนามคำแรกจะเป็นกรรมตรงและคำนามหลัง

 

เป็นกรรมรอง (ของบุพบท)

 

เช่น          คนจีนกินตะเกียบ  ความหมายคือ       คนจีนกิน(อาหาร)ด้วยตะเกียบ

 

                ทหารยิงปืน                            ความหมายคือ       ทหารยิง(ข้าศึก,  เป้า)  ด้วยปืน

 

                ๔.  คำนามทำหน้าที่ขยายคำนาม  เช่น

 

                                นายสวิงกำนันบางเขนได้รับรางวัลดีเด่น  ครูลงโทษสุวัฒน์หัวหน้าชั้น

 

                ๕.  คำนามขยายกริยาเพื่อบอกสถานที่และทิศทาง  เช่น

 

                                พ่อไปวัด    เขานอนโรงแรม

 

                ๖.  คำนามทำหน้าที่ขยายกริยาหรือนามบอกเวลา  เช่น

 

                                โรงเรียนหยุดวันเสาร์อาทิตย์    พ่อไปต่างประเทศวันนี้

 

                                อากาศตอนเช้าสดชื่น    คนวันจันทร์เป็นคนใจเย็น

 

                ๗.  คำนามทำหน้าที่เป็นคำเรียกขานไวยากรณ์บาลี  เรียก “อาลปนะ”  เช่น

 

                                แดง  เธอทำการบ้านแล้วยัง ครูครับ  ผมทำการบ้านไม่ได้

 

                                หมอ  ผมพาเด็กมารักษา

 

                ๘.  คำนามทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็ม  (วิกัติการก)  ให้แก่กริยาที่อาศัยส่วนเติมเต็ม  (วิกตรรถกริยา)  เช่น

 

                เขาเป็นครู               เธอคือผู้หญิงในดวงใจ          แมวคล้ายเสือ

 

                ๙.  คำนามทำหน้าที่บอกลักษณะ  ชนิด  หมวดหมู่  รูปสัณฐาน  จำนวนมาตราและอาการนาม  เรียกรวมว่า

 

  ลักษณนาม  ซึ่งรายละเอียดดูได้จากเรื่องลักษณนาม

 

ที่มา  เอกสารประกอบการอบรมการเขียน  . ผศ. ประเทือง  คล้ายสุบรรณ

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2008 เวลา 19:53 น.