คำสรรพนาม PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันเสาร์ที่ 06 กันยายน 2008 เวลา 07:06 น.

 

 คำสรรพนาม

 

สรรพนาม  คือ  คำที่ใช้แทนนามหรือข้อความที่กล่าวมาแล้ว  เพื่อไม่ต้องกล่าวนามข้อความนั้นซ้ำอีก

 

สรรพนามแบ่งออกเป็น    ชนิด  คือ

 

                ๑.  บุรุษสรรพนาม

 

                คือ  สรรพนามที่ใช้แทนชื่อผู้พูด  ผู้ที่พูดด้วย  และผู้ที่พูดถึง  แบ่งออกเป็น    ชนิด  คือ

 

                -  ถ้าใช้แทนชื่อผู้พูด  เช่นคำว่า  ฉัน  ผม  ข้าพเจ้า  ดิฉัน  อาตมา  เป็นต้น  เรียกชื่อ(บุรุษที่ ๑)

 

                -  ถ้าใช้แทนชื่อผู้ที่พูดด้วย  เช่นคำว่า  ท่าน  เธอ  ใต้เท้า  ฝ่าพระบาท  เป็นต้น  เรียกชื่อ(บุรุษที่ ๒)

 

                -  ถ้าใช้แทนชื่อผู้ที่พูดถึง  เช่น  คำว่า  เขา  มัน  ใคร  อะไร  ผู้ใด  เป็นต้น  เรียกชื่อ(บุรุษที่ ๓)

 

                การสังเกตคำบุรุษสรรพนามว่าจะเป็นบุรุษที่หนึ่ง,  ที่สอง,  หรือที่สามนั้น  ให้ถือหน้าที่ของคำเป็นสำคัญ

 

            ๒.  ประพันธสรรพนาม

 

                คือ  สรรพนามที่ใช้แทนนาม  หรือแทนสรรพนามที่พูดติดต่อกันข้างหน้า  ได้แก่  คำว่า  ผู้, ที่, ซึ่ง, อัน, ดัง, ผู้ที่, ผู้ซึ่ง 

 

 ดังตัวอย่างต่อไปนี้

 

๑)      ใครๆ ผู้ ไม่ประสงค์จะดูลิเกก็ให้ดูภาพยนตร์

 

๒)      คน ที่ เป็นครูต้องมีความอดทน

 

๓)      เขาบูชาความรัก ซึ่ง ทำให้เขาตาบอด

 

๔)      บุคคล ดัง จะกล่าวต่อไปนี้เป็นผู้เยาว์

 

๕)      บุคคล อัน มีจิตสลบมีสุขในโลก

 

๖)      นักเรียน ผู้ที่ สอบได้ที่หนึ่งจะได้ไปเรียนต่อที่ต่างประเทศ

 

๗)      เขา ผู้ซึ่ง ชอบการพนันจะต้องพินาศ

 

ประพันธสรรพนาม  ตามตัวอย่างนั้นย่อมทำหน้าที่ในคราวเดียวกัน  ได้แก่  คำต่อไปนี้

 

๑)      ใช้แทนนามหรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้า

 

๒)      เป็นวิกัติการก  ขยายนามหรือสรรพนามที่อยู่ข้างหน้า

 

๓)      เป็นประธานของคุณานุประโยค  ซึ่งเป็นอนุประโยคของประโยคความซ้อน

 

๔)      เป็นบทเชื่อมระหว่างมุขยประโยคกับอนุประโยคให้รวมกันเป็นสังกรประโยค

 

คำประพันธสรรพนามบางคำ  คือ  ที่ซึ่ง  อัน  ใช้ซ้ำกับคำประพันธวิเศษณ์  แต่มีวิธีใช้ต่างกัน  คือ 

 

 ถ้าเป็นประพันธสรรพนามต้องเรียงติดต่อกับนามหรือสรรพนาม  ถ้าเป็นประพันธ์วิเศษณ์ต้อง

 

เรียงติดต่อกันกับคำกริยาหรือคำวิเศษณ์  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

 

๑)      คน  ที่  ยืนอยู่นั้นเป็นทหาร (ที่  เป็นประพันธสรรพนาม)

 

๒)      เขาเป็นคนดี  ที่  ฉันพึงปรารถนา (ที่  เป็นประพันธวิเศษณ์)

 

๓)      ของ  ซึ่ง  วางอยู่ในห้องหายไปไหน (ซึ่ง  เป็นประพันธสรรพนาม)

 

๔)      ผู้ใหญ่  ซึ่ง  เอื้อเฟื้อผู้น้อยควรได้รับความคารวะ (ซึ่ง  เป็นประพันธสรรพนาม)

 

๕)      มันเป็นของดี  ซึ่ง  ควรแก่การรักษา (ซึ่ง  เป็นประพันธวิเศษณ์)

 

๓.  วิภาคสรรพนาม

 

คือ  สรรพนามที่ใช้แทนนามหรือสรรพนามที่แยกออก  แต่ละคน  แต่ละสิ่ง  หรือแต่ละพวก  ได้แก่

 

คำว่า  ต่าง  บ้าง  กัน  ตัวอย่างเช่น

 

๑)      ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างก็มีงานทั้งนั้น

 

๒)      นักศึกษาทำหน้าที่ต่างๆกัน  บ้างก็ฟังคำบรรยาย,  บ้างก็ค้นตำรา,  บ้างก็เข้าห้องทดลอง

 ๓)      เขามองดูซึ่งกันและกัน 

คำ  “ต่าง  บ้าง  กัน”  ที่เป็นวิภาคสรรพนามนั้น  จะใช้แทนนามหรือสรรพนามถ้าทำหน้าที่ประกอบ

 

นาม  สรรพนาม  กริยา  หรือวิเศษณ์  ต้องนับว่าเป็นคำวิเศษณ์  เช่น

 

                ก.  ประกอบนาม                                    -  ต่างคนต่างใจ  ;  ต่างจิตต่างความคิด  ;  คนบ้าง

 

   สัตว์บ้าง,  วัวบ้างควายบ้าง

 

                                ข.  ประกอบสรรพนาม                           -  ต่างเขาต่างเรา,  เขาบ้างเราบ้าง

 

                                ค.  ประกอบกริยา                  -  เขาพูดต่างกับฉัน,  ทำบ้างหยุดบ้าง,  เขาพยายาม

 

    กันมาก,  เขาเดินกันคนละทาง

 

                                ง.  ประกอบวิเศษณ์                               -  เขาเป็นคนดีต่างกัน,  เขาพูดเก่งกันคนละอย่าง

 

                คำ  “ต่าง  กัน”  ยังใช้เป็นคำชนิดอื่นได้อีก

 

ก.       เขาต่างกับฉัน  (ต่าง  เป็นกริยา)

 

ข.       ต่างอยู่บนหลังลา  (ต่าง  เป็นคำนาม)

 

ค.       กันมีเพื่อนสามคน  (กัน  เป็นบุรุษสรรพนาม)

 

ง.        ฉันกันเงินไว้จำนวนหนึ่ง  (กัน  เป็นกริยา)

 

๔.  นิยมสรรพนาม

 

คือ  สรรพนามที่ใช้แทนนาม  คือ  ข้อความที่กล่าวมาแล้วหรือที่ปรากฏอยู่เฉพาะหน้า 

 

 

เป็นสรรพนามชี้เฉพาะเพื่อบ่งความให้ชัดเจน  ได้แก่คำต่อไปนี้  คือ  นี่  นั่น  โน่น  นี้  นั้น  โน้น  ทั้งนี้

 

  ทั้งนั้น  เช่นนี้  เช่นนั้น  อย่างนี้  อย่างนั้น  ตัวอย่าง  เช่น

 

                ๑)  นี้  คือโรงเรียนที่ฉันเรียนอยู่

 

                ๒)  นั่น  เป็นมติของกรรมการ

 

                ๓)  ฉันอยู่นี่สบายกว่าอยู่โน่น

 

                ๔)  นี้เป็นความเห็นของฉัน,  นั้นเป็นความเห็นของคนอื่น

                 ๕)  โน้น  คือ  เกาะภูเก็ต 

๕.  อนิยมสรรพนาม

 

คือ  สรรพนามที่ใช้แทนนามทั่วๆไป  ไม่ชี้เฉพาะเจาะจงเหมือนนิยมสรรพนามได้แก่  คำต่อไปนี้ 

 

คือ  ใคร  อะไร  ไหน  ผู้ใด  อื่น  ผู้อื่น  ชาวอะไร  ชาวไหน  ชาวอื่น  ผู้ใดผู้หนึ่ง  ผู้หนึ่งผู้ใด

 

จะใช้เป็นชนิดคำคู่ก็ได้  เช่น  ใดๆ  ใครๆ  อะไรๆ  ไหนๆ  ชาวอะไรๆ  ชาวไหนๆ  อื่นๆ 

 

ตัวอย่างเช่น

 

๑)  ใครจะไปกับเขาก็ได้

 

๒)  ฉันไม่ทราบว่าอะไรเป็นอะไรแล้ว

 

๓)  ไหนๆฉันก็อยู่ได้

 

๔)  ผู้ใด  เป็นคนดีเราควรคบผู้นั้น

 

๕)  ผู้หนึ่งผู้ใด  เห็นว่า  ผู้อื่นดีกว่าใครๆ  ก็จงเลือกผู้นั้นเป็นผู้แทนของตน

 

๖)  ชาวไหน  ก็สู้ชาวไทยไม่ได้

 

๖.  ปฤจฉาสรรพนาม

 

คือ  สรรพนามที่ใช้แทนนาม  แต่มีเนื้อความเป็นคำถาม  ได้แก่  คำต่อไปนี้  ใคร  อะไร  ไหน  ผู้ใด 

 

ชาวอะไร  ชาวไหน  ฯลฯ  คำเหล่านี้มีใช้อยู่แล้วในอนิยมสรรพนามแต่ต่างกับอนิยมสรรพนาม  เพราะใช้เป็นคำถาม

 

  ส่วนอนิยมสรรพนาม  ใช้เป็นคำแทนชื่อที่ไม่ชี้เฉพาะ  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

 

๑)      เมื่อเช้านี้  ใคร  มาหาฉัน ?            (เป็นปฤจฉาสรรพนาม)

 

๒)      ใคร  จะมาหาฉันก็ได้                     (เป็นอนิยมสรรพนาม)

 

๓)      อะไร  อยู่ในกระเป๋า       ?              (เป็นปฤจฉาสรรพนาม)

 

๔)      ฉันจะรับประทานอะไรก็ได้           (เป็นอนิยมสรรพนาม)

 

 

ที่มา  เอกสารประกอบการอบรมการสอนการเขียน. ผศ.ประเทือง  คล้ายสุบรรณ 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2008 เวลา 19:54 น.
 

Facebook Like Box

ออนไลน์

เรามี 11 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ผู้เยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้66
mod_vvisit_counterเมื่อวาน218
mod_vvisit_counterอาทิตย์นี้569
mod_vvisit_counterเดือนนี้3907
mod_vvisit_counterทั้งหมด6426273