คำกริยา PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันเสาร์ที่ 06 กันยายน 2008 เวลา 07:07 น.

คำกริยา

 

                คำที่แสดงอาการของนาม  สรรพนาม  แสดงการกระทำของประธาน

  

 แบ่งออกเป็น    ชนิด

 

                ๑.  สกรรมกริยา  กริยาที่ต้องมีกรรมมารับจึงจะให้ความสมบูรณ์ครบถ้วนตามกระแสความเช่น

  

                                                ๑.  ทหาร  ถือ  ปืน                                 ๒.  ชาวป่า  ตัด  ต้นไม้

  

                ๒.  อกรรมกริยา  คือ  กริยาที่มีความหมายครบถ้วนในตัวเองโดยไม่ต้องมีกรรมมารับก็ได้ความ

  

ตามกระแส  เช่น

 

                                                ๑.  นักเรียน  เดิน  ที่ถนน                      ๒.  ครูยืนในห้อง

  

                ๓.  วิกตรรถกริยา  คือ  กริยาที่ไม่สำเร็จความหมายในตัวเอง  จะใช้เป็นกริยาของประธาน

  

ตามลำพังตัวเองก็ไม่ได้  จะต้องมีคำนาม  คำสรรพนาม  หรือคำวิเศษณ์มาขยายจึงจะได้ความ

  

  กริยาพวกนี้แก่คำว่า  เป็น  เหมือน  เสมือน  เป็นหนึ่ง  อุปมา  เหมือน  คือ  คล้าย  เท่า

  

 คำที่มาขยาย  เรียกว่าส่วนเติมเต็ม  (วิกัติการก)

  

                                ก.  ใช้คำนามขยาย 

  

                                                ๑.  นายแดง  เป็นหมอ                           ๒.  ลูก  เท่า  พ่อ

  

                                                ๓.  คำพูดเปรียบเสมือนเข็ม

  

ข.       ใช้คำสรรพนามขยาย  เช่น  เขา  คล้าย  ฉัน

   

ใช้คำวิเศษณ์ขยาย

  

                                                ๑.  ทำได้เช่นนี้เป็นดีแน่                         ๒.  มาดีเป็นดี  มาร้ายเป็นร้าย

  

หมายเหตุ  :-           ๑.  คำวิกตรรถกริยา  (นอกจากคำ  คือ)  ถ้าใช้เชื่อมประโยค  นับเป็นคำสันธานชนิดแสดง

  

ความเปรียบเทียบ  เช่น  :-

  

                                                ๑)  เขาพูด  เสมือน  เด็กอ่อนสอนพูด

  

                                                ๒)  เขาทำงาน  ประดุจ  เครื่องจักรทำงานฉะนั้น

  

๒.  คำวิกตรรถกริยา  เป็น  บางทีใช้เป็นคำขยายกริยาข้างหน้าได้อย่างคำวิเศษณ์

  

 เช่น:-

 

                ๑.  เขาหัด  เป็น  ช่างทำผม                 ๒.  เขาทำ  เป็น  เขื่อง

  

๓.  คำ  เป็น  ที่ใช้เป็นคำกริยาชนิดอื่นเป็นคำวิเศษณ์โดยตรงก็มี  เช่น  :- 

  

                ก.  เป็นคำกริยา  :-                 ๑)  ทำไมเขาจึง   เป็น  ขึ้นมาได้  ในเมื่อเขาได้ตายไปสิบสองชั่วโมงแล้ว

  

                                                                ๒)  เขาไม่  เป็น  งานอะไรเสียเลย

  

                ข.  เป็นคำวิเศษณ์  :-             ๑)  ปลา  เป็น  ว่ายน้ำได้  ปลาตายว่ายน้ำไม่ได้

  

                                                                ๒)  เขาพูด  เป็น   แต่ฉันพูด  ไม่เป็น

  

                                ๔.  กริยานุเคราะห์  คือ  คำกริยาที่ทำหน้าที่ช่วยกริยาชนิดอื่นให้แสดงความหมายออกมา

  

เป็น  กาล  มาลา  หรือวาจก  ต่าง ๆ  เพราะคำกริยาในภาษาไทยมีรูปคงที่ไม่เปลี่ยนรูปไปตาม  กาล  มาลา 

  

หรือวาจก  เหมือนภาษาที่มีวิภัตติ  ปัจจัย  การที่จะรู้ว่าเป็น กาล  มาลา  หรือวาจก  อะไร  นอกจากสังเกต

  

ความหมายของรูปประโยคแล้ว  จำเป็นต้องอาศัยคำกริยานุเคราะห์เป็นเครื่องช่วย  ตัวอย่าง  เช่น  :-

  

                ก.  ช่วยบอกกาล  เช่น  :-

  

                                                                ๑)  เขา  กำลัง  เรียนหนังสือ  (ปัจจุบัน)

  

                                                                ๒)  เขา  จะเรียนหนังสือ  (อนาคต)

                  ข.  ช่วยบอกมาลา  เช่น  :- 

                                                                ๑)  เขา  คง  มาที่นี่  (ศักดิมาลา)

  

                                                                ๒)  ชะรอย  เขาจะฝันไป  (ปริกัลปมาลา)

  

                ค.  ช่วยบอกวาจก  เช่น  :-

  

                                                                ๑)  นักโทษ  ถูก  ผู้คุม  จับ  (กรรมวาจก)

  

                                                                ๒)  บิดา  ให้  บุตร  เขียน  หนังสือ  (กรรตุวาจก)

  

๕.      กริยาสภาวมาลา  คือ  คำกริยาที่ทำหน้าที่คล้ายกับนาม  อาจเป็นประธาน

  

๖.       เป็นกรรม  หรือบทขยายส่วนหนึ่งของประโยคก็ได้  เช่น  :-

   

                                นอน  มีประโยชน์กว่าอิริยาบถอื่น

  

ประโยคนี้  นอน  เป็นประธานขอบกริยา  มี,  ทำหน้าที่ได้อย่างนาม  จึงเป็น  กริยาสภามาลา

  

                                คำสกรรมกริยาก็ดี  วิกตรรถกริยาก็ดี  ที่นำมาใช้เป็นกริยาสภาวมาลา  ย่อมมีกรรม  หรือบทขยาย

  

ได้เช่นเดียวกับเป็นกริยาของประโยค  เช่น  :-  

  

                                ๑)  มองดู  แสงอาทิตย์ทำให้หน้ามืด    ๒)  เป็น  คนต้องมีความพยายาม

  

                                กริยาสภาวมาลาที่เป็นกรรมหรือส่วนขยายของประโยคจะใช้กริยานุเคราะห์  จะ  หรือบุพบท 

  

เพื่อ,  สำหรับ  นำหน้าก็ได้  เช่น   :-

  

                                ๑)  ฉันไม่อยากจะทำงาน                                     ๒)  เขากินเพื่ออยู่

  ที่มา  เอกสารประกอบการอบรมการสอนการเขียน ผ.ศ. ประเทือง  คล้ายสุบรรณ

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2008 เวลา 19:28 น.
 

Facebook Like Box

ออนไลน์

เรามี 6 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ผู้เยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้50
mod_vvisit_counterเมื่อวาน198
mod_vvisit_counterอาทิตย์นี้751
mod_vvisit_counterเดือนนี้4089
mod_vvisit_counterทั้งหมด6426455