คำวิเศษณ์ PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันเสาร์ที่ 06 กันยายน 2008 เวลา 07:09 น.
  

คำวิเศษณ์

 

                ความหมาย  คำวิเศษณ์  คือ  คำจำพวกที่ประกอบคำอื่นเพื่อบอกลักษณะของคำนั้นๆ  ให้แจ่มแจ้งยิ่งขึ้น 

 

จะได้แยกอธิบายทีละประเภท  ดังนี้

 

ก.       ลักษณวิเศษณ์

 

หมายถึง  คำวิเศษณ์ประเภทบอกลักษณะของคำที่ประกอบ  โดยมากมักใช้ประกอบคำนาม 

 

สรรพนาม  ที่ใช้ประกอบคำกริยาก็มีบ้าง  ลักษณวิเศษณ์มีหลายประเภทด้วยกัน

 

๑)      วิเศษณ์บอกชนิด  บอกสภาพได้แก่  แก่  อ่อน  ดี  ชั่ว  เลว  หลวง  ต้น  ป่า  ฯลฯ 

 

เช่น  สุดาเป็นเด็กดี  เธอทำดีแล้ว

 

๒)      วิเศษณ์บอกลักษณะสัณฐาน  ได้แก่  กลม  รี  เหลี่ยม  แบน  ราบ  ฯลฯ

 

เช่น  โต๊ะอาหารมีทั้งโต๊ะกลมและโต๊ะเหลี่ยม

 

๓)      คำวิเศษณ์บอกขนาด  ได้แก่  กว้าง  ยาว  สูง  ใหญ่  เล็ก  ฯลฯ

 

เช่น  ห้องนี้กว้าง

 

๔)      คำวิเศษณ์บอกสี  ได้แก่  เขียว  ดำ  แดง  ฟ้า  ชมพู  ส้ม  ขาว  ฯลฯ

 

เช่น  เขาชอบเสื้อสีฟ้า

 

๕)      คำวิเศษณ์บอกกลิ่น  ได้แก่  หอม  เหม็น  สาบ  ฉุน  ฯลฯ

 

เช่น  ฉันชอบดอกไม้หอม

 

๖)      คำวิเศษณ์บอกรส  ได้แก่  เปรี้ยว  เค็ม  หวาน  มัน  ขม  เผ็ด  ฯลฯ

 

เช่น  เธอชอบอาหารที่มีรสหวาน

 

๗)      คำวิเศษณ์บอกสัมผัส  ได้แก่  ร้อน  อุ่น  หนาว  เย็น  แข็ง  นิ่ม  ฯลฯ

 

เช่น  ฉันชอบดื่มน้ำเย็น

 

๘)      คำวิเศษณ์บอกอาการ  ได้แก่  เร็ว  ไว  ปราดเปรียว  คล่อง  กระฉับกระเฉง  งุ่มง่าม 

 

เชื่องช้า  อืดอาด  ยืดยาด  ฯลฯ  เช่น  คนชรามักเดินงุ่มง่าม

 

๙)      คำวิเศษณ์บอกคุณภาพของเสียง  ได้แก่  ดัง  ค่อย  แหบ  พร่า  สูง  ต่ำ  ทุ้ม  แหลม  ฯลฯ

 เช่น  ครูคนนี้พูดเสียงดังดี 

ข.        กาลวิเศษณ์

 

หมายถึง  คำวิเศษณ์ที่ใช้ประกอบคำอื่นเพื่อบอกเวลา  เช่น  ช้า  สาย  นาน  เร็ว  ก่อน  หลัง 

 

เสมอ  อีก  เดี่ยว  เช้า  สาย  บ่าย  เย็น  ค่ำ  เพิ่ง  โบราณ  ฯลฯ

 

                คำเหล่านี้ใช้ประกอบได้ทั้งคำนามและคำกริยา  เช่น

 

                                ประกอบกริยา                        ฉันมาก่อนเขา

 

                                                                                อย่าไปสายนะ  ควรรีบมาเช้าๆ

 

                                ประกอบนาม                          คนโบราณชอบกินหมาก

 

                                                                                ดอกราตรีบานเวลาค่ำ

 

ค.        สถานวิเศษณ์

 

หมายถึง  คำวิเศษณ์ที่ใช้ประกอบคำอื่น  เพื่อบอกสถานที่ให้แจ้งชัดยิ่งขึ้น  ได้แก่  ใกล้  ไกล 

 

ห่าง  ชิด  บน  ล่าง  เหนือ  ใต้  ฯลฯ  อาจใช้ประกอบคำได้หลายชนิด  เช่น

 

                                ประกอบนาม                          บ้านใกล้  ชั้นบน  ฯลฯ

 

                                ประกอบกริยา                        ยืนห่าง  นั่งชิด  อยู่ไกล

 

                                                                                บ้านฉันอยู่ไกลมาก

 

                                                                                เข้ามานั่งใกล้ ๆ ซิ

 

ข้อสังเกต  คำวิเศษณ์พวกนี้ทำหน้าที่เป็นบุพบทได้  ถ้าหากว่ามีคำนาม  หรือคำที่ทำหน้าที่นามต่อท้ายอีก 

 

 คำจำพวกนี้จะกลายเป็นบุพบทบอกสถานที่ไป   เช่น

 
วิเศษณ์บุพบท
                                บ้านของฉันอยู่ใกล้                                หนังสืออยู่ชั้นบน                                บ้านของฉันอยู่ใกล้ตลาด                                หนังสืออยู่บนชั้น

 

ง.         ประมาณวิเศษณ์

 

เป็นคำประกอบคำอื่น  เพื่อขยายความบอกจำนวนจำกัดบ้าง  ไม่จำกัดบ้าง  บางที  ก็แบ่งความ 

 

บางทีก็บอกจำนวนนับ  จะได้แยกอธิบายเป็นส่วนๆไปดังนี้

 

ก)       ประมาณวิเศษณ์  ซึ่งบ่งจำนวน  แยกออกได้ดังนี้

 

๑)       ประเภทบอกจำนวนจำกัด  ได้แก่คำว่า  หมด  สิ้น  ทั้งหมด  ทั้งสิน  ปวง  ทั้งปวง  ผอง 

 

ทั้งผอง  ทุก  บรรดา  คำเหล่านี้ใช้ประกอบได้ทั้งคำนามและกริยา  เช่น 

 

เขาถูกขโมยสตางค์หมด 

 

ทุกคนพอใจการตัดสินของกรรมการ

 

๒)       นอกจากนี้ยังมีคำบอกจำนวนซึ่งไม่แน่นอนนัก  ได้แก่คำ  มากๆ  น้อย  จุ  พอ  นัก  ยิ่ง  หน่อย  กัน  ฯลฯ  เช่น 

 

กินกับมาก ๆ กินข้าวน้อย ๆ 

 

เธอควรพักผ่อนให้พอ 

 

เขาโกรธนัก

 

๓)      ประมาณวิเศษณ์ประเภทบอกกำหนดในทำนองแบ่งความเป็นพวก ๆ  หรือแยกออกเป็นส่วน ๆ 

 

ได้แก่  บ้าง  บาง  ต่าง  ฯลฯ

 

บางคนชอบละคร  บางคนชอบภาพยนตร์

 

ถ้าอยากจะมีความรู้รอบตัว  เธอควรจะฟังวิทยุบ้าง   อ่านหนังสือพิมพ์บ้าง

 

นักเรียนต่างคนต่างทำงานให้ห้องสมุด

 

ข)       ประมาณวิเศษณ์  บอกจำนวนนับ  แยกแยกเป็นสองพวก

 

๑)  บอกจำนวนเลข  เช่น  หนึ่ง  สอง  สาม  สี่  ฯลฯ

 

 ๒)  บอกลำดับที่  เช่น  ที่หนึ่ง  ที่สอง  ฯลฯ  หรือจำนวนที่  เช่น  คาบห้า  ฯลฯ 

 

ข้อสังเกต  สำหรับคำประมาณวิเศษณ์นี้ใช้ประกอบหน้าศัพท์ก็ได้  หลังศัพท์ก็ได้  เช่น  มากคน  คนมาก  น้อยคน  คนน้อย

 

จ.       นิยมวิเศษณ์

 

คือ  คำขยายที่บอกความแน่นอน  แจ่มแจ้งให้รู้ว่าเป็นสิ่งนี้ อย่างนี้  สิ่งนั้น อย่างนั้น  ไม่ใช่

 

สิ่งอื่น  อย่างอื่น  ได้แก่คำว่า  นี้  นั้น  โน้น  ดังนี้  ดังนั้น  จริง  แท้   แน่ที่เดียว  เทียว  เองแหละ  ดอก  ฯลฯ

 

๑.  นิยมวิเศษณ์บอกความแน่นอนเกี่ยวกับสถานที่  ได้แก่คำ  นี้  นั้น  โน้น  นี่  นั่น  โน่น 

 

คำเหล่านี้ใช้ประกอบคำอื่นอีกทีหนึ่ง  เพื่อบอกตำแหน่งแห่งที่  คำ  นี้  ขยายความให้เข้าใจว่าเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ 

 

 คำ  นั้น  ก็ขยายความให้รู้ว่าไกลออกไปหน่อย  คำ โน้น  ก็ไกลออกไปอีก  เช่น

 

                                                ตึกนี้เป็นตึกเรียน                   ตึกนั้นคือตึกอำนวยการ

 

                                                ตึกโน้นคือห้องสมุด                ฉันไม่ชอบบ้านนั้น

 

หมายเหตุ

 

ก)      คำ  นี้  นั้น  โน้น  บางทีก็มีคำอื่นประกอบหน้า  เช่น  ทั้งนี้  ทั้งนั้น  หมดนี้  หมดสิ้น

 

ข)       คำเหล่านี้มีรูปซ้ำกับคำสรรพนาม  ฉะนั้นต้องสังเกตหน้าที่ของคำในประโยคด้วยถ้าทำหน้าที่

 

ขยายจึงจะเป็นวิเศษณ์

 

๒.  นิยมวิเศษณ์บอกความแน่นอนเกี่ยวกับความหมาย  ได้แก่คำ  จริง  แท้  แน่  ทีเดียวเทียว  ดอก(หรอก)  เช่น 

 

                เขาร้องไห้จริง ๆ                                      -  จริง ๆ  ประกอบกริยา

 

                เขาเป็นคนดีแน่                                      -  แน่ประกอบวิเศษณ์

 

                มาทีเดียว  มิฉะนั้นจะถูกตี    -  ทีเดียวประกอบกริยา

 

                ขาวดอกที่เป็นคนทำ  ไม่ใช่แดง            -  ดอกประกอบนาม  และกริยา

 

ฉ.       อนิยมวิเศษณ์

 

คือ  คำที่ใช้ประกอบคำอื่นโดยไม่แสดงความกำหนดแน่นอนลงไป  ทั้งไม่ใช่คำถามหรือแสดง

 

ความสงสัย  ได้แก่คำ  อื่น  พวกอื่น  เหล่าอื่น  ใด  ใดๆ  ใคร  ใคร ๆ  อะไร  ไย  ไฉน  ทำไม  ฉันใด  ฯลฯ 

 

คำเหล่านี้อาจซ้ำกับคำชนิดอื่น  แต่จะต้องพิจารณาประโยค  ตัวอย่างเช่น

 

                                เธอจะซื้อผ้ากี่ผืนก็ได้                             เธอช่างดีอะไรอย่างนี้นะ            

 

           นอนไหนก็นอนได้                   เธอจะมาเวลาใดก็ได้                           

 

     เขาจะมาทำไมก็ตาม  ฉันไม่ยอมให้เข้าบ้านแน่ ๆ

 

ช.       ประติชญาวิเศษณ์

 

คำ  ประติชญา  เป็น  ปฏิญญา  แปลตามศัพท์ว่า  ตอบรับ  เช่น

 

(ก)  คำขานรับ  ได้แก่คำ  ขา  จ๋า  เจ้าขา  ขอรับ  ครับ  เพคะ  พ่ะย่ะค่ะ  ฯลฯ

 

(ข)  คำตอบรับ  ได้แก่คำ  ค่ะ  เจ้าค่ะ  จ้ะ  ครับ  ขอรับ  กระหม่อม  เพคะ  พ่ะย่ะค่ะ  ฯลฯ

 

สำหรับคำตอบรับนี้บางทีมีคำอื่นประกอบข้างหน้าด้วย  เช่น  ใช่ค่ะ  ถูกครับ  ฯลฯ

 

(ค)    ใช้สำหรับลงท้าย  หรือข้อความที่พูด  เช่น

 

คุณคะโปรดคอยก่อนค่ะ               ท่านต้อการพบใครคะ           ให้ฉันเถิดจ้ะ

 

ฌ.  ประติเษธวิเศษณ์

 

                หมายถึงคำที่แสดงการปฏิเสธ  บอกความห้าม  แสดงการไม่รับรอง 

 

ได้แก่  คำว่า  บ่    ไป่  ไม่  มิ  มิได้  หาไม่  สำหรับคำ    บ่  ไป่  นั้นส่วนมากใช้ในคำประพันธ์  ดังเช่น

 

                                                อย่าปองสิ่งแก้วไป่                 ควรปอง

 

                                เขาบ่ตรึกอย่าตรอง                               ตริบ้า

 

                                เร่งคิดคิดแต่ของ                                    ควรคิด  นาพ่อ

 

                                การที่ศูนย์เปล่าอ้า                                 อย่าได้ควรปอง

 

                                                                                                                                (โคลงโลกนิติ)

 

ในภาษาธรรมดามักจะใช้คำ  ไม่  มิ  หาไม่  เป็นส่วนมาก

 

ญ.  ประพันธวิเศษณ์

 

                ได้แก่  คำจำพวกเดียวกับประพันธสรรพนาม  แต่ใช้ในความขยาย  จึงทำหน้าที่เป็นคำวิเศษณ์

 

  ได้แก่คำ  ที่  ซึ่ง  อัน  เช่น

 

                                หนังสือเล่มนี้ดีคือที่ได้ให้ความรู้ทางโบราณสถาน

 

                                ท่านผู้นี้มีความเมตตาอันหาที่เปรียบมิได้

 

                                ท่านผู้นี้มีความกรุณาซึ่งหาที่สุดไม่ได้

 

  ที่มา  เอกสารประกอบการอบรมการสอนภาษาไทย  ผศ.ประเทือง  คล้ายสุบรรณ
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2008 เวลา 19:55 น.
 

Facebook Like Box

ออนไลน์

เรามี 1 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ผู้เยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้197
mod_vvisit_counterเมื่อวาน218
mod_vvisit_counterอาทิตย์นี้700
mod_vvisit_counterเดือนนี้4038
mod_vvisit_counterทั้งหมด6426404