คำบุพบท พิมพ์
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันเสาร์ที่ 06 กันยายน 2008 เวลา 07:25 น.
  

คำบุพบท

 

 

                คำบุพบท  หมายถึง  คำที่ทำหน้าที่นำหน้าคำนาม  สรรพนาม  หรือกริยา  เพื่อช่วยให้ใจความในประโยคสมบูรณ์ยิ่งขึ้น 

 

คำบุพบทที่ใช้มาก  ได้แก่  กับ,  แก่,  แด่,  ต่อ

 

 

                กับ  ใช้ในกรณีต่อไปนี้

 

                ๑.  ใช้เมื่อสองฝ่ายทำกิริยาร่วมกัน  ไปด้วยกัน  และทำอะไรด้วยกัน  เช่น  เขาอยู่กับพ่อแม่ 

 

 พ่อไปกับลูก  ครูกับศิษย์เข้าใจกัน  ฉันไปเที่ยวกับเพื่อน

 

                ๒.  ใช้เมื่อต้องการเน้นข้อความให้หนักแน่นเป็นจริงเป็นจัง  เช่น  ฉันเห็นกับตา  เขาให้เงินกับฉัน 

 

 แหวนสวมอยู่กับนิ้ว  ให้กับเขาให้ได้นะ  กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง

 

                ๓.  ใช้แสดงอาการกำกับกัน  เช่น  น้ำกับฟ้า  สุรากับนารี  ดอกฟ้ากับหมาวัด  ปากกากับ

 นักเขียน  ดำกับขาว  การรักษาพยาบาลยังไม่เพียงพอกับจำนวนประชากร 

แก่  ใช้ในกรณีต่อไปนี้

 

๑.  ใช้เมื่อข้อความนั้นแสดงการให้  และนามที่ตามหลังคำว่าแก่  รับอาการกระทำ  เช่น  ฉันให้

 

รางวัลแก่เขา  ครูสอนหนังสือแก่ศิษย์  พระให้ศีลให้พรแก่อุบาสกอุบาสิกา  เขาให้เสื้อผ้าแก่ผู้ประสบอุทกภัย 

 

 รัฐบาลเก็บภาษีแก่ราษฎร  ศาลลงโทษปรับแก่จำเลย

 

                ๒.  ใช้เมื่อข้อความนั้นแสดงอาการบอกเล่า  อธิบายชี้แจงให้อีกฝ่ายหนึ่งเข้าใจ  เช่น  เขาบอกข่าวดีแก่เรา 

 

 ครูเล่านิทานแก่เด็ก  เขาพลีชีพเพราะเห็นแก่ชาติ

 

                ๓.  ใช้เมื่อข้อความนั้นแสดงถึงผลดีและผลเสียที่เกิดขึ้น  เช่น  เขาถึงแก่กรรม  ฉันสาแก่ใจ  เขาแสดงไม่ตรีแก่ฉัน 

 

 เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ 

                แต่  ใช้ในกรณีต่อไปนี้

 

                ๑.  ใช้กับบุคคลที่เคารพสักการะ  เช่น  เราถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ  ประชาชน  ถวายพระพรแด่

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  เขามอบของที่ระลึกแด่อาจารย์ใหญ่

 

                ต่อ ใช้ในกรณีต่อไปนี้

 

                ๑.  ใช้แสดงการรับเมื่อผู้ให้เป็นผู้น้อย  ผู้รับเป็นผู้ใหญ่  เช่น  เขาแจ้งความต่อตำรวจ  เธอร้องเรียนต่ออธิบดี

 

                ๒.  ใช้เมื่อข้อความนั้นแสดงอาการเฉพาะหน้า  เช่น  เขาเสนอเรื่องต่อที่ประชุม  รายงานต่อหัวหน้า 

 

เขาว่าเราต่อหน้า  เขายื่นเรื่องราวต่อเจ้าหน้าที่  เขาทำต่อหน้าต่อตาฉัน 

 

                ๓.  ใช้เมื่อแสดงอาการเกี่ยวข้องกัน  เช่น  เขาเป็นไมตรีต่อกัน  เขาประทุษร้ายต่อเพื่อน  อย่าเนรคุณต่อผู้มีพระคุณ 

 

 อย่าคิดทรยศต่อมิตร

 

                ๔.  ใช้เมื่อแสดงอาการขัดขืน  เช่น  ขัดต่ออำนาจหน้าที่  ขัดต่อกฎหมาย

 

                คำบุพบทอื่น ๆ ซึ่งใช้นำหน้าหรือวลียังมีอีกมาก  ได้แก่  เพื่อ  สำหรับ  เฉพาะ  ของ  ด้วย  โดย  ตาม  ทั้ง  เมื่อ  ใน 

 

  แต่  ตั้งแต่  จน  กระทั่ง  ที่  ใต้  เหนือ  บน  ข้าง  ไกล  ห่าง  ชิด  ถึง  สู่  ยัง  กระทั่ง  สิ้น  ทั้งสิน  หมดทั้ง  เกือบ  ราว  ประมาณ 

 

 สัก  ฯลฯ 

 

 คำบุพบทเหล่านี้ทำหน้าที่เชื่อมบทหน้ากับบทหลังให้ติดต่อกัน  ใจความสำคัญอยู่ที่ข้อความที่อยู่หลังคำบุพบท

 

  เช่น  เขาหาเงินเพื่อบุตร  อาหารสำหรับวันหน้า  เขาปฏิบัติตามกฎหมาย

 

                ข้อความบางประโยคไม่ต้องใช้คำบุพบทก็ได้ใจความ  โดยละบุพบทไว้ในฐานที่เข้าใจ  เช่น

 

                                ฉันเป็นลูกจ้างรัฐบาล                            (ละบุพบท  ของ)

 

                                พ่อให้เงินเขา                                          (ละบุพบท  แก่)

 

                                เขาว่ายน้ำ                                              (ละบุพบท  ใน)   

                  

                                ครูเขียนบนกระดาน                              (ละบุพบท  บน)

                                 เธอสบตาฉัน                                          (ละบุพบท  กับ)

ที่มา  เอกสารประกอบการอบรมการสอนการเขียน  ผศ.ประเทือง  คล้ายสุบรรณ

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน 2008 เวลา 19:56 น.