คำมูล คำประสม คำซ้ำ คำซ้อน คำสมาส คำสนธิ คำแผลง พิมพ์
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันเสาร์ที่ 06 กันยายน 2008 เวลา 07:38 น.

คำมูล

    คือคำที่เราตั้งขึ้นเฉพาะคำเดียวโดดๆ เช่น ไฟ ขัน

 

คำประสม

    คือ การนำคำมูลตั้งแต่สองคำขึ้นไปมาประสมกัน เช่น ขายหน้า ชาวนา เป็นต้น

 

คำซ้ำ

    คือ คำที่สร้างขึ้นใหม่โดยใช้คำเดิม แต่มีความหมายต่างไปจากเดิม เช่น ของดีๆ เด็กๆ กินๆนอนๆ

 

คำซ้อน

    คือ การนำคำที่มีความหมายคล้ายกันหรือไปทำนองเดียวกันมารวมกัน มี ๒ ลักษณะ คือ

    ๑.คำซ้อนเพื่อเสียง เช่น กรีดกราด ฟืดฟาด

    ๒.คำซ้อนเพื่อความหมาย เช่น นิ่มนวล ลับลมคมใน

 

คำสมาส

คือ การนำำคำภาษาบาลีและสันสกฤต ตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกัน เช่น

         อัคคี + ภัย = อัคคีภัย

        พระ + กรรณ = พระกรรณ

 

คำสนธิ

คือ การนำคำภาษาบาลีและสันสกฤตตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมารวมกัน โดยมีการกลืนเสียง เช่น

       นย + อุบาย = นโยบาย

      ธนว + อาคม = ธันวาคม

 

คำแผลง

คือ การเปลี่ยนเสียงและรูปพยัญชนะ สระ หรือวรรณยุกต์ ให้ปตกต่างไปตามเดิม โดยจะใช้คำในภาษาใดๆก็ได้ เช่น

      บวช ---> ผนวช