๑๐ อาหารต้านมะเร็ง พิมพ์
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันอังคารที่ 09 กันยายน 2008 เวลา 12:10 น.
1. ผัก - ผักมีกากใยปริมาณมาก ซึ่งผักที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านมะเร็ง ได้แก่

v กลุ่มผักมีสี เช่น บีทรูท ผักโขม แครอท มะเขือเทศ ยิ่งมีสีเข้มมมากเท่าไหร่ นั่นหมายถึงว่ามีสารที่มีประโยชน์ (phytochemical) มากขึ้นเท่านั้น รงควัตถุเหล่านี้ได้แก่ ไบโอฟลาวินอยด์ 20,000 ชนิด และแคโรทีนอยด์ 800 ชนิด ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องร่างกายและยังช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในการทำลายเซลล์มะเร็ง

v กลุ่มกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี บร็อคโคลี กะหล่ำดอก ในผักชนิดนี้จะมีสารต้านมะเร็ง สารที่ช่วยขจัดสารพิษ ตลอดจน อินดอล-3-คาร์บินอลและซัลโฟราเฟน

v หัวหอม&กระเทียม – ประกอบด้วยไบโอฟลาวินอยด์หลายชนิดด้วยกัน หนึ่งในนั้นได้แก่ เคอร์ซิทิน ซึ่งสามารถเปลี่ยนเซลล์มะเร็งให้เป็นเซลล์ปกติได้ นอกจากนี้ยังมีสารต้านมะเร็งอื่นๆ ได้แก่ อัลลิซิน , เอส-อัลลิล ซิสทีอิน, ซีลีเนียม และสารที่เรายังไม่รู้จักอีกมากมาย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องดี ที่เราจะรับประทานกระเทียมและหัวหอม เป็นประจำ

2. ปลาน้ำเย็น เช่น แซลมอน คอท แมคเคอเรล ซาร์ดีน ทูน่าและปลาจากทะเลน้ำลึก ในปลา เหล่านี้จะอุดมไปด้วยไขมันที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ได้แก่ EPA (eicosapentaenoic acid) และ DHA ( docosahexaenoic acid) ซึ่งชะลอการแพร่ของมะเร็ง กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และยังประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆที่พบในน้ำทะเล แต่ไม่พบในดิน

3. ถั่ว เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ ถั่วแดง ถั่วลิสง ในถั่วเหล่านี้พบว่ามีสารต้านโปรตีเอสในปริมาณสูง(มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง) นอกจากนี้ยังพบว่ามีอินโนซิทอล เฮกซาฟอสเฟต(กรดไฟตริก ซึ่งในท้องตลาด จะขายในรูปของ IP-6) และจีเนสเตอิน (ทำให้เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงเซลล์มะเร็งตีบลง) นอกจากนี้ในถั่วยังอุดมไปด้วยกากใยที่สามารถละลายน้ำได้ ซึ่งจะช่วยในขบวนการทำความสะอาดของร่างกายตามธรรมชาติ

4. เมล็ดธัญพืช เช่นข้าว โอ๊ต บาร์เลย์ ข้าวโพด ข้าวสาลี เนื่องจากเมื่อกากใยของพืชเหล่านี้แตกตัวที่ลำไส้จะเปลี่ยนเป็นกรดบิวไทริกที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง

5. สาหร่ายทะเล จะประกอบด้วยสารบางชนิดที่ป้องกันการติดเชื้อในทางเดินอาหาร และยังประกอบด้วยกากใยชนิดพิเศษที่สามารถละลายน้ำได้ซึ่งจะเป็นตัวกลางในการนำไขมันอันตราย สารอนุมูลอิสระ สารพิษต่างๆออกจากลำไส้ นอกจากนี้สาหร่ายทะเลยังเป็นแหล่งของแร่ธาตุอย่างดีจากน้ำทะเล

6. เบอร์รี่ เช่น ราสเบอร์รี่ สตรอเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ เชอร์รี่ เบอร์รี่สีดำ เพราะในเบอร์รี่จะมีสารต้านมะเร็งในปริมาณสูง และยังมีกรดอัลลาจิกที่จะทำลายเซลล์มะเร็งให้ตาย

7. โยเกิร์ต เนื่องจากในโยเกิร์ตจะมีแบคทีเรียชนิดแลคโตบาซิลัส ที่สามารถหมักนมให้เป็นสารที่มีประโยชน์ต่อทางเดินอาหารและระบบภูมิคุ้มกัน และเนื่องจากกว่า 80% ของระบบภูมิคุ้มกันจะอยู่ที่ทางเดินอาหาร ดังนั้นโยเกิร์ตจึงเป็นอาหารที่จัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับร่างกายในการป้องการติดเชื้อและยังช่วยต้านมะเร็งอีกด้วย

8. ชาเขียว ประกอบด้วยคาเทชินและสารเคมีในพืชอีกหลายชนิดด้วยกัน จากงานวิจัยของสถาบันมะเร็งแห่งชาติประเทศญี่ปุ่นและจีน พบว่าชาเขียวสามารถป้องกันการเกิดมะเร็งและยังสามารถเปลี่ยนเซลล์มะเร็งให้เป็นเซลล์ปกติได้

หมายเหตุ การดื่มชาเขียวให้ได้รับประโยชน์เต็มที่นั้น ต้องดื่มทันทีหลังจากชงเสร็จ เนื่องจากถ้าทิ้งไว้ชาเขียวจะทำปฎิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ทำให้สูญเสีย คุณค่าไป

9. เครื่องเทศ -มาสตาร์ด พริก พริกไท กระเทียม หัวหอม ขิง โรสแมรี่ อบเชยและเครื่องเทศอื่นๆที่ใช้ปรุงแต่งรส สามารถต้านมะเร็งและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

10. น้ำสะอาด - เป็นเรื่องแปลกที่กว่า 2 ใน 3 ของพื้นที่บนโลกและของร่างกายนั้นประกอบด้วยน้ำ เนื่องจากน้ำนั้นเป็นเป็นสารตัวกลางสำคัญของร่างกายที่ใช้ในขบวนการต่างๆของเซลล์ อาทิเช่น ควบคุมสมดุลกรด-ด่าง การทำความสะอาด การขจัดสิ่งสกปรก และยังนำพาสารอาหารที่มีประโยชน์เข้าสู่เซลล์ ตลอดจนนำของเสีย หรือสารพิษออกจากเซลล์อีกด้วย

อาหารชั้นเยี่ยม
ถึงแม้ว่าอาหารหลากหลายชนิดจะมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย แต่มีอาหารเพียงไม่กี่อย่างที่จัดว่าเป็น อาหารชั้นเยี่ยม ซึ่งได้แก่

v กระเทียม เป็นเครื่องเทศกลิ่นแรงที่ใช้ประกอบอาหารกันมามากกว่า 5,000 ปี นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนประกอบในสูตรยาฆ่าเชื้ออีกด้วย หลุยส์ ปาสเตอร์พบว่า กระเทียมสามารถฆ่าเชื้อที่อยู่ในจานเพาะเชื้อได้ และยังพบว่ากระเทียมจะกระตุ้นการทำงานของร่างกายในการป้องกันเซลล์มะเร็ง อับดุลลาห์ แพทย์ของมหาวิทยาลัยฟลอริดา พบว่าเซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้ที่กินกระเทียม สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งได้ดีกว่าเซล์เม็ดเลือดขาวของผู้ไม่กินกระเทียมถึง 139 % มีการทดลองพบว่าทั้งกระเทียมและหัวหอมสามารถลดการเกิดมะเร็งที่ผิวหนัง และจากการให้หนูทดลองกินกระเทียม พบว่าในหนูที่มีแนวโน้มว่าทางพันธุกรรมว่าเป็นมะเร็งได้ง่าย จะมีโอกาสเป็นมะเร็งลดลง

มะเร็งที่พบได้บ่อย คือมะเร็งกระเพาะอาหาร ซึ่งนักวิจัยชาวจีน พบว่าการบริโภคกระเทียมและหัวหอมในปริมาณสูงๆ สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งที่กระเพาะลงได้ครึ่งหนึ่ง นอกจากนี้กระเทียมยังทำให้ตับสามารถทนต่อสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้มากขึ้นด้วย และด้วยกลไกการออกฤทธิ์ของกระเทียมที่จะทำลายเฉพาะเซลล์มะเร็ง แต่ไม่ทำลายเซลล์ปกติ ดังนั้นจึงสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัย

v แคโรทีนอย -ทั้งแคโรทีนอยและไบโอฟลาวินอยในพืช จัดว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และยังกระตุ้นการทำงาของระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย โดยที่หน้าที่หลักของแคโรทีนอย คือจะเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง แคโรทีนอยจะพบทั้งในผัก-ผลไม้สีเขียวและสีส้ม ส่วนไบโอฟลาวินอยจะพบในพวกผลไม้รสเปรี้ยว ธัญพืช น้ำผึ้ง

v พวกหัวกะหล่ำ -ได้แก่ บร็อคโคลี, กะหล่ำปลี, กะหล่ำปลีbrussel, ดอกกะหล่ำ ซึ่งพืชเหล่านี้จะมีส่วนหัวอยู่ติดกับพื้นดิน เนื่องจากในพืชชนิดนี้จะมีสารอินโดล ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอบกิ้นส์ พบว่าในสัตว์ทดลองที่เลี้ยงด้วยพืชประเภทนี้ เมื่อได้สารก่อมะเร็งชนิดอัลฟาทอกซินนั้นโอกาสเกิดมะเร็งลดลงถึง 90 %

v เห็ด นักวิทยาศาสตร์พบว่าเห็ดไรชิ ,เห็ดชิตาเกะ ,เห็ดไมตาเกะ มีสารต้านมะเร็งในปริมาณสูง มีการทดลองให้สัตว์กินสารสกัดจากเห็ดไมตาเกะ พบว่า 40%ของสัตว์ทั้งหมดสามารถกำจัดมะเร็งได้หมดสิ้น ส่วนอีกสัตว์อีก60%นั้นสามารถกำจัดมะเร็งได้ถึง 90% ในเห็ดไมตาเกะ ประกอบด้วยโพลีแซคคาไลท์ ที่ชื่อว่า เบต้า-กลูแคน ซึ่งช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันและช่วยลดความดันเลือด

v ถั่ว - บรรดาเมล็ดพืชทั้งหลายที่มีเปลือก จะมีสารโปรตีเอสอินฮิบิเตอร์ทำให้ร่างกายของเราไม่สามารถย่อยเมล็ดเหล่านั้นได้โดยตรง จาการค้นพบที่ผ่านมาพบว่าสารโปรตีเอสอินฮิบิเตอร์ สามารถยับยั้งการโตของเซลล์มะเร็งได้ สถาบันมะเร็งนานาชาติ พบว่าในอาหารประเภทถั่วนั้นประกอบด้วยสารไอโซฟลาโวนและสารไฟโตเอสโตรเจนที่มีฤทธิ์ต้านมะเร็งได้เป็นอย่างดี และจากงานวิจัยของDr. Ann Kennedy พบว่าในถั่วมีคุณสมบัติดังนี้

· ป้องกันการเกิดมะเร็งในสัตว์ที่ได้สารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง

· ในงานวิจัยบางงานพบว่า สามารถทำให้เซลล์มะเร็งโตช้าลง

· ลดผลข้างเคียงของการใช้ยาและรังสีเพื่อการรักษามะเร็ง

· สามารถเปลี่ยนเซลล์มะเร็งให้เป็นเซลล์ปกติได้

นอกจากนี้ยังมีอาหารอีกหลายชนิดที่สามารถยับยั้งการแพร่ของมะเร็งได้ อาทิเช่น แอปเปิ้ล แอพริคอท บาร์เล่ย์ ผลไม้รสเปรี้ยว แครนเบอร์รี่ ปลา น้ำมันปลา ขิง โสม ชาเขียว ผักโขม สาหร่ายทะเล

ที่มา http://www.goodhealth.co.th/new_page_67.htm