อาการของมะเร็งตามอวัยวะต่างๆ |
![]() |
เขียนโดย ภาษาสยาม |
วันศุกร์ที่ 19 กันยายน 2008 เวลา 16:47 น. |
ในระยะแรกมักจะไม่ปรากฏอาการ ต่อมาเมื่อเป็นมากขึ้น (อาจนานเป็นเดือน เป็นปี) จะมีอาการทั่วไป (พบร่วมกันในมะเร็งทุกชนิด)คือ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว อาจมีไข้ เรื้อรัง ท้องอืดเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน ซีด เป็นลม ใจหวิว คล้ายหิวข้าวบ่อย ส่วนอาการเฉพาะของแต่ละโรค (ซึ่งมักเกิดขึ้นก่อนจะมีอาการทั่วไป) เกิดจากก้อนมะเร็งไปกดเบียด หรือทำลายอวัยวะที่เป็น พอจะสรุปได้ดังนี้
แตกเป็นแผล เรื้อรังไม่ยอมหาย โดยไม่มีอาการเจ็บปวด ต่อมาแผลโตขึ้นเร็ว และมีเลือดออก มีสาเหตุสัมพันธ์ กับการถูกแสงแดด(แสงอัลตราไวโอเลต) การกินยาที่เข้า สารหนู หรือน้ำมันดินที่มีผสมอยู่ในยาจีนยาไทย การสัมผัสถูกสารหนู หรือน้ำมันดิน การระคายเรื้อรังต่อไฝ ปานหรือหูดที่มีอยู่ก่อน
ที่เรียกว่าลิวโคพลาเคีย (Leukoplakia) มีสาเหตุสัมพันธ์กับการระคายเรื้อรัง เช่น กินหมาก จุกยาฉุน ฟันเกหรือใส่ฟันปลอมไม่กระชับ ดื่มเหล้าเข้มข้น (ไม่ผสมเจือจาง) สูบบุหรี่
มีเลือดปนน้ำเหลืองออกทางจมูก หูอื้อ กลืนไม่ได้ ตาเข ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต มะเร็งที่โพรงหลังจมูก มีสาเหตุสัมพันธ์กับการดื่มเหล้าเข้มข้นสูบบุหรี่ การติดเชื้อไวรัสอีบีวี (EBV)
มีเลือดออกปนกับเสมหะ มีสาเหตุสัมพันธ์กับการดื่มเหล้าเข้มข้น การสูบบุหรี่จัด การติดเชื้อไวรัสเอชพีวี
การสูดควันดำจากท่อไอเสียรถ เขม่าจากโรงงาน สารใยหิน (asbestos) หรือฝุ่นนิกเกิล
จนในที่สุดกลืนได้แต่ของน้ำๆ หรือ กลืนอะไรก็ไม่ลงเลย พบมากในผู้ชาย มีสาเหตุสัมพันธ์กับการกินอาหาร และดื่มของร้อนๆ (เช่น น้ำชาร้อน ๆ), การดื่มเหล้าเข้มข้น, การสูบบุหรี่, ภาวะขาดวิตามินเอ เป็นต้น
ชายโครงซ้าย น้ำหนักลด ซีด อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ มีสาเหตุสัมพันธ์กับการเป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ จากเชื้อเอชไพโลไร (H. pylori) แบบเรื้อรัง, การกินอาหารที่มีสารไนเทรตหรือไนโตรซามีน, อาหารเค็มหรือ อาหารหมักเกลือ, อาหารประเภทรมควัน, กรรมพันธุ์, การมีประวัติการผ่าตัดกระเพาะอาหาร เป็นต้น
ถ่ายอุจจาระสีซีดขาว เบื่ออาหาร น้ำหนักลด มีสาเหตุสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ สารไนโตรซามีน สารไฮโดรคาร์บอน การกินอาหารพวกไขมันและโปรตีนสูง และอาจมีสัมพันธ์กับกรรมพันธุ์
ภาวะลำไส้อุดตัน (ปวดท้องรุนแรง อาเจียน) บางรายอาจมีอาการดีซ่าน ถ่ายอุจจาระสีซีด ขาว อาจคลำได้ก้อนในช่องท้อง อาจมีสาเหตุสัมพันธ์กับการเป็นลำไส้เล็กอักเสบเรื้อรัง
ปวดท้อง ปวดหลัง ซีด น้ำหนักลด มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้ เช่น ภาวะโคเลสเตอรอลในเลือดสูง, การกินอาหารที่มีกากใยน้อยแต่กินพวกไขมันมาก, ประวัติการเป็นมะเร็งในญาติพี่น้อง เป็นต้น
มีสาเหตุสัมพันธ์กับการติดเชื้อไวรัส เอชทีแอลวี-1, เชื้ออีบีวี, เอดส์, การได้รับยาเคมีบำบัด หรือรังสี บำบัดมาก่อน เป็นต้น
เลือดออกทางหัวนมต่อมาจะมีต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ข้างเดียวกันโต ผู้หญิงที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ เช่น ผู้หญิงที่มีมารดาเป็นมะเร็งเต้านมก่อนวัยหมดประจำเดือน หรือมีญาติพี่น้องเป็นโรคนี้หลังวัยประจำเดือน, ผู้หญิงเกิน 50 ปี ที่ยังไม่มีบุตร, ผู้หญิงที่มีบุตรคนแรกเมื่ออายุเกิน 30 ปี, ผู้หญิงที่มีประวัติเป็น โรคเต้านมเรื้อรัง, คนอ้วน, ผู้ที่สัมผัสถูกรังสี หรือดื่มเหล้า
เรื้อรังมีสาเหตุสัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชพีวี (HPV/Human papilloma virus) ของปากมดลูกซึ่งเป็น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ร่วมกับปัจจัยเสริมอื่นๆ เช่น การกินยาเม็ดคุมกำเนิด การสูบบุหรี่ เป็นต้น โรคนี้พบมากในผู้หญิงที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อยมีสามีหลายคน หรือมีสามีสำส่อนทางเพศ และในหญิงบริการ
ยังไม่ทราบพบว่า ผู้ที่มีอัณฑะไม่เลื่อนลงถุงอัณฑะ ซึ่งเป็นมาแต่กำเนิด อาจค้างอยู่ในช่องท้อง หรือขาหนีบ มีโอกาสเป็นมะเร็งอัณฑะมากขึ้น
การสัมผัสถูกสารอะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (aromatic hydrocarbon) ที่เป็นสารประกอบของสีที่ใช้ ทางอุตสาหกรรม, การกินอาหารพวกเนื้อปิ้ง ย่าง และไขมันมาก
ปัสสาวะลำบากหรือ ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดหลังหรือปวดสะโพกน้ำหนักลด มักพบในคนอายุ ตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มีสาเหตุสัมพันธ์กับฮอร์โมนแอนโดรเจน และพบว่าผู้ที่มีประวัติญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ หรือเคยทำหมันชาย มีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้สูงขึ้น
ตาข้างนั้นมัว หรือมองอะไรไม่เห็น เมื่อเป็นมากขึ้น ตาจะเริ่มปูดโปนออกมานอกเบ้าตา
จะมีอาการแบบเดียวกับเนื้องอกในสมอง มะเร็งต่อมไทรอยด์ |
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 19 กันยายน 2008 เวลา 17:03 น. |