การพระบรมศพ |
![]() |
เขียนโดย ภาษาสยาม |
วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน 2008 เวลา 14:11 น. |
การพระราชพิธีพระบรมศพในอดีตและเกี่ยวเนื่องมาถึงปัจจุบัน (ขั้นตอนอาจจะเปลี่ยนหรือสลับกัน)
ถวายเครื่องขาวทรงพระบรมศพ และถวายเครื่องบรมราชภูษิตาภรณ์อย่างเต็มที่ (เหมือนชุดแสดงละคร) จากนั้น ถวายขี้ผึ้งแผ่เต็มพระพักตร์ และพระทวารทั้งเก้าจากนั้น (เหตุคือป้องกันแมลงเข้าไปวางไข่ในพระบรมศพ) จากนั้น นำฉลองพระพักตร์ ที่เรียกว่า "พระสุพรรณแผ่นจำหลักปริมณฑลฉลองพระพักตร์"(เหตุเพื่อถวายพระเกียรติพระบรมศพ พูดง่ายๆคือ หากพระบรมศพเน่าหรืออะไร จะได้ดูไม่น่าเกลียด) จากนั้นถวายมหาสุกำพระบรมศพ (มัดตราสัง) โดยใช้สายสิญจ์พันที่พระศอ พระดัชนี และ พระบาท ตามนัยคติทางพระพุทธศาสนาว่า บ่วงทั้งหลายคือ บุตร ทรัพย์ ภรรยา ที่มีความเชื่อว่า ท้าวสักกกะเทวราชทรงสร้างเพื่อประดิษฐานพระเกศโมลีและพระเขี้ยวแก้วด้านขวาของพระพุทธเจ้า วางให้เหลี่ยมเหลื่อมกัน เชิญพระบรมศพจัดในท่านั่ง (ขอบรรยายเป็นภาษาสามัญ) เข่ามาเกยที่คาง เอาแขนและมือมากอดขา ประนมมือไว้ จากนั้นยกผ้าขึ้นและประดิษฐานในพระบรมโกศ เสียบเหล็กกาจับหลักไว้กางผ้า ให้ทะลุขึ้นมารองรับคาง (ไม่ได้แทงที่พระทวาร) นำเชือกสายสิญจ์มารัดรึงพระบรมศพกับเหล็กกาจับให้มั่น รัดผ้าให้แน่นหนา(สมัยก่อนไม่มีฟอร์มาลีน พระบรมศพจะอืด จึงต้องรัดผ้าให้แน่น) จากนั้นพระเจ้าอยู่หัวผู้เป็นประธานในพระราชพิธีถวายพระชฏาห้ายอด ภูษามาลารวบผ้าขมวดเป็นปมที่พระเจ้า(หัว) พระบรมศพ รัดให้แน่น แล้วต่อสายสิญจ์โยงมายังพระภูษาโยงเพื่อให้พระสงฆ์สดัปกรณ์ ภายใต้พระมหาเศวตฉัตร ประดิษฐานบนพระแท่นสุวรรณเบญจปดล ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
ที่มา เว็บไซต์พันธุ์ทิพย์
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม 2009 เวลา 18:06 น. |