การเขียนนวนิยาย PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันอาทิตย์ที่ 07 กันยายน 2008 เวลา 13:07 น.

 

 

                                             การเขียนนวนิยาย สไตล์น้ำฟ้า

 

ความหมายของนวนิยาย

          นวนิยาย คือ บทประพันธ์ร้อยแก้วขนาดยาวที่แต่งขึ้นเพื่อความบันเทิง โดยสมมุติตัวละคร เหตุการณ์ โครงเรื่อง และสถานที่เพื่อให้เกิดความสมจริง

 

เริ่มต้นการเขียน

ผู้เขียนควรมีความรู้เกี่ยวกับหลักการเขียน เพราะงานเขียนที่ขาดความสละสลวยจะทำให้ผู้อ่าน เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย และอาจตีความไปคนละทางกับเจตนาของผู้เขียนได้ http://www.pasasiam.com/home/index.php/general/readawrite/187-2008-09-10-06-12-30

 

การวางแผน

๑.     วางโครงเรื่องคร่าวๆ ว่าต้องการเขียนเรื่องแนวไหน มีเนื้อหาอย่างไร อาจมีการเขียนทรีทเมนท์แต่ละตอน เพื่อป้องกันการเขียนออกทะเล ( สำหรับมือใหม่หัดเขียน )

 

 

๒.     วางลักษณะนิสัยตัวละครแต่ละตัวให้ชัดเจน

 

 

๓.     วางฉากว่าเป็นที่ไหน สมัยใด โดยเฉพาะนวนิยายย้อนยุค ควรศึกษาให้แน่ชัด ว่าเขียนถึงสมัยไหน คนในยุคนั้นมีความเป็นอยู่ มีความเชื่อ และวัฒนธรรมประเพณีอย่างไร

 

 

๔.     คิดวิธีการเล่าเรื่องว่าจะเล่าเรื่องอย่างไร อาจจะเป็นเล่าโดยผู้เขียน หรือตัวละครตัวใดตัวหนึ่งฯลฯ

 

เริ่มต้นเขียน

๑.     การเปิดเรื่อง เป็นบันไดขั้นแรกของการเขียน ดังนั้นจึงควรเปิดเรื่องให้น่าสนใจ อาจจะมีบทนำเพื่ออธิบายลักษณะเด่นของตัวละครเอกก่อนก็ได้

 

 

๒.     การผูกปม นวนิยายที่น่าอ่านนั้นจะต้องไม่เรียบเรื่อยเกินไปนัก ผู้เขียนจึงควรขมวดปมปัญหา สร้างความขัดแย้งขึ้น เพื่อความน่าติดตาม

 

 

๓.     การดำเนินเรื่อง ผู้เขียนควรมีการวางแผนว่าจะดำเนินเรื่องอย่างไร เช่นการเล่าจากอดีต – ปัจจุบัน เล่าย้อนหลังปัจจุบัน – อดีต หรือเล่าโดยการเขียนจดหมาย เป็นต้น

 

 

๔.     การคลี่คลายเรื่อง เมื่อมีการขมวดปมปัญหาเอาไว้ตั้งแต่ต้น ก็ควรมีการคลี่คลายปัญหา และแสดงความสัมพันธ์ของตัวละครแต่ละตัวไปด้วย

 

 

๕.     จุดไคล์แม็กซ์ หรือ จุดสุดยอด คือ จุดที่จะกระตุ้นความรู้สึกของผู้อ่านเพื่อนำไปสู่การคลี่คลายเรื่องในที่สุด ( มักจะมีขึ้นตอนใกล้อวสาน )

 

 

๖.     การปิดเรื่อง คือ การกำหนดตอนอวสานของเรื่องว่าจะให้จบลงอย่างไร อาทิ จบแบบ สมหวัง ผิดหวัง หักมุม ฯลฯ

 

 

คำเตือน

การเขียนเป็นสื่อกลางระหว่างผู้เขียนและผู้อ่าน ดังนั้นจิตสำนึกในการเขียนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรระลึกถึงอยู่เสมอ ดังนั้นจึงไม่ควรเขียนนวนิยายในเชิงชี้นำให้เกิดความแตกร้าวแก่ผู้คนในสังคม สื่อให้เกิดความรุนแรง ผิดศีลธรรมจรรยา หรือลามกอนาจาร เพราะเมื่อท่านเป็นผู้ส่งสารก็ควรคำนึงว่าผู้รับสารจะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้างด้วยเช่นเดียวกัน

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม 2010 เวลา 14:43 น.
 

Facebook Like Box

ออนไลน์

เรามี 5 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ผู้เยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้167
mod_vvisit_counterเมื่อวาน169
mod_vvisit_counterอาทิตย์นี้336
mod_vvisit_counterเดือนนี้4615
mod_vvisit_counterทั้งหมด6420201