การเขียนสารคดี PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันอังคารที่ 09 กันยายน 2008 เวลา 11:08 น.

            พจนานุกรม ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ๒๕๓๐  ได้ให้ความหมายของ  สารคดี  เอาไว้ว่า  เป็นเรื่องที่เขียนขึ้นจากความเป็นจริง มิใช่จาก

จินตนาการ    ส่วนความหมายในเชิงปฏิบัติของนักเขียนสารคดี  หมายถึง  ประเภทงานเขียนที่แต่งขึ้น  เพื่อให้ผู้อ่านได้รับความรู้เป็นสำคัญ 

แต่จะต้องใช้ภาษาสำนวนที่คมคายชวนให้ติดตามอ่าย

            วิลาศ  มณีวัต  นักเขียนสารคดีผู้มีชื่อเสียงของเมืองไทยได้กล่าวถึงบทบาทของสารคดีว่า

                  ๑. ต้องเสนอเรื่องราว ( to in  form )

                  ๒. ต้องชักนำความคิดของผู้อ่านไปในทิศทางที่ผู้เขียนต้องการ

                  ๓. ต้องให้ความบันเทิง  ชวนอ่าน

           ในทางวิชาการ  นักวิชาการได้พยายามจำแนกประเภทของสารคดีไว้แตกต่างกัน  ซึ่งพอจะประมวลไว้เพื่อเป็นความรู้ได้ดังนี้

                  ๑.  สารคดีบุคคล

                  ๒. สารคดีโอกาสพิเศษ

                  ๓. สารคดีประวัติศาสตร์

                  ๔. สารคดีท่องเที่ยว

                 ๕. สารคดีแนะนำวิธีทำ

                 ๖. สารคดีเด็ก

                  ๗. สารคดีสตรี

                 ๘. สารคดีเกี่ยวกับสัตว์

                  ๙. สารคดีความทรงจำ

                  ๑๐. สารคดีจดหมายเหตุ

 

โครงสร้างของสารคดี 

              การเขียนสารคดีให้น่าสนใจติดตามอ่านนั้น  จะต้องมีโครงสร้างที่สำคัญดังนี้

นำเรื่อง

         การเขียนนำเรื่องเหมือนกับการดูไตเติ้ลของภาพยนตร์นั่นเอง  ภาพยนตร์เรื่องนั้นจะน่าสนใจหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับการนำเรื่อง

การนำเรื่องของสารคดีมีรูปแบบหลายวิการ  ได้แก่

                    - แบบสรุปเนื้อหา

                   - แบบเปิดเรื่องด้วยเหตุการณ์สำคัญ

                   - แบบเปิดเรื่องโดยยกสุภาษิต  คำพังเพย  กวีนิพนธ์ หรือ คำคม มากล่าว

                  -  แบบเปิดเรื่องโดยใช้ประโยคสำคัญ

                  -  แบบเปิดเรื่องโดยการยกเหตุการณ์เปรียบเทียบ

                  - แบบเปิดเรื่องด้วยการพรรณนา

                  - แบบเปิดเรื่องด้วยการย้อนอดีต

เนื้อเรื่อง

              นับเป็นส่วนสำคัญของการเขียนสารคดีทั้งนี้เพราะสารคดีจะน่าสนใจแค่ไหนขึ้นอยู่กับเนื้อเรื่อง  ดังนั้นเรื่องที่จะนำมาเขียน

เป็นสารคดีนั้นต้องกลั่นกรองอย่างรอบคอบว่า  อ่านแล้วได้สาระอย่างไร  มีประโยชน์  และน่าสนใจเพียงใด

 

สรุปเรื่อง

              การเขียนสารคดีนั้นเมื่อนำเรื่องแล้วต้องมีการดำเนินเรื่อง  หลังจากดำเนินเรื่องจนครบถ้วนแล้วก็จะถึงส่วนสรุปเรื่อง  เพื่อให้ปมของเรื่องนั้นยุติตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 

              -  สรุปให้เห็นความสำคัญของเรื่องที่นำเสนอ

             - สรุปความคิดเห็นที่เป็นประโชยน์ต่อชีวิตและสังคม

             - สรุปเนื้อหาเพื่อโน้มน้าวให้เกิดการร่วมมือต่างๆ

             - สรุปเนื้อหาเพื่อให้เกิดความตระหนัก

ที่มา สารคดีและการเขียนสารคดี  .  ถวัลย์  มาศจรัส.

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน 2008 เวลา 13:50 น.
 

Facebook Like Box

ออนไลน์

เรามี 7 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ผู้เยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้75
mod_vvisit_counterเมื่อวาน169
mod_vvisit_counterอาทิตย์นี้244
mod_vvisit_counterเดือนนี้4523
mod_vvisit_counterทั้งหมด6420109