หน้าหลัก ประวัติศาสตร์ เมืองล้านนา วัดสำคัญแห่งนครเชียงใหม่
วัดสำคัญแห่งนครเชียงใหม่ PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันอาทิตย์ที่ 01 กรกฏาคม 2012 เวลา 06:45 น.

 

 

๑.วัดเชียงมั่น

 

 

วัดเชียงมั่นที่ปรากฎในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่และพงศาวดารโยนก มีดังนี้คือ    หลังจากที่พญางำเมือง พญาร่วง และพญามังรายทรงสร้างเมืองเชียงใหม่ สำเร็จในปี พ.ศ.๑๘๓๙ แล้ว ทั้งสามพระองค์ทรงโปรดให้สร้างเจดีย์ขึ้นตรงที่หอนอนบ้านเชียงมั่นซึ่งพญามังรายทรงสร้างเป็นที่ประทับชั่วคราวในระหว่างที่ควบคุมการสร้างเมืองใหม่โดยให้ชื่อที่ประทับแห่งนั้นว่า "เวียงเล็ก" หรือ "เวียงเหล็ก" หมายถึง"ความมั่นคงแข็งแรง" ต่อมาเมื่อพญามังรายเสด็จแปรพระราชทานไปยังพระราชนิเวศน์มณเฑียรสถานแห่งใหม่ซึ่งเรียกว่า "เวียงแก้ว" (ปัจจุบันคือเรือนจำกลางเชียงใหม่) แล้ว ทรงอุทิศตำหนักคุ้มหลวงเวียงเหล็ก ถวายแด่พระศาสนา โดยตั้งเป็นพระอารามหลวงแห่งแรกและพระราชทานนามอันเป็นมงคลว่า
"วัด เชียงมั่น" อันหมายถึงบ้านเมืองที่มีความมั่นคงทั้งนี้ ศิลาจารึกวัดเชียงมั่นพุทธศักราช ๑๘๓๙ ได้จารึกไว้ว่า "ศักราช ๖๕๘ ปีรวายสัน เดือนวิสาขาออก ๘ ค่ำ ขึ้น ๕ ไทยเมืองเปล้า ยามแตรรุ่งแล้ว สองลูก นาฑี ปลายสองบาทน้ำ ลัคคนาเสวยนวางค์ประหัส ในมีนยะราศี พญามังรายเจ้า พญางำเมือง พญาร่วง ทังสามคน ตั้งหอ นอนในที่ไชยภูมิ ราชมณเฑียร ขุดคือก่อตรีบูรทั้งสี่ด้านและก่อเจติยะทัดที่นอนบ้านเชียงมั่น ในขณะยาม เดียวนั้น ที่นั้นลวดสร้างเป็นวัด หื้อทานแก่แก้วทังสามใส่ชื่อว่าวัดเชียงหมั้น ต่อบัดนี้ ..." จึงนับได้ว่า วัดเชียงมั่นเป็นพระอารามหลวงแห่งแรกในเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่ คือสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๘๓๙ จาก นั้นคาดว่าเจดีย์นี้ได้พังลงมาในสมัยของพระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ราชวงค์มังรายลำดับที่ ๑๐ (ครอง ราชย์ พ.ศ.๑๙๘๕ - ๒๐๓๑) พระองค์จึงโปรดให้สร้างขึ้นใหม่ด้วยศิลาแลงในปี พ.ศ.๒๐๑๔
          ต่อมาในปี พ.ศ.๒๐๙๔ เชียงใหม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า วัดเชียงมั่นจึงถูกทอดทิ้งให้ เป็นวัดร้าง ครั้นถึง พ.ศ.๒๑๐๑ เจ้าฟ้ามังทรา (สมเด็จพระมหาธัมมิกะราชาธิราช)แห่งพม่า ทรงมีพระราชศรัทธาในพุทธศาสนา โปรดให้พระยาแสนหลวงสร้างเจดีย์ วิหาร อุโบสถ หอไตร ธัมมเสนาสนะกำแพง และประตูโขงขึ้นที่วัดเชียงมั่น โดยมีพระมหาหินทาทิจจวังสะเป็นเจ้าอาวาสเมื่อถึงสมัยพระยากาวิละครองเมืองเชียงใหม่(พ.ศ.๒๓๒๔ - ๒๓๕๘) ได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดเชียงมั่นขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่วัดนี้ได้ตกอยู่ในสภาพวัดร้างเมื่อครั้งที่ทำสงครามกอบกู้เอกราช คืนมาจากพม่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๓๑๙ ต่อมาในสมัยของเจ้าอินทวโรรส (พ.ศ.๒๔๔๐ - พ.ศ.๒๔๕๒) พระพุทธศาสนาแบบธรรมยุกนิกายได้เข้ามาเผยแผ่ในอาณาจักรล้านนาเจ้าอินทวโรสจึงได้นิมนต์พระธรรมยุตมาจำพรรษาอยู่ที่วัดเชียงหมั้นเป็นครั้งแรก ภายหลังย้ายไปอยู่วัดหอธรรมและวัดเจดีย์หลวงตามลำดับ

 

๒.วัดดับภัย

 

ตั้งอยู่ที่ถนนสิงหราช ตำบลศรีภูมิ ตามตำนานกล่าวว่าเมื่อพญาอภัยล้มป่วยรักษาอย่างไรก็ไม่หาย จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานต่อหน้าหลวงพ่อดับภัยอาการป่วยจึงหายไป วัดดับภัยเดิมชือว่า วัดอภัย หรือ วัดตุงกระด้าง และบูรณะปฏิสังขรณ์ จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "วัดดับภัย" เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมแบบพื้นเมืองล้านนา วัดแห่งนี้มีบ่อน้ำอยู่หน้าวิหาร เชื่อว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ สมัยพระเจ้าอินทวโรรสเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 8 เสด็จกลับจากกรุงเทพฯ ต้องแวะมาวัดดับภัยเพื่อนำน้ำในบ่อนี้ไปสรงน้ำพระพุทธมนต์ ก่อยแวะไปวัดเชียงยืนเพื่อสืบดวงชะตา 

 

๓.วัดพระสิงห์

หรือมีชื่อเต็มว่า วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เป็นวัดที่ประดิษฐาน พระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา พระพุทธรูปเป็นศิลปะ เชียงแสนรู้จักกันในชื่อ "เชียงแสนสิงห์หนึ่ง วัดพระสิงห์   มีสถาปัตยกรรมล้านนาอันงดงามเป็นที่รู้จักและ คุ้นชื่อกันอย่างดี  วัดพระสิงห์ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเชียงใหม่ที่ให้ความศรัทธาและจะเดินทาง มาเคารพ สักการะกันอย่างเนื่องแน่นเป็นประจำ ทุกปีเมื่อถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์หรืองานประเพณีปี๋ใหม่เมือง ทางราชการ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ขึ้นประดิษฐานบนรถบุษบกแห่ไปรอบเมืองเพื่อให้ศรัทธา ประชาชนได้พากันมา สรงน้ำเนื่อง ในเทศกาลปีใหม่  ตามคติล้านนา คนเกิดปีมะโรงต้องมาไหว้พระสิงห์ให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต 

 โบสถ์
เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขโถงทั้งด้านหน้าด้านหลัง ลักษณะอาคารและการตกแต่งเป็น แบบศิลปะล้านนา โดยแท้ ด้านข้างแลเห็นหน้าต่างขนาดใหญ่ตีเป็นช่องแบบไม้ระแนง แต่ภายในเป็นหน้าต่างจริง มีลายปูนปั้นบริเวณ ซุ้มประตูทางเข้า หน้าบันมีลักษณะวงโค้งสองอันเหนือทางเข้าประกบกัน เรียกว่า คิ้วโก่ง เหนือคิ้วโก่งเป็น วงกลม สองวงคล้ายดวงตา ที่เสาและส่วนอื่นๆ มีปูนปั้นนูน มีรักปั้นปิดทอง วิจิตรพิศดารมาก 

หอไตร  
สร้างเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ผนังด้านนอกประดับด้วยทวยเทพปูนปั้น ทำเป็นรูปเทพพนมยืน บ้างก็เหาะประดับ อยู่โดยรอบ เป็นฝีมือช่างสมัยพระเมืองแก้ว ประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๖ เจ้าแก้วนวรัฐได้ซ่อมแซมขึ้น ใหม่ที่ฐาน หอไตรปั้นเป็นลายลูกฟักลดบัว ภายในประดับด้วยรูปสัตว์หิมพานต์ เช่น นางเงือกมีปีก คชสีห์มีปีก กิเลน เป็นต้น และมีลายประจำยามลักษณะคล้ายลายสมัยราชวงศ์เหม็งของจีน 

วิหารลายคำ
วิหารลายคำนี้มีลวดลายปูนปั้นที่สวยงามปราณีตบรรจงมากแสดงให้เห็นฝีมือของช่างในยุคนั้นว่าเจริญถึงที่สุด ตัววิหารลายคำสร้างตามแบบศิลปกรรมของภาคเหนือ มีรูปปั้นพญานาค ๒ ตัวอยู่บันไดหน้า และใกล้ ๆ พญานาค มีรูปปั้นสิงห์ ๒ ตัว บริเวณ ภายในเป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธสิหิงค์” บนผนังด้านหลังพระประธาน เสาหลวง (เสากลม) เสาระเบียง (เสาสี่เหลี่ยม) มีภาพลายทองพื้นแดงเป็นลวดลายต่างๆ เต็มไปหมด ด้านหลังพระประธาน ยังมีรูปปราสาทแวดล้อมด้วยมังกรและหงส์ มีความงดงามน่าชมยิ่ง ผนังวิหารด้านเหนือมีภาพจิตรกรรม เขียน เรื่องสังข์ทอง ด้านใต้เรื่องสุวรรณหงส์ นับเป็นภาพที่น่าสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องสังข์ทอง พบเพียงแห่ง เดียวที่นี่ 

พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปโบราณหล่อด้วยสำริดหุ้มทอง ปางสมาธิ สูง ๗๙ เซนติเมตร หน้า ตักกว้าง ๖๓ เซนติเมตร  เป็นศิลปะแบบลังกา ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้าสีหฬะ พระมหากษัตริย์แห่ง ลังกาทวีป ทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๗๐๐ ต่อมา เจ้านครศรีธรรมราชได้ไปขอมาถวายพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย เมื่อสมเด็จ พระบรมราชาธิราชที่ ๑ แห่งกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐาน ที่ กรุงศรีอยุธยาต่อมาได้มีผู้นำไปไว้ที่เมืองกำแพงเพชรและเชียงราย เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมา เจ้านครเชียงใหม่ ยกทัพไปตีเมืองเชียงรายได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่เชียงใหม่พร้อมกับพระแก้วมรกต เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตีเมืองเชียงใหม่ได้เมื่อ พ.ศ. ๒๒๐๕ ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่ วัดพระศรีสรรเพชญ์กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานานถึง ๑๐๕ ปี เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ แก่พม่าใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ชาวเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปที่เชียงใหม่ เมื่อมณฑลพายัพได้กลับมาเป็นของไทย ในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้อัญเชิญลงมา ยังกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๘ ปัจจุบันพระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวัง บวรสถานมงคล โดยจะมีพิธีเชิญออกมาช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้ประชาชนไทยได้สักการะและสรงน้ำ ส่วนพระสิงห์ที่ประดิษฐานที่วัดแห่งนี้เป็นพระพุทธรูปจำลอง

 

๔.วัดเชียงยืน
          ตั้งอยู่ที่ถนนมณีนพรัตน์ เป็นวัดโบราณแห่งหนึ่งซึ่งมีโบสถ์แปดเหลี่ยมที่เก่าแก่ด้วยรูปแบบศิลปะพม่า แม้ตัวโบสถ์จะทรุดโทรมตามกาลเวลา ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปพม่า พญามังรายสร้างวัดเชียงยืนตามความหมายว่า "ยั่งยืน" ห้ามผู้หญิงเข้าตามความเชื่อของชาวล้านนา ที่มีความเชื่อว่าสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนาหรือพิธีสำคัญๆ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องการความสะอาดบริสุทธิ์ ตำนานกล่าวไว้ว่า หากกษัตริย์องค์ใดจะขี้นครองราชย์ต้องมานมัสการพระประธานที่วัดนี้ก่อน จนเป็นธรรมเนียมประเพณี แต่ได้ยกเลิกไปเมื่อครั้งเชียงใหม่ตกอยู่ภายใต้การปกครอง


๕. วัดชัยมงคล
         ตั้งอยู่ที่ถนนเจริญประเทศ ตำบลช้างคลาน วัดชัยมงคลอยู่ริมแม่น้ำปิง สร้างราวสมัยพระเจ้าติโลกราชกษัตริย์นครเชียงใหม่ ในสมัยที่เชียงใหม่ถูกพม่าปกครอง วัดนี้ถูกเรียกว่า วัดอูปาเพ็งหรืออูปาพอก จนถึงสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เปลี่ยนมาเรียกชื่อวัดนี้ว่า "วัดชัยมงคล" ลักษณะของเจดีย์วัดชัยมงคลเป็นศิลปะแบบพม่ามอญ 

 

๖.วัดดวงดี
          ตั้งอยู่ที่ถนนพระปกเกล้า ตำบลศรีภูมิ วัดดวงดีเดิมชื่อว่า วัดต้นหมากเหนือ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นหลังจากพญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่แล้ว และมีเจ้านายเมืองเชียงใหม่องค์หนึ่งเป็นผู้คิดค้นการสร้าง ลักษณะของวิหารและโบสถ์เป็นพื้นเมืองแบบล้านนา มีลวดลายแกะสลักไม้ประดับสถาปัตยกรรมที่สวยงาม

 

๗.วัดหมื่นล้าน
          ตั้งอยู่ที่ถนนราชดำเนิน ตำบลศรีภูมิ สร้างขึ้นเม่อพ.ศ. 2005 สมัยพระเจ้าติโลกราช ผู้ก่อตั้งคือ หมื่นโลกสามล้านขุนพลแก้วคู่บัลลังก์ของพระเจ้าติโลกราช ซึ่งคนส่วนใหญ่รู้จักกันในนามของ หมื่นดัง หรือ หมื่นดังนคร 
          การสร้างวัดตามหลักฐานกล่าวว่า หลังจากหมื่นโลกสามล้านได้ดีโต้ทัพอยุธยาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ให้ถอยร่นได้จากสุโขทัยไปถึงกำแพงเพชรแล้ว พระเจ้าติโลกราชได้ตามไปแล้วสั่งให้กลับคืนมารักษาการยังนครเวียงพิงค์ แล้วจึงมีดำริกุศลเจตนาปราถนาสร้างวัดขึ้น เพื่อเป็นการสร้างกุศลอุทิศแก่แม่ทัพของอยุธยาที่พ่ายแพ้ในการทำสงครามจนต้องเสียชีวิต ตลอดถึงอุทิศกุศลแก่บรรดาแม่ทัพล้านนาประเทศที่พลีชีพของตนเอง โดยนำเอาพยางค์ต้นตามตำแหน่งคือ คำว่า หมื่น และพยางค์คำท้ายในพระราชทินนามว่า ล้าน มาเป็นนามของวัดว่า "วัดหมื่นล้าน" ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2475

 

๘.วัดหมื่นเงินกอง
         ตั้งอยู่ที่ถนนสามล้าน ตำบลพระสิงห์ วัดหมื่นเงินกองเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยราชวงค์มังราย เป็นสถาปัตยกรรมพื้นเมืองแบบล้านนา ในย่านสามล้านอันเป็นที่พักขุนนางชั้นสูง หมื่นเงินกองเป็นชื่อของอำมาตย์ท่านหนึ่งในรัชกาลของพญากือนาที่ได้โปรดให้ไปอารธนาพระสุมนเถระที่กรุงสุโขทัยให้มาเผยแพร่ศาสนาในล้านนา จึงสันนิษฐานว่ามหาอำมาตย์ท่านนี้สร้างวัดนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ตนเอง 

 

๙.วัดลอยเคราะห์
          ตั้งอยู่ที่ถนนลอยเคราะห์ ตำบลช้างคลาน วัดลอยเคราะห์เดิมชื่อว่า วัดร้อยข้อ สร้างขึ้นในสมัยกษัตริย์องค์ที่ ๖ แห่งราชวงค์มังราย วัดนี้จึงมีอายุราว ๕๐๐ปี ในสมัยที่ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า วัดแห่งนี้ไม่ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ จึงมีสภาพทรุดดทรมมาก และกลายเป็นวัดร้างกว่า ๒๐ ปี ต่อมาในสมัยพญากาวิละปกครองล้านนา พระองค์ทรงบูรณะซ่อมแซมวัดให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ พระองค์ทรงกวาดต้อนพลเมืองเชียงแสนและทรงโปรดให้ชาวเชียงแสนตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ เวียงชั้นนอกด้านขวาของประตูท่าแพทางทิศตะวันออกของเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นบริเวณวัดลอยเคราะห์ในปัจจุบัน ศิลปะสถาปัตยกรรมแบบพื้นเมืองของชาวล้านนา มีพระพุทธรูปปางถวายเนตรและพระเจ้าทันใจประดิษฐานอยู่

 

๑๐.วัดดับภัย
          ตั้งอยู่ที่ถนนสิงหราช ตำบลศรีภูมิ ตามตำนานกล่าวว่าเมื่อพญาอภัยล้มป่วยรักษาอย่างไรก็ไม่หาย จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานต่อหน้าหลวงพ่อดับภัยอาการป่วยจึงหายไป วัดดับภัยเดิมชือว่า วัดอภัย หรือ วัดตุงกระด้าง และบูรณะปฏิสังขรณ์ จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "วัดดับภัย" เป็นวัดที่มีสถาปัตยกรรมแบบพื้นเมืองล้านนา วัดแห่งนี้มีบ่อน้ำอยู่หน้าวิหาร เชื่อว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ สมัยพระเจ้าอินทวโรรสเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ ๘ เสด็จกลับจากกรุงเทพฯ ต้องแวะมาวัดดับภัยเพื่อนำน้ำในบ่อนี้ไปสรงน้ำพระพุทธมนต์ ก้อยแวะไปวัดเชียงยืนเพื่อสืบดวงชะตา 

 

 

๑๑.วัดชัยพระเกียรติ
          ตั้งอยู่ที่ถนนราชดำเนิน ตำบลศรีภูมิ เดิมชื่อว่า วัดชัยผาเกียรติ วัดและพระประธานในวิหาร พระมหาเทวี จิระประภา ทรงสร้างเพื่อเป็นอนุสาวรีย์ถวายแด่ สมเด็จพระชัยราชาธิราชกษัตริย์ในวงค์สุวรรณภูมิ ในวิหารมีของเก่าของโบราณ ทั้งพระพุทธรูปและเครื่องใช้ในสมัยก่อน

 

๑๒.วัดสวนดอก หรือ วัดบุปผาราม

เมื่อพ.ศ.๑๙๖๒ พระเจ้ากือนาธรรมิกราช กษัตริย์ลำดับที่ ๖ แห่งราชวงศ์มังราย ได้ทรงพระราชทานพระราชอุทยานดอกไม้ ซึ่งตามตำนานกล่าวว่าบริเวณอุทยานดอกไม้นั้นจะเต็มไปด้วยต้นพยอม ซึ่งบางท่านก็เรียกว่าสวนดอกพยอมและพระราชทานนามว่า “วัดบุปผาราม” ซึ่งเป็นภาษาบาลี แปลเป็นภาษาไทยหมายถึง วัดสวนดอก ต่อมาชาวบ้านนิยมเรียกง่าย ๆ ว่า วัดสวนดอก

 

๑๓.วัดเจ็ดยอด



...วัดเจ็ดยอด หรือ วัดเจดีย์เจ็ดยอด เป็นชื่อวัดที่คนทั่วไปในภายหลังกำหนดเรียกขึ้นตามลักษณะเครื่องยอดส่วนบนหลังคาพระวิหารโบราณที่ปรากฏมาแต่เดิมในวัดนี้ ซึ่งก่อสร้างเป็นพระสถูปเจดีย์มีจำนวนเจ็ดยอดด้วยกัน แต่ชื่อของวัดนี้ที่มีมาแต่เดิมเมื่อคราวแรกสร้างวัด
ชื่อว่า วัดมหาโพธาราม หรือ
วัดโพธารามมหาวิหารวัดเจ็ดยอด เป็นวัดวัดโบราณที่พระเจ้าติโลกราช พระราชาธิบดีองค์ที่ ๒๒ แห่งราชวงศ์มังราย
โปรดให้หมื่นด้ามพร้าคด หรือ สีหโคตเสนาบดี เป็นนายช่างทำการก่อสร้าง ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๑๙๙๙


...เมื่อสถาปนาพระอารามสำเร็จแล้ว พระเจ้าติโลกราชโปรดให้นิมนต์พระมหาเถระชื่อ พระอุตตมปัญญา มาสถิตเป็นอธิบดีองค์แรกแห่งหมู่สงฆ์ในอารามนี้ครั้งนั้นพระเจ้าติโลกราชได้ทรงสดับธรรมบรรยายจากสำนักพระภิกษุสีหลเรื่องอานิสงส์ปลูกต้นโพธิ์ จึงโปรดให้แบ่งหน่อมหาโพธิ์ต้นเดิมที่พระภิกษุสีหลนำมาจากศรีลังกาเอามาปลูกขึ้นไว้ในอารามป่าแดงหลวง เชิงดอยสุเทพ นำมาปลุกไว้ในอารามที่สร้างขึ้นใหม่เหตุที่หน่อมหาโพธิ์ปลูกในอารามแห่งนี้ จึงได้รับการขนานนามว่า "วัดมหาโพธาราม" วัดเจ็ดยอดเป็นอารามที่มีความสำคัญยิ่งทางพุทธศาสนาในอาณาจักรล้านนา ด้วยเมื่อพุทธศักราช ๒๐๒๐พระเจ้าติโลกราช โปรดให้จัดการประชุมพระเถรานุเถระทั่วทุกหัวเมืองในอาณาจักรล้านนาแล้วทรงคัดเลือกได้พระธรรมทิณเจ้าอาวาสวัดป่าตาล ผู้เจนจัดในพระบาลีเป็นประธานฝ่ายสงฆ์พระเจ้าติโลกราชทรงรับเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ทำสังคายนาพระไตรปิฏก
ณ วัดมหาโพธารามปีหนึ่งจึงสำเร็จเรียบร้อย การสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งใหญ่เป็นลำดับที่ ๘นับเนื่องได้ทำมาแล้วที่ประเทศอินเดียและศรีลังการวมเจ็ดครั้งและการทำสังคายนาพระไตรปิฏกที่วัดมหาโพธารามก็นับเป็นครั้งแรกในประเทศไทย


...วัดเจ็ดยอด ได้กลายเป็นวัดร้างที่ไม่มีพระภิกษุอาศัยแต่เมื่อใดไม่พบหลักฐานแน่ชัดแต่สันนิษฐานว่า เมื่อปีพุทธศักราช ๒๓๑๙ หัวเมืองต่าง ๆ
ในแคว้นล้านนาประสบกับภัยสงครามทั่วไปหมดครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงประกาศให้ทิ้งเมืองเชียงใหม่เนื่องจากไม่มีกำลังพอเพียงที่จะรักษาเมืองพระภิกษุสามเณรและพลเมืองจึงพากันอพยพไปอยู่ตามหัวเมืองอื่น ๆ หมดต่อมาสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ พระเจ้ากาวิละได้เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ตามพระบรมราชโองการของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเมืองเชียงใหม่ก็ได้กลับตั้งเป็นบ้านเมืองขึ้นอีกครั้งหนึ่ง กระนั้นก็ดีบรรดาวัดวาอารามต่าง ๆที่ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมืองและนอกเมืองก็ยังสภาพเป็นวัดร้างจำนวนมาก วัดเจ็ดยอดก็เป็นหนึ่งในจำนวนวัดร้างด้วย 

 

๑๔.วัดอุโมงค์

หลักศิลาจารึกภายในวัดอุโมงค์จารึกไว้ว่า แรกเริ่มเดิมทีวัดแห่งนี้มีชื่อว่าเวฬุกัฏฐาราม ซึ่งหมายความว่าวัดบนกอไผ่ 11 กอ บันทึกเก่าระบุไว้ว่าหลังจากสถาปนาเมืองเชียงใหม่เมื่อประมาณปี พ.ศ. 1840 แล้ว พญามังรายโปรดให้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้นบนผืนที่ไผ่ 11 กอ เพื่อถวายเป็นที่พำนักของพระมหากัสสปะเถระและคณะสงฆ์จากลังกา ต่อมาได้มีการสร้างอุโมงค์ขึ้นตามรับสั่งของพญากือนา และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา วัดนี้ก็ถูกเรียกว่าวัดอุโมงค์เถรจันทร์หรือวัดอุโมงค์สืบต่อมา

 

 

๑๕.วัดเจดีย์หลวง ถนนพระปกเกล้า วัดนี้ตั้งอยู่ใจกลางเมืองเชียงใหม่พอดี ประดิษฐานเจดีย์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในรัชกาลพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์องค์ที่ ๗ แห่งราชวงศ์มังราย (พ.ศ.๑๙๑๓-๑๙๕๔) ต่อมาพระยาติโลกราชโปรดให้ช่างขยายเจดีย์ให้สูงและกว้างกว่าเดิม แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๐๒๔ และอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานระหว่าง พ.ศ.๒๐๑๑-๒๐๙๑ นานถึง ๘๐ ปี ต่อมาในสมัยพระนางจิระประภา ได้เกิดแผ่นดินไหวเมื่อ พ.ศ. ๒๐๘๘ ทำให้ยอดเจดีย์หักโค่นลง ปัจจุบันเจดีย์มีความสูงคงเหลือ ๔๐.๘ เมตร ฐานกว้างด้านละ ๖๐ เมตร

 

 

  • ขอบคุณข้อมูลจาก www.cmuniontravel.com www.chiangmai-thailand.net/ และ วิกิพีเดีย

     

     

  • แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 01 กรกฏาคม 2012 เวลา 08:08 น.
     

    Facebook Like Box

    ออนไลน์

    เรามี 5 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

    ผู้เยี่ยมชม

    mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
    mod_vvisit_counterวันนี้159
    mod_vvisit_counterเมื่อวาน182
    mod_vvisit_counterอาทิตย์นี้850
    mod_vvisit_counterเดือนนี้3054
    mod_vvisit_counterทั้งหมด6425420