ตั๋วเมือง:อักษรธรรมล้านนา พิมพ์
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน 2012 เวลา 13:21 น.




 


ชาวล้านนาประดิษฐอักษรพื้นเมืองล้านนาไว้ใช้โดยจารึกไว้บนใบลานเป็นเวลาหลายร้อยปีมาแล้ว การศึกษาในสมัยนั้น เป็นการจัดการศึกษาสำหรับผู้ชาย ๒ กลุ่ม คือชนชั้นสูง และเจ้านายฝ่ายเหนือทั้งหลาย เป็นการศึกษาเพื่อให้มีความสามารถในการปกครอง อีกกลุ่มหนึ่งคือสามัญชนจะได้รับการศึกษา เมื่อได้เข้าบวชเรียนในวัด ซึ่งเริ่มเมื่อ อายุได้ ๗ ขวบ จะไปเป็นขะโยม หรือศิษย์วัด เมื่ออายุได้ ๑๒ ขวบ จึงบรรพชาเป็นสามเณรได้ศึกษาทั้งทางโลก และทางธรรม จนอายุได้ ๒๐ ปี จะได้รับการอุปสมบทเป็นตุ๊เจ้า สามเณรเมื่อลาสิกขาแล้วจะเรียกว่า น้อย และภิกษุเมื่อลาสิกขาแล้วจะเรียกว่า หนาน ถือว่าเป็นผู้มีความรู้เป็นที่นับถือของคนทั่วไป สำหรับสตรีจะได้รับถ่ายทอด วิชาชีพในครัวเรือนของตน

            
 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้โปรดเกล้าให้จัดการศึกษาให้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีการใช้ภาษาไทยกลางรวมกัน ดังนั้นในระยะแรกยังผ่อนผันให้ใช้ภาษาล้านนาในการเรียนการสอน และสนับสนุนให้เรียนภาษาไทยกลางพร้อมกับให้เงินอุดหนุน ทำให้ได้รับความนิยมมาก ภาษาไทยล้านนาก็หมดไปอย่างรวดเร็ว 

พระเจ้ากาวิละได้ฟื้นฟูเชียงใหม่ใน ปี พ.ศ. ๒๓๓๘ ได้ย้ายคนจากเมืองต่างเข้ามาอยู่ในเมืองเชียงใหม่ เช่น เชียงแสน ลำปาง แพร่ และน่าน เป็นต้น รวมทั้งผู้คนกลุ่มเดิมที่หลบหนีภัยสงครามได้อพยพกลับมาอีกส่วนหนึ่ง นอกจากนั้นยังมีคนจากเมืองทางเหนือของล้านนา เช่น ไทลื้อ และไทใหญ่ เป็นต้น เมื่อเข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่แล้วก็อนุญาตให้กลุ่มชนเหล่านั้น ปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีของตน คงไว้ทั้งชื่อ ชาติพันธุ์ และชื่อบ้าน ชื่อเมืองของตนด้วย เกิดเป็นเขตชุมชนต่างดังนี้ 

ชาวเชียงแสน เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณประตูท่าแพทางใต้ ภายในกำแพงเมืองชั้นนอก หรือที่เรียกว่ากำแพงดิน 
ชาวน่าน เข้ามาอยู่นอกกำแพงเมืองด้านตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่เรียกว่า แจ่งขะต้ำ 
ชาวแพร่ เข้ามาอยู่นอกเมืองที่บ้านทุ่งต้อม อำเภอหางดง 
ชาวไท เข้ามาอยู่ริมคูเมืองด้านนอก ติดกับประตูท่าแพ 
ชาวพม่าหรือม่าน เข้ามาอยู่ในและนอกกำแพงเมือง ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณแจ่งขะต้ำ 
ชาวไทใหญ่หรือเงี้ยว เข้ามาอยู่นอกกำแพงเมืองด้านทิศเหนือ บริเวณประตูช้างเผือก 
ชาวดง จากลุ่มน้ำสาละวิน เข้ามาอยู่ในกำแพงเมืองด้านทิศใต้ นอกประตูสวนปรุง 
ชาวยอง เป็นชาวไทลื้อ จากเมืองยองในรัฐฉาน เข้ามาอยู่บริเวณอำเภอสันกำแพง 
ชาวเมืองลวง เป็นชาวไทลื้อ จากเมืองลวงในสิบสองปันนา เข้ามาอยู่บริเวณดอยสะเก็ด 
ชาวเมืองหลวย เป็นชาวไทลื้อ จากเมืองหลวยในรัฐฉานเข้ามาอยู่บริเวณบ้านหลวย และบ้านหัวฝาย กิ่งอำเภอแม่ออน 
ชายงัวลาย เป็นชาวไทเขินที่มาจากบ้านงัวลาย ในรัฐฉาน เข้ามาอยู่ในกำแพงดินใกล้ประตูหายยาด้านใต้ของตัวเมืองเชียงใหม่ 
ชาวแม่ปละ มาจากรัฐฉาน มาอยู่บริเวณบ้านแม่ย่อย อำเภอดอยสะเก็ด 
ชาวเมืองวะ มาจากเมืองวะ เข้ามาอยู่ที่บ้านหนองจ๊อม อำเภอสันทราย 
ชาวเมืองวะเวียงแก่น มาจากเมืองวะเวียงแก่น เข้ามาอยู่ที่อำเภอดอยสะเก็ด 
ชาวเมืองขอน มาจากเมืองขอน ปัจจุบันคือเมืองมังซื่อเขตเต้อหง ประเทศจีน เข้ามาอยู่ที่อำเภอสันทราย 
ชาวเมืองวิน ปละเมืองคอง เข้ามาอยู่ที่บ้านแม่ริม อำเภอสันป่าตอง และเข้ามาอยู่ที่บ้านคอง อำเภอเชียงดาว ต่อมาเมื่อพม่าตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษ ก็ได้มีผู้คนอพยพเข้ามาในเมืองเชียงใหม่อีกหลายกลุ่ม คือ 
ชาวจีนฮ่อ เป็นกลุ่มที่อพยพจากจีนมาตั้งชุมชนในเขตเมืองเชียงใหม่หลายแห่งคือ ชุมชนบ้านฮ่อ อำเภอเมืองบ้านยาง บ้านหัวฝาย ดอยอ่างขาง อำเภอฝาง และบ้านท่าตอน อำเภอแม่อาย 
ชาวแขก เป็นแขกปาทานจากปากีสถาน และอินเดีย รวมทั้งมาเลเซีย ชาวแขกอิสลามมาตั้งอยู่บริเวณทุ่งช้างคลาน เลียบฝั่งแม่น้ำปิงทางด้านทิศตะวันตก ถือว่าเป็นชุมชนแขกที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ที่ประตูช้างเผือก ด้านนอกกำแพงเมืองชั้นใน เป็นเหตุการณ์ที่เกิดหลังสงครามมหาเอเซียบูรพา ส่วนที่อยู่นอกตัวเมือง จะอยู่ที่ตำบลหนองแบน อำเภอสารภี 
ชาวเขา ในเขตพื้นที่ภูเขามีชาวเขาอาศัยอยู่ที่ยังคงดำรงชีพแบบดั้งเดิม มีอยู่หลายเผ่าพันธุ์ในระยะ ๑๐๐ - ๒๐๐ ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่มาจากตอนใต้ของประเทศจีน พวกม้ง และเมี่ยนส่วนใหญ่มาจากทางลาว พวกละหู่ ลีซอ อาข่า เข้ามาทางพม่า รวมทั้งพวกปะหล่องที่เข้ามาล่าสุด เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ มาอยู่ที่ดอยอ่างขาง 

วัฒนธรรมล้านนาได้หล่อหลอมให้กลุ่มชนต่างที่เข้ามาอยู่ในพื้นที่กลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จนกลายเป็นชาวเชียงใหม่ ประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา ภาษาที่ใช้กันมากคือ ภาษาไทยภาคเหนือ และภาษาไทยกลาง

 

ที่มา http://muslimchiangmai.net/