บูชาพระธาตุประจำปีเกิด พิมพ์
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม 2012 เวลา 18:41 น.

  

 

พระธาตุประจำปีเกิด       

 

คนเกิดปีใจ้
( ปีชวด หรือปีหนู ) ธาตุน้ำ
พระธาตุประจำปีเกิด คือ
พระธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง
จ.เชียงใหม่
 
พระบรมธาตุเจดีย์นี้ตั้งอยู่บนยอดจอมทอง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุส่วนพระเศียรเบื้องขวา
 มีความพิเศษแตกต่างจากที่อื่นคือ เป็นพระบรมธาตุ ที่มิได้ฝังใต้ดิน แต่ประดิษฐานอยู่ในกู่
ภายในวิหาร สามารถอัญเชิญมาสรงน้ำได้ตามตำนานเล่าว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมายังดอยนี้
 และทรงพยากรณ์ว่า ที่นี่จะเป็นที่ประดิษฐานพระทักขิณโมลีธาตุ ของพระองค์ในภายหน้า
ต่อมาราวปี พ.ศ.๑๙๙๕ นางเม็งและนายสอยได้พบพระบรมธาตุ จึงได้ก่อพระเจดีย์และ
สร้างเสนาสนะ ที่ดอยต้นทอง คนทั้งหลายจึงเรียกชื่อวัดนี้ว่า วัดจอมทอง ในสมัยพระแก้วเมือง
 (พ.ศ.๒๐๓๘ - พ.ศ.๒๐๖๘) กษัตริย์องค์ที่ ๑๔ แห่งราชวงศ์มังราย ได้สร้าง
วิหารจัตุรมุข ภายในมีมณฑปปราสาท เพื่อประดิษฐานพระบรมธาตุ เจ้าเมืองเชียงใหม่หลายพระองค์
ได้อัญเชิญพระบรมธาตุศรีจอมทอง ไปยังเมืองเชียงใหม่ เพื่อทำการสักการะโดยมีวัดต้นเกว๋นที่ อ.หางดง
เป็นวัดที่หยุดพักขบวนแห่พระบรมธาตุเข้าเมืองในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ และวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗
มีพิธีแห่พระบรมธาตุ ไปบูชาข้าวที่อุโบสถ และให้พุทธศาสนิกชนได้สรงน้ำโดยจะมีการกล่าวบทอัญเชิญ
 และใช้ช้อนทองคำเชิญ พระธาตุจากผอบมาประดิษฐาน ในโกศแก้วที่ตั้งบนพานเงินตามธรรมเนียมเดิม
ควรนำน้ำจากแม่น้ำกลาง เจือน้ำหอมหรือแก่นจันทร์มาใช้สรง หรือจะเป็นน้ำสะอาดเจือของหอมก็ได้
 
 


คนเกิดปีเป้า
( ปีฉลู หรือปีวัว ) ธาตุดิน
พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง

 
วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวัดเก่าแก่ของเมืองลำปาง เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า และพระสาวกเสด็จถึง
หมู่บ้านสัมภาการีวัน ลัวะชื่ออ้ายคอน ได้นำน้ำผึ้งใส่กระบอกไม้พางและมะพร้าวมาถวาย พระองค์ได้
ทรงพยากรณ์ว่า ที่นี่จะมีนครชื่อ ลัมพาง และได้มอบพระเกศาธาต ุให้ลัวะอ้ายคอน นำไปประดิษฐาน
ภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพาน พระอรหันต์ได้นำพระธาตุหน้าผาก และพระธาตุลำคอ มาประดิษฐานที่นี่
 พระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่กลางเวียงโบราณ ซึ่งเชื่อว่าเป็นเวียงทางศาสนา โดยเฉพาะ ภายในวัดมีสิ่งน่าชม
มากมาย ได้แก่ วิหารพระพุทธ เป็นวิหารไม้แบบล้านนา ที่ตกแต่งด้วยลายคำ คือลายทองบนพื้นแดง และภายใน
สามารถเห็นภาพเงาพระธาตุ ที่ลอดผ่านรูผนังปรากฏบนผืนผ้า วิหารน้ำแต้ม เป็นวิหารโถง มีภาพจิตรกรรมเก่าแก่
ของล้านนา วิหารหลวง เป็นที่ประดิษฐานซุ้มพระเจ้าล้านทอง พระพุทธรูปองค์สำคัญของวัด และมีภาพจิตรกรรม
เรื่องพุทธประวัติ และชาดก ที่เขียนในราวสมัยรัชกาลที่ ๕ หอพระพุทธบาท เป็นอีกแห่งที่ปรากฏภาพเงาพระธาตุ
แต่ห้ามมิให้ผู้หญิงขึ้น และที่หอพระแก้ว ประดิษฐานพระแก้วจากวัดพระแก้วดอนเต้าสุชาดารามพระพุทธรูปคู่เมืองลำปาง
   


3. คนเกิดปียี ( ปีขาล หรือปีเสือ ) ธาตุไม้
พระธาตุประจำปีเกิด คือ
พระธาตุช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่
บรรจุ พระธาตุข้อศอกข้างซ้าย
 
พระธาตุช่อแฮตั้งอยู่บริเวณเนินเขาเตี้ยๆ จากรูปแบบสถาปัตยกรรมในวัด บ่งบอกว่ามีอายุราว
พ.ศ.๑๙๐๐ แต่ตำนานพระธาตุได้เล่าประวัติอันเก่าแก่ว่า พระพุทธเจ้า ได้เสด็จมาถึง
ดอยโกสิยธชัคคะบรรพต และพบกับเจ้าลาวนามลัวะอ้ายค้อม เมื่อขุนลัวะทราบว่าเป็นพระพุทธเจ้า
 จึงได้นำภัตตาหารมาถวายพระพุทธเจ้า ทรงพยากรณ์ว่าที่นี่ต่อไป จะมีเมืองชื่อเมืองแพร่ในครั้งนั้น
พระอรหันต์ และพระยาอโศก ที่เสด็จมาด้วยได้ทูลขอพระเกศาธาตุ มอบให้ขุนลัวะไปบรรจุโกศแก้ว
แล้วนำไปไว้ในถ้ำด้านตะวันออก ของดอยที่ประทับและพระพุทธเจ้าทรงมีรับสั่งว่า หลังจากที่
พระองค์ปรินิพานแล้วให้นำพระธาตุข้อศอกข้างซ้าย มาประดิษฐานที่นี่ นามของพระบรมธาตุเจดีย์นี้
 มีเรื่องเล่าว่า มาจากที่ขุนลัวะ นำผ้าแพรมารองรับพระเกศาธาตุ จึงมีชื่อว่า “ช่อแพร”และเพี้ยน
เป็น “ช่อแฮ” ในภายหลัง แต่บ้างก็ว่ามีชาวบ้านนำผ้าแพรอย่างดีมาผูกบูชาองค์พระธาตุ
งานมนัสการพระธาตุจัดขึ้นระหว่างวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๔ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นงานประจำปี
ที่สำคัญของชาวเมืองแพร่ในงานมีการแห่ตุงหลวง ถวายแด่องค์พระธาตุและการแสดงมหรสพ 
 

 

คนเกิดปีเหม้า
( ปีเถาะหรือปีกระต่าย )
ธาตุน้ำ
พระธาตุประจำปีเกิด คือ
พระธาตุแช่แห้ง อ.เมือง จ.น่าน

 พระธาตุแช่แห้ง ตั้งอยู่บนยอดดอยขนาดเล็ก นอกเมืองน่านมีเรื่องราวเล่าว่า เมื่อครั้งพุทธกาล
พระพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์มาถึงภูเพียงแช่แห้ง และพบกับพระอมละราช และพระมเหสี
 ที่มาสรงน้ำที่เดียวกับที่พระองค์สรงน้ำอยู่ พระอมละราชได้ถวายผ้าขาวให้พระพุทธเจ้าใช้สรงน้ำ
แต่ผ้านั้นกลายเป็นทองคำ พระอานนท์จึงของพระเกศาธาตุบรรจุในกระบอกไม้ซาง มอบให้พระอินทร์
นำไปเก็บในอุโมงค์พร้อมผ้าทองโดยพระอินทร์ได้ก่อพระเจดีย์สูง ๗ ศอกไว้ด้านบน ต่อมาราว
 พ.ศ.๑๘๙๖สมัยพระยากานเมือง ได้ส่งช่างไปร่วมสร้างวัดหลวง ที่สุโขทัยพระยาลือไทจึง
มอบพระบรมธาตุ ๗ พระองค์ และพระพิมพ์คำพระพิมพ์เงินอย่างละ ๒๐ องค์ ให้พระยากานเมือง
ซึ่งได้นำไปบรรจุไว้ที่ภูเพียง และพบพระเจดีย์ ที่บรรจุพระเกศาธาตุและพระธาตุข้อมือข้างซ้ายของ
พระพุทธเจ้า พระองค์จึงให้ทำอุโมงค์ประดิษฐานพระบรมธาตุใหม่ และก่อพระเจดีย์เป็น
พระธาตุแช่แห้งคู่เมืองน่านมาจนทุกวันนี้ ในวันขึ้น ๑๔-๑๕ ค่ำ และแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔
ทางวันมีการจัดงานมนัสการพระธาตุแช่แห้ง ในงานมีมหรสพ การแห่ตุงถวายพระบรมธาตุ
และการจุดบอกไฟถวายเป็นพุทธบูชา ตามธรรมเนียมดั้งเดิม
 
 


คนเกิดปีสี
( ปีมะโรงหรือปีงูใหญ่
เมืองเหนือเรียกพญานาค ) ธาตุดิน
พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
 
พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ในตำนานสิหิงคนิทาน และพงศาวดารโยนก
เล่าประวัติว่า หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพานไป ๗๐๐ ปี พระเจ้าสีหล และกษัตริย์องค์อื่น
 ใคร่ทอดพระเนตรรูปของพระพุทธเจ้า มีแต่พระยานาคที่เคยเห็นพระองค์ จึงแปลงรูปเนรมิต
ตนเป็นพระพุทธเจ้า พระเจ้าสีหลได้กระทำการบูชา ๗ วัน ๗ คืน และให้ช่างถ่ายแบบพระพุทธรูปไว้
ต่อมาพระร่วงแห่งสุโขทัย ได้ยินกิตติศัพท์ของพระพุทธสิหิงค์ ใครจะได้บูชา จึงบอกกับพระเจ้าสิริธรรม
แห่งเมืองนครศรีธรรมราช พระเจ้าสิริธรรมได้ส่งทูตไปขอจากลังกา อัญเชิญไปให้พระเจ้าสุโขทัย
 ต่อมาพระพุทธสิหิงค์ถูกอัญเชิญ ไปยังเมืองสำคัญจนกระทั่งราวปี พ.ศ.๑๙๘๓ เจ้ามหาพรหม
ได้อัญเชิญ พระพุทธสิหิงค์จากกำแพงเพชร มาถวายพญาแสนเมืองมา แห่งเชียงใหม่
เดิมพญาแสนเมือง จะให้อัญเชิญไปประดิษฐาน ที่วัดบุปผาราม แต่เมื่อรถที่อัญเชิญมาถึงหน้า
วัดลีเชียงพระ (ชื่อเดิมวัดพระสิงห์) รถเกิดติดขัดไม่สามารถชักลากไปได้ จึงให้ประดิษฐาน
พระพุทธสิหิงค์ไว้ที่วัดนี้ ในปี พ.ศ.๒๐๖๓ พระเมืองแก้วได้สร้าง วิหารลายคำ เพื่อประดิษฐาน
พระพุทธสิหิงค์ ภายในวิหารมีภาพวิจิตรกรรมสมัยรัชกาลที่ ๕ เรื่องสังข์ทอง ฝีมือช่างล้านนา
 และเรื่องสุวรรณชาดก ฝีมือช่างภาคกลาง ในช่วงสงกรานต์ของทุกปี มีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์
ประดิษฐานบนบุษบก แห่แหนรอบเมืองให้ประชาชนได้สรงน้ำสักการะ
 


คนเกิดปีใส้
( ปีมะเส็งหรือปีงูเล็ก ) ธาตุน้ำ
พระธาตุประจำปีเกิด คือ
พระเจดีย์ศรีมหาโพธิ ที่พุทธคยา
หรือไหว้ต้นโพธิ์ วัดโพธารามมหาวิหาร 

    พระศรีมหาโพธิ เป็นต้นไม้สำคัญในพุทธศาสนา เนื่องจากเป็นที่ประทับและตรัสรู้สัมโพธิญาณ
ของพระพุทธเจ้า ณ พุทธคยา สำหรับชาวล้านนา ยังมีความเชื่อว่าต้นโพธิ์เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ช่วยขจัด
ความทุกข์ได้ จึงมีประเพณีถวายไม้ค้ำโพธิ์ และเครื่องประกอบพิธีกรรมใต้ต้นโพธิ์ สำหรับผู้ที่เกิด
ปีมะเส็ง ที่มีพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำปีเกิด สามารถบูชาต้นโพธิ์ตามวัด
แทนได้ โดยที่วัดโพธารามมหาวิหาร เชียงใหม่นี้ เป็นวัดสำคัญที่มีการสังคยานาพระไตรปิฎกครั้งที่ ๘
ของโลก และพระเจ้าติโลกราชผู้สร้างวัด ทรงให้นำต้นโพธิ์จากลังกามาปลูก พร้อมทั้งจำลองสัตตมหาสถาน
คือสถานที่ ๗ แห่งที่พระพุทธเจ้า ได้เสวยวิมุตติสุขก่อนเผยแผ่ศาสนา


สำหรับผู้ที่เกิดปีมะเมีย สามารถเดินทางไปมนัสการพระบรมธาตุเมืองตาก แทนพระธาตุชเวดากอง
ที่ประเทศพม่าได้ เนื่องจากเป็นเจดีย์ที่พระครูพิทักษ์ (ทองอยู่) ได้จำลองแบบมา จากพระธาตุชเวดากอง
 โดยครอบพระธาตุเจดีย์องค์เดิมไว้ ในตำนานพระเจ้าเลียบโลก ได้กล่าวถึงความเป็นมาของพระบรมธาตุเจดีย์
ที่วัดนี้ว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาเมืองตาก จนมาถึงดอยมหิยังคะที่ร่มรื่น และทรงมอบพระเกศาธาตุ
ให้พระอรหันต์ พร้อมทั้งรับสั่งว่า หลังจากที่เสด็จปรินิพาน แล้วให้นำพระเกศาธาตุมาบรรจุไว้ที่นี่
 พระบรมธาตุเจดีย์เมืองตาก จึงเป็นที่บรรจุพระเกศาธาตุ ในวันขึ้น ๑๔ และ ๑๕ ค่ำ เดือน ๗
(ปลายเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน) ของทุกปี จะมีงานพิธีสมโภชและสักการะพระบรมธาตุ
เรียกว่า งานประเพณีขึ้นพระธาตุเดือนเก้า


คนเกิดปีสะง้า ( ปีมะเมียหรือปีม้า ) ธาตุไฟ
พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุย่างกุ้ง (พระธาตุตะโก้ง) หรือพระธาตุเจดีย์ชเวดากอง
ประเทศพม่า หรือวัดพระบรมธาตุ อ.บ้านตาก จ.ตาก แทน
 
 
พระธาตุดอยสุเทพ ตั้งอยู่บนยอดดอยสุเทพ การประดิษฐานพระบรมธาตุ เจดีย์บนเขาศักดิ์สิทธิ์
ของเมืองมีขึ้นราวปี พ.ศ.๑๙๑๖ สมัยพญากือนา (พ.ศ.๑๘๙๘-๑๙๒๘)ในยุคทองของล้านนา
 พระองค์ได้อาราธนาพระสุมนเถระ จากสุโขทัย มาเชียงใหม่ พระสุมนเถระ จึงอัญเชิญพระบรมธาตุ
ที่พบเมืองปางจามาด้วย พระบรมธาตุนี้ได้ทำปาฏิหาริย์แยกเป็นสององค์ องค์หนึ่งประดิษฐานที่วัดบุปผาราม
 อีกองค์หนึ่งพญากือนา ได้อาราธนาสถิตเหนือช้างมงคล เพื่อเสี่ยงทายที่ประดิษฐาน ช้างมงคลเดินขึ้นมาถึง
ยอดดอยสุเทพ แล้วร้องสามครั้งทำทักษิณา วรรตสามรอบ และส้ม (ตาย) ลง ภายหลังอัญเชิญ
พระบรมธาตุลงมา พญากือนาให้ขุดหลุมประดิษฐานพระบรมธาตุ และก่อพระเจดีย์สูง ๕ วา ต่อมา
ปี พ.ศ.๒๐๘๑ สมัยพระเจ้าเกษเกล้า ได้ก่อเป็นพระเจดีย์สูงใหญ่สีทอง เช่นทุกวันนี้ มีความเชื่อว่า
หากบูชาพระธาตุ ในทิศทั้งสี่แล้วจะทำให้มีสติปัญญาดี สมัยก่อนในวันวิสาขบูชามีประเพณีการขึ้นพระธาตุ
โดยชาวบ้าน จะเดินลัดเลาะป่าขึ้นสู่องค์พระธาตุ


คนเกิดปีเม็ด ( ปีมะแมหรือปีแพะ ) ธาตุดิน
พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุดอยสุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

 
 
พระธาตุพนม พระบรมธาตุเจดีย์องค์สำคัญ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนสองฝั่งโขง บรรจุ
พระอุรังคธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระมหากัสสปะเถระ ได้นำมาประดิษฐาน
ไว้บนภูกำพร้า ตามตำนานว่าก่อสร้างโดยกษัตริย์ห้าองค์คือ พระยาจุฬณีพรหมทัต พระยานันทเสน
 พระยาอินทปัด พระยาคำแดง และพระยาสุวรรณภิงคาร พร้อมไพร่พล ในส่วนลวดลายที่เรือนธาตุนั้น
 ตำนานเล่าว่า ตกแต่งโดยพระอินทร์และเหล่าเทวดา มีแผ่นอิฐที่จำหลักลวดลายเป็นภาพกษัตริย์โบราณ
 ฝีมือช่างพื้นบ้าน ศิลปะทวารวดี หรือพุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕ นับว่าเป็นพระบรมธาตุเจดีย์ที่เก่าแก่
ของภาคอีสาน พระธาตุพนมได้รับการบูรณะ และอุปถัมภ์โดยกษัตริย์แห่งล้านช้าง ในสมัย
 พ.ศ.๒๒๒๓-๒๒๒๕ พระครูโพนเสม็ด (ญาคูขี้หอม) นำราษฎรจากเวียงจันทน์ ๓,๐๐๐ คน
มาปฏิสังขรณ์พระธาตุให้สูงขึ้น และเป็นรูปแบบที่นิยมในอีสาน ต่อมารัฐบาลได้บูรณะให้สูงขึ้นอีกเมื่อ
พ.ศ.๒๔๘๓ แต่ในวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๑๘ เกิดฝนตกหนัก และพระธาตุพนมได้ทรุดพังทลายลง
 แต่ก็ได้รับการบูรณะโดยภาครัฐ และเอกชนเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒ ในเขตวัดมีบ่อน้ำพระอินทร์
 ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ด ของบ่อน้ำที่ใช้น้ำมาเสกน้ำพระพุทธมนต์ ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตั้งแต่สมัย
รัชกาลที่ ๖ จนถึงรัชกาลปัจจุบันงานมนัสการพระธาตุพนม จัดขึ้นทุกปีในวันขึ้น ๑๐ ค่ำ ถึงวันแรก ๑ ค่ำ เดือน ๓


คนเกิดปีสัน ( ปีวอกหรือปีลิง ) ธาตุดิน
พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุพนม อ.ธาตุพนม จ.นครพนม

 
 
พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นพระธาตุคู่เมืองลำพูนมาแต่โบราณ มีตำนานเล่าว่า ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้า
 เสด็จมายังชัยภูมิของชาวเม็ง ทรงหยุดประทับนั่ง ณ สถานที่หนึ่ง พระยาชมพูนาคราช และพระยากาเผือก
ได้มาอุปัฏฐาก และมีชาวลัวะผู้หนึ่ง นำลูสมอมาถวายพระองค์ ทรงมีพุทธพยากรณ์ว่าที่นี่ในอนาคตจะเป็น
 “ นครหริภุญชัยบุรี ” เป็นที่ประดิษฐาน “ พระสุวรรณเจดีย์ ” ซึ่งบรรจุกระหม่อม ธาตุกระดูก
 ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง ในครั้งนั้นพระยาทั้งสองได้ทูล ขอพระเกศาธาตุนำไป
บรรจุในกระบอกไม้รวก และโกศแก้วใหญ่ ไว้ในถ้ำใต้ที่ประทับ ต่อมาในสมัยพระยาอาทิตยราช ผู้ครอง
เมืองหริภุญชัย (ราว พ.ศ.๑๔๒๐) ได้เสด็จลงห้องพระบรรทม แต่มีการขัดขวาง มิให้เข้าภายหลัง
 ทรงทราบว่าที่แห่งนั้นเป็นที่บรรจุพระบรมธาตุ จึงทรงให้รื้อวัง และขุดพระบรมธาตุมาบรรจุโกศทองคำ
และสร้างมณฑปปราสาท เพื่อเป็นที่ประดิษฐาน พระธาตุหริภุญชัย ได้รับการบูรณะเรื่อยมา โดยพระเจดีย์
องค์ปัจจุบันบูรณะ ในสมัยพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ เมื่อ ๕๐๐ กว่าปีมาแล้ว ภายในวัดยังมีพระสุวรรณเจดีย์
 เจดีย์ยุคแรกในศิลปะหริภุญชัย เจดีย์เชียงยัน เจดีย์เก่าแก่ทรงปราสาทห้ายอด และหอระฆัง
ที่แขวนกังสดาลใหญ่เป็นต้น ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำเดือน ๖ ของทุกปีจะมีงานประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย
น้ำที่นำมาสรงองค์พระธาตุนี้ จะต้องนำมาจากบ่อน้ำทิพย์ บนยอดดอยขะม้อที่อยู่นอกเมือง
ตามธรรมเนียมปฏิบัติแต่โบราณ


คนเกิดปีเร้า ( ปีระกาหรือปีไก่ ) ธาตุเหล็ก
พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุหริภุญชัย อ.เมือง จ.ลำพูน
 
 
สำหรับผู้ที่เกิดปีจอ พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระเกศแก้วจุฬามณีเจดีย์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
ตามพุทธประวัติกล่าวไว้ว่า ประดิษฐานพระทันตธาตุ ที่พระอินทร์นำมาจากพระบรมธาตุที่
โทณพราหมณ์ได้แอบซ่อนไว้ เมื่อครั้งมีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ของพระพุทธเจ้า ให้แก่
เจ้าเมืองต่างๆ ด้วยเหตุที่พระธาตุเจดีย์องค์นี้ มนุษย์ไม่สามารถเดินทางไปถึงได้ ดังนั้น
นอกจากนมัสการด้วยการบูชารูปแล้ว ยังสามารถบูชาพระเจดีย์ที่วัดเกตการาม เชียงใหม่
ซึ่งมีชื่อพ้องกับพระเกศแก้วจุฬามณีเจดีย์ วัดนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ในเขตย่านการค้าของ
ชาวต่างชาติ ตามประวัติว่า สร้างโดยพญาสามฝั่งแกน เมื่อ พ.ศ.๑๙๗๑ แต่พระเจดีย์ได้
พังทลายลงในปี พ.ศ.๒๑๒๑ พระสุโธรับสั่งให้สร้างขึ้งใหม่ เป็นเจดีย์ทรงลังกาแบบล้านนา
นอกจากนี้ ภายในวัดยังมีพระวิหารใหญ่ ที่สร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ และพิพิธภัณฑ์เก็บของ
ใช้พื้นบ้านให้ชม (เปิด ๐๘.๐๐-๑๖.๐๐ น.)


คนเกิดปีเส็ด ( ปีจอหรือปีหมา ) ธาตุดิน
พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สามารถบูชา รูป
หรือไปไหว้พระเจดีย์ที่วัดเกตการาม อ.เมือง จ.เชียงใหม่ แทน
 
พระบรมธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บนดอยสูง ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขา ตามตำนานเล่าว่าสร้างขึ้น
ในสมัยพระเจ้าอชุตราช ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธุ์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
พระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ดังที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้
ก่อนที่จะสร้างพระอชุตราชให้ทำทุง (ตุง) มีความยาว ๑,๐๐๐ วาปักบนยอดเขา
หากทุงปลิวไปถึงที่ใด ก็กำหนดให้เป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์ได้พระราชทานทองคำ
 ให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกมิลักขุ ๕๐๐ ครอบครัวดูแลรักษาพระธาตุ ต่อมาใน
สมัยพญามังราย พระมหาวชิรโพธิเถระ ได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย ๕๐ องค์
พญามังรายจึงให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม บางตำนานว่าที่มาชื่อดอยตุง
 เนื่องมาจาก พระมหากัสสปะได้อธิษฐานตุงยาว ๗,๐๐๐ วา ไว้ที่ยอดดอยแห่งนี้
 พระบรมธาตุดอยตุง ได้รับการบูรณะหลายครั้ง โดยครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๓
ได้บูรณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาท องค์ปัจจุบัน พระบรมธาตุดอยตุง เป็นที่เคารพสักการะ
ของชาวล้านนา ไทใหญ่ หลวงพระบาง และเวียงจันทน์ ทุกปีจะมีงานนมัสการพระบรมธาตุ
ในวันพ็ญเดือน ๓

คนเกิดปีใค้ ( ปีกุนหรือปีหมู บางตำราเป็นช้าง ) ธาตุน้ำ
พระธาตุประจำปีเกิด คือ พระธาตุดอยตุง อ.แม่สาย จ.เชียงราย