“อารักษ์ เชนเมือง เจ้าทั้งหลาย ในการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับบ้านเมืองล้านนา”
ในตำนานเชียงใหม่ปางเดิม ระบุการประกอบพิธีกรรมของบ้านเมืองไว้อย่างชัดเจนว่า---
(๖) “คันบุคคลผู้ใดจักกระทำมังคลกรรมด้วยประการต่าง ๆ จักสร้างแปงอันใดก็ดี จักไปทางใดก็ดี (ฯ/1) (ฯ/2) หื้อเจ้าและเสนาอามาตย์ทังหลาย หื้อได้พากันปูชาหื้อมีบุปผา เข้าตอก ดอกไม้ ลำเทียน มาตกแต่งพลีกรรมปูชาแกมเลี้ยง ยัง(ฯ/3) และเทวดาอารักษ์ เชนเมืองเจ้าทังหลาย หมายมี ‘เจ้าหลวงคำแดง’ เป็นเค้าเป็นใหญ่กว่าอารักษ์เจ้าทังหลาย และ(ฯ/4)”
*ท่านที่ไม่สนใจรายละเอียดก็ไม่ต้องอ่านเนื้อความต่อไปนี้เลยก็ได้นะครับ*
**ส่วนท่านที่สนใจศึกษานั้น ข้อความในหัวข้อย่อยตามวงเล็บเช่น (ฯ/1) …เป็นต้น ขอขยายความเป็นบันทึกเกร็ดความรู้ไว้ดังนี้---
(ฯ/1) ความว่า –
“หื้อได้ขึ้นพระยาอินทาธิราช
ท้าวจตุโลกทัง ๔
และนางแม่ธรณี เสียก่อน
แล้วจิ่งจักกระทำมังคละสร้างแปงไปเทอะ หากจักวุฒิสวัสดีแท้แล”
(ฯ/2) ความว่า –
“ศรีสวัสดี
ที่นี้จักกฎ(หมาย)ชื่อเทพดาอารักษ์เชนเมือง อันอยู่เฝ้ารักษายังวรพุทธศาสนา สันฐานนครเมืองพิงค์เชียงใหม่ที่นี้ทังมวล หื้อสัปปุริสะเจ้าทังหลายได้รู้ก่อนแล
คันข้าเสิก/ข้าศึกตกเมืองนั้น หื้อเจ้าเมืองและเสนาอามตย์ ได้มีธรรมสิเนหาปียฉันทะพร้อมเพียงกัน หื้อทัดแม่นกับด้วยกันแท้เทอะ
เปรียบเทียมยังมีเชือกแก้วบัวรกตเก้าเกลียว หื้อบิดล้าวมาเป็นเกลียวเดียวขันป้อม
แม่นมันหน้อยปุนฤา ก็อย่าขาดเทอะ
จักมัดไกรศรราชสีห์ก็ข่ามหมั้นเที่ยงแท้ดีหลี เป็นเก้าเกลียวขันดีเที่ยงแท้
อย่ามาเยียะหื้อเกลียวลาบิดออก ยังค้างอยู่แต่สองสามเกลียว จักมัดอันใดก็อย่าเทอะ
บ่ว่าจักมัดวัวควายแลเด จักมัดกุมภัณฑ์แลตัวก็บ่อาจจักข่ามได้ ก็เที่ยงว่าจักปุด/ขาดสบั้นวัน ๑ แลนา”
แปลสั้น ๆ ได้ว่า--- เมื่อมีข้าศึกมาประชิดเมือง ก็ให้คนในเมืองทังหลายรู้รักรู้สามัคคีรวมกำลังกันไว้ จะได้อยู่รอดปลอดภัย นั้นแหละครับ
“หื้อเจ้าและเสนาอามาตย์ทังหลาย หื้อได้พากันปูชา (อ่านว่า ปูจา = บูชา) หื้อมีบุปผา เข้าตอก ดอกไม้ ลำเทียน มาตกแต่งพลีกรรมปูชาแกมเลี้ยง ยัง----
---มาตกแต่งพลีกรรมปูชาแกมเลี้ยง ยัง----
(ฯ/3) = (เทวดาอารักษ์เชนเมืองของเมืองเชียงใหม่ มีรายชื่อดังนี้ครับ;)
· พระยาอินทาเจ้าฟ้า,
· ท้าวทั้งสี่,
· นางธรณี,
· พระสุเทวรสี,
· เทวบุตรเทวดาเจ้าทังหลาย,
· เสาอินทขิล,
· กุมภัณฑ์ทัง ๖ ตน,
· เจ้าพระยาช้างเผือกสองตัวหัวเวียง,
· พระยาช้างทั้ง ๘ ตัว ในมหาเจติยหลวง (พระเจดีย์หลวง)กลางเวียงเชียงใหม่,
และตำนานย้ำว่า ---
“เทวดาอารักษ์ เชนเมืองเจ้าทังหลาย หมายมี ‘เจ้าหลวงคำแดง’ เป็นเค้าเป็นใหญ่กว่าอารักษ์เจ้าทังหลาย”
(เหล่าอารักษ์เชนเมืองตนถัดไปโดยลำดับ ได้แก่)---
และ(ฯ/4) =
"
· อารักษ์เมืองแคน,
· เจ้าหลวงมังราย,
· มังคราม,
· แสนภู,
· คำฟู,
· ผายู,
· กือนา,
· แสนเมือง,
· สามประยาฝั่งแกน,
· ท้าวโลก(ลก=ติโลกราช),
· ท้าวยอดเชียงราย,
· ท้าวอ้าย,
· ท้าวชาย,
· แก้วตาหลวง,
· พระแม่กุ,
· พระเมืองแก้ว,
· พระเมืองเกล้า,
· พระยอดติโลกราช,
· ชุ่งชนะ,
· ร่มขาว,
· รีมขาว,
· สรีสองเมือง,
· เวียงแก่น,
· ผาบ่อง,
· ดงดำ,
· องค์คำ,
· จักรวาล,
· ขุนหลวงวิลังคะ,
· ปู่แสะ,
· ย่าแสะ,
· พระกุมม์,
· พระกัณณ์,
· พิษณุ,
· พระเจ้าตนพ่อเจ้าฟ้าชายหลวงแก้ว,
· พระเจ้าชีวิตกาวิละองค์เถ้า ตนปราบเหง้าปฐวีล้านนาไทย,
· เจ้าช้างเผือก,
· เจ้ามหาเสฏฐี,
· หอปั๊บ,
· หอหาง,
· หอยา,
· ปู่ย่า,
· เทวบุตรตนหลวง,
· อารักษ์แม่ระมิงค์,
อารักษ์เชนเมือง มีเท่านี้แล”
ส่วนว่าใผจะเป็นใผ มีที่อยู่ที่มาอย่างใดในเนื้อนิทานตำนานเมืองใหญ่ในล้านนา ก็ต้องกลับไปเล่าต่อจากเนื้อความอ้างอิงใน “ตำนานเมืองเชียงใหม่” ที่เริ่มต้นนับศักราชกันที่จุลศักราช ( จ.ศ. ๑ ตรงกับ พ.ศ. ๑๑๘๒) อันเป็นปี(ตามตำนานว่า) ปู่เจ้าลาวจก หรือ ลวจักราชจุติลงมาจากเมืองฟ้า พาบริวารไต่บันไดเงินลงมา สร้าง “ราชวงศ์ลาว” ปกครองอาณาจักร “เมืองล้านนาไทย” เริ่มแต่ยุคสมัย “เมืองเชียงลาว” หรือ “เมืองยางเงิน” หรือว่า “เมืองเงินยาง” สืบต่อกันมา [อ่านบล็อกย่อย ตำนานเมืองเหนือ ชุด ตำนานเมืองใหญ่ในล้านนา ฉบับบ้านเมือง ตอนที่ ---- (6), (7), (8), (9), ] เรื่องราวสืบหน่อต่อลำไม้ไผ่(วังสะ, วงศา)กันมาจนถึงสมัยพญามังราย สืบย้อนลงมาอีกถึงยุคสมัยเชื้อเจ้าเจ็ดตนปกครองเมืองเชียงใหม่ และบางส่วนเป็นบุคคลตัวละครในนิทานจามเทวีวงศ์ (เมืองลำพูน)
* อ้างอิง: ตำนานเชียงใหม่ปางเดิม สถาบันวิจัยสังคม ม.ช. (ปริวรรต) พิมพ์ครั้งที่ ๒ พ.ศ. 2537 *
|