
ประวัติกู่เจ้านายฝ่ายเหนือวัดสวนดอก |
![]() |
![]() |
![]() |
เขียนโดย ภาษาสยาม |
วันศุกร์ที่ 18 เมษายน 2014 เวลา 10:30 น. |
พระเมรุพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่๗บริเวณข่วงเมรุ (ปัจจุบันคือกาดหลวง)
และเจ้านายฝ่ายเหนือ เดิมเคยตั้งอยู่บริเวณ ข่วงเมรุ ซึ่งเป็นสนามโล่งสำหรับเผาพระศพของเจ้า
ผู้ครองนครเชียงใหม่ ดุจเดียวกับทุ่งพระเมรุหรือสนามหลวงในปัจจุบัน และเมื่อเผาแล้วก็จะสร้างกู่
หรือที่เก็บกระดูกขึ้นในบริเวณนั้น ซึ่งเจ้าองค์สุดท้ายที่มีการสร้างเมรุขึ้นคือพระเจ้าอินทวิชยานนท์
เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๗ ผู้ซึ่งเป็นพระบิดา ของพระราชายาเจ้าดารารัศมี
หลังจากงานของพระเจ้าอินทวิชยานนท์แล้ว บริเวณรอบๆข่วงเมรุได้เริ่มมีการสร้างบ้านเรือนขึ้น
โดยบางส่วนบุกรุกเข้าไปในบริเวณข่วงเมรุ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๙
ต้องจ่ายเงินถึง ๑๓,๐๐๐ รูเปียเป็นค่ารื้อย้ายบ้านเรือนที่บุกรุกเข้าไปข่วงเมรุและจัดสรรพื้นที่นี้
เป็นกาด หรือ ตลาด (บริเวณตลาดวโรรส ในปัจจุบัน) ต่อมา พระราชายาเจ้าดารารัศมีได้เสด็จ
กลับเชียงใหม่ ทรงเห็นว่ากู่ ต่างๆนั้นกระจัดกระจายอยู่บริเวณกาด ดูไม่เป็นระเบียบไม่เหมาะสม
จึงพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ในการรื้อย้าย กู่บริเวณนั้นทั้งหมด และโปรดให้สร้างกู่ใหม่
ขึ้นในบริเวณวัดสวนดอก โดยมีแนวคิดมาจากสุสานหลวงวัดราชบพิธที่กรุงเทพฯ และ ให้ช่างจาก
กรุงเทพฯเป็นคนออกแบบและสร้างกู่โดยกู่ในยุคแรกนั้นเป็นสถาปัตยกรรมไทย-ล้านนา-ยุโรป
ผสมผสานกันหลากหลายโดยก่อนที่พระราชชายาเจ้าดารารัศมีได้เสด็จเชียงใหม่ครั้งหลังสุดนั้น
ยังโปรดให้ช่างของกรมศิลปากรออกแบบกู่ของพระองค์และถวายให้กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์
ทรงตรวจแก้ด้วย กู่ที่สร้างในยุคต่อๆมาจึงต้องอ้างอิงจากศิลปกรรมของกู่เดิมที่มีเมื่อแรกสร้าง
เมื่อสร้างกู่และรื้อย้ายอัฐิมาไว้ ณ วัดสวนดอกแล้ว ทรงโปรดให้จัดงานเฉลิมฉลอง ๕ วัน ๕ คืน
และเป็นครั้งแรกที่มีการนำศิลปะการแสดงจากเมืองหลวงมาเผยแพร่ยังเชียงใหม่ด้วย คือ การแสดงละคร
เรื่องสาวเครือฟ้าซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
....รำลึกเชียงใหม่แก้ว ............นคร..พิงค์เฮย เมืองเอกเลิศอมร....................ยิ่งฟ้า ยืนหยัดสถาพร.......................ยศยิ่ง..ล้ำแฮ คงอยู่คู่ผืนหล้า ......................แว่นแคว้นแดนดิน
..... |
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 01 ธันวาคม 2014 เวลา 08:34 น. |