หน้าหลัก ประวัติศาสตร์ เมืองพร้าว ประวัติศาสตร์เมืองพร้าววังหิน (แจ้สัก)อำเภอพร้าว
ประวัติศาสตร์เมืองพร้าววังหิน (แจ้สัก)อำเภอพร้าว PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันเสาร์ที่ 06 กันยายน 2008 เวลา 14:57 น.
                                                      

 

                                                                                   คูเมืองในอดีต

 

ประวัติอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

 

 

       เมืองพร้าววังหินเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน สร้างขึ้นในปีพ.ศ. ๑๘๒๔

 

โดย "พระญามังราย" (พญามังราย)ณ ตำบลแจ้สัก หรือเดิมเรียกว่า เวียงหวาย


                ท่านพระญามังราย มีทหารผู้ซื่อสัตย์ผู้หนึ่งชื่อว่า ขุนฟ้าเป็นชนเชื้อสาย

  ละว้า แต่มีความเฉลียวฉลาดและซื่อสัตย์มีความจงรักภักดีต่อพระองค์ยิ่งนัก

  ได้รับอาสาไปทำกลอุบายต่าง ๆ นานา ต่อพระยายีบา ผู้ครองเมืองหริภุญชัย

  เป็นเวลานานถึงปี เช่นในฤดูร้อน แผ่นดินแห้งผากได้เกณฑ์ชาวบ้านชาวเมือง

  ไปขุดเหมืองส่งน้ำ ชาวบ้านสอบถามก็บอกว่าเป็นคำสั่งของเจ้าเหนือหัว พอถึง

  ฤดูฝนข้าวเต็มนาก็เกณฑ์ชาวบ้านชาวเมืองไปปลูกบ้านสร้างเมือง ชาวบ้านแบกไม้

  หามเสาผ่านทุ่งนาอย่างทุลักทุเลทำให้ไร่นาเสียหายมาก ครั้นชาวบ้านชาวเมือง

  สอบถามก็ตอบอย่างเดิม จึงทำให้ไพร่ฟ้าประชาชนจงเกลียดจงชังท่านพระญายีบา

  เป็นที่ยิ่ง ในขณะที่ท่านพระญามังรายได้ส่งขุนฟ้าไปเมืองหริภุญชัยแล้ว จึงรับสั่ง

  ให้ราชโอรสองค์ใหญ่ ทรงพระนามว่าขุนเครื่อง ซึ่งมีพระชนมายุ ๑๓ พรรษาให้ไป

  ครองเมืองเชียงราย ส่วนพระญามังรายครองราชย์สมบัติ ณ เมืองฝาง ฝ่ายขุนเครื่อง

  ราชโอรส เสด็จไปครองเมืองเชียงราย อยู่ไม่นานนักอำมาตย์ผู้หนึ่ง มีชื่อว่า

  ขุนใสเวียง ได้กราบทูลยุยงให้คิดกบฎต่อพระบิดา โดยให้ชิงเอาราชสมบัติ

  เมืองเชียงรายเสีย และให้จัดกำลังพลแข็งเมืองฝ่ายพระญามังรายทรงทราบ จึง

  ปรารภว่าขุนเครื่องผู้มีบุญน้อยจะมาคิดแย่งราชสมบัติกูผู้เป็นพ่อเช่นนี้ จักละไว้มิได้

  จึงมอบให้ขุนอ่องซึ่งเป็นทหารผู้ไว้วางพระราชหฤทัยผู้หนึ่ง ไปเชิญขุนเครื่องผู้

  โอรสให้มาเฝ้าที่เมืองฝาง ในขณะที่ราชโอรสเดินทางจากเมืองเชียงราย จะมาเฝ้า

  พระราชบิดาตามคำบอกเล่าของขุนอ่อง ท่านพระยามังรายจึงมอบให้ทหารผู้แม่น

  ธนูได้ดักยิงที่กลางทางด้วยธนูอาบยาพิษ ทำให้ขุนเครืองสิ้นพระชนม์ระหว่างทาง

ณ ที่แห่งหนึ่งในเขตอำเภอพร้าว บริเวณนั้นพระญามังรายได้เสด็จมาจัดการพระศพ

  ราชโอรสและทรงให้สถาปนา บริเวณ ที่ขุนเครื่องถูกปลงพระชนม์นั้นเป็นอาราม

  เรียกว่า วัดเวียงยิง มีซากเจดีย์ร้างอยู่แห่งหนึ่งอยู่บนเนินเขาที่บ้านทุ่งน้อย ตำบล

  บ้านโป่งอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ชาวบ้านเรียกว่า วัดเชียงยิง หรือวัดกู่ยิง

(วัดสันป่าเหียง) ครั้นแล้วก็โปรดให้อัญเชิญพระศพไปฌาปนกิจเสียที่เมืองเชียงราย

 

 

                                               

                                                     

                                           กู่ยิงหลงเหลือเพียงซากโบราณสถาน



และในวัดแห่งนี้ต่อมาเป็นวัดร้าง และมีพระพุทธรูปเก่าแก่ประดิษฐานอยู่ ๒ องค์

  มีลักษณะสวยงามมาก ขณะนี้เก็บไว้ที่ วัดป่าลัน ตำบลบ้านโป่ง และที่วัดหนองอ้อ

  ตำบลเวียง เรียกว่า พระฝนแสนห่า


                พุทธศักราช ๑๘๒๓ พระญามังรายทรงให้ขุนคราม โอรสองค์ที่สอง

  ไปครองเมืองเชียงราย จากนั้น ตามหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับหอสมุด

  แห่งชาติเล่มที่กรุงเทพหน้า ๕๕๑ มีความว่า "ส่วนพระญามังรายเมื่อทรง

  ทราบข่าวตามหนังสือขุนฟ้ามีมานั้น ก็มีความยินดียิ่งนัก จึงได้เกณฑ์จตุรงค์พล

  โยธาเป็นทัพใหญ่ยกออกจากนครเมืองฝางมาทางเมืองแจ้สัก แล้วประชุมผลที่นั้น

  และได้สร้างเวียงเวียงหนึ่ง ให้ชี่อว่า เวียงพร้าววังหิน .เดิมนั้นเรียก เวียงหวาย

  เวียงพร้าว เดิมเข้าใจว่าเดิมคงจะเป็น เวียงป่าว มาจากคำว่า ป่าวร้องกะเกณฑ์

  ไพร่พล เนื่องจาก เวียงพร้าวเป็นเมืองสะสมนักรบและไพร่พล และเป็นเมืองหน้า

  ด้านที่สำคัญ ก่อนจะสร้างเมืองพร้าววังหิน มีนามเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "เวียงหวาย"

  เข้าใจว่าคงจะมีหวายขึ้นแถวนั้นเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันยังมีหมู่บ้านชื่อว่า บ้านโล๊ะ

  ป่าหวายอยู่ไม่ไกลจากเมืองเก่า ในขณะที่พระองค์มาพักและสร้างเวียงพร้าววังหิน

  ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี ท่านก็เดินทัพต่อไป โดยมอบให้ขุนเครือราชโอรสองค์ที่ ๓

  ของพระองค์อยู่สร้างเมืองต่อ และครองเมืองพร้าวขุนเครือครองเมืองพร้าวได้ไม่

  นานก็ทำความผิดโดยทางชู้สาวกับพี่สะใภ้ คือพระมเหสีขุนครามเวียงเชียงดาว

  ความทราบไปถึงพระญามังราย จึงคิดว่าถ้าหากปล่อยละไว้ ลูกทั้งสองจะรบราฆ่าฟัน

  กันขึ้น จึงเนรเทศขุนเครือให้ไปครองเมืองนาย (เข้าใจว่าน่าจะเป็นเมืองน่านใน

ปัจจุบัน) ส่วนพระญามังรายหลังจากเดินทัพจากเมืองพร้าวไป ก็ได้ยกทัพปล้นเอา

  เมืองลำพูนได้ ในวันขึ้น ๔ค่ำ เดือนจุลศักราช ๖๓๙ ปีมะเส็ง ตรีศก (ประมาณ

 เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน พ.ศ. ๑๘๒๔) ซึ่งขณะนั้นพระญามังรายมีพระชนมายุ

  ๔๓ ปี พระญามังราย ย้ายจากเมืองลำพูนมาสร้างเวียงกุมกามขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๖ -

  ๑๘๓๗ ซึ่งอยู่ในเขตตำบลท่าศาลา อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ อันเป็นเมืองที่มี

  ความอุดมสมบูรณ์พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม และมักมีน้ำท่วมในฤดูฝน ต่อมาเนื่องจากมีน้ำ

  ปิงไหลผ่านและเปลี่ยนทิศทางเดิน พระญามังรายจึงย้ายจากเมืองกุมกาม มาสร้าง

  เมืองเชียงใหม่ในปีวอก อัฐศก วันพฤหัสบดี เดือนเหนือขึ้นค่ำจุลศักราช ๖๕๘

(พ.ศ. ๑๘๓๙) ทรงสร้างนานเดือน จึงเสร็จสมบูรณ์ มีการจัดงานมหรสพสมโภช

  ฉลองเมืองเชียงใหม่เป็นการใหญ่ โดยให้ขนานนามว่า นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่

  ส่วนพระญายีบาผู้ครองเมืองลำพูนเดิมนั้น หนีไปอยู่กับพระยาเบิกผู้เป็นบุตรที่

  นครเขลางค์ เพื่อคบคิดซ่องสุมประชุมพล จะยกมาชิงเมืองลำพูนคืน พระญามังราย

  ทรงทราบ จึงได้ให้ขุนครามราชบุตรองค์ที่ ๒ รวมพลไปตีเมืองเขลางค์ ขุนคราม

  รบชนะ จึงได้เลื่อนยศเป็นเจ้าพระยาไชยสงคราม เมื่อทำศึกเรียบร้อยแล้วเจ้าพระยา

  ไชยสงครามก็กราบบังคมลากลับเมืองเชียงราย พอถึงเมืองเชียงรายแล้ว จึงแต่งตั้ง

  ขุนช่างไปแผ้วถางเมืองเชียงดาว สร้างคูวังที่ประทับพร้อมด้วยโรงพลช้าง ม้า

  ฉางข้าว ฯลฯ หลังจากนั้นชายาของพระยาไชยสงครามก็มาประทับที่วังเชียงดาว

  พระองค์ทรงมีราชบุตรพระองค์ คือ

              ๑. ท้าวแสนภู

              ๒. ท้าวพ่อน้ำท่วม

              ๓. ท้าวพ่องั่ว


                จนถึงปีจุลศักราช ๖๗๙ ตรงกับ พ.ศ. ๑๘๖๐ พระญามังรายมีพระชนมายุ ๘๐

  พระชันษา พระองค์ได้เสด็จประพาสตลาดกลางเมืองเชียงใหม่ อสนีบาตตกพระองค์

  ถึงทิวงคตที่นั่น หมู่เสนาอำมาตย์จึงได้อันเชิญพระเจ้าไชยสงครามมาจัดการพระศพ

  และครองเมืองเชียงใหม่ เจ้าพระยาไชยสงครามจึงอภิเษกโอรสองค์ใหญ่ชื่อ

  ท้าวแสนภู ซึ่งมีพระชนมายุ ๒๑ ชันษา ครองเมืองเชียงใหม่ เจ้าพระยาไชยสงคราม

  กลับไปครองเมืองเชียงรายต่อไป เมื่อขุนเครือทรงทราบข่าวพระราชบิดาทิวงคตแล้ว

  เจ้าแสนภูครองเมืองแทน จึงออกอุบายว่าจะมาถวายบังคมพระศพ แล้วยกพลโยธา

  มาล้อมเมืองเชียงใหม่ ท้าวแสนภูจะออกรบก็กลัวว่าจะเป็นอันตราย จึงได้หลบหนี

  ออกจากเวียงไป ขุนเครือจึงได้ครอบครองเมืองเชียงใหม่แทน ในปีจุลศักราช ๖๘๑

(พ.ศ. ๑๘๖๒) เจ้าพระยาไชยสงครามทรงทราบว่าขุนเครือชิงราชสมบัติโอรส

  ของตนจึงทรงพิโรธ ได้ส่งพ่อท้าวน้ำท่วม ราชบุตรองค์ที่ผู้ครองเมืองฝาง ให้ยก

  กองทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ จนล้อมจับขุนเครือได้ เจ้าพระยาไชยสงครามทรงทราบ

  ว่าราชบุตรทรงรบชนะ ก็พลโยธามาเชียงใหม่ ขณะนั้นเจ้าน้ำท่วมมีพระชนมายุ ๓๐

  ปี ได้ครองเมืองเชียงใหม่ ในปีจุลศักราช ๖๘๔ (พ.ศ. ๑๘๖๕) ฝ่ายขุนเครือได้ถูก

  คุมขังไว้ตำบลทับคันได (เข้าใจว่าน่าเป็นตำบลโหล่งขอดปัจจุบัน เนื่องจากมีชื่อ

ลูกดอยลูกหนึ่งชื่อใกล้เคียง) ขุนเครือถูกกักขังนานปี ก็สิ้นพระชนม์ ราว

พ.ศ. ๑๘๗๒ คำนวณอายุ ได้ ๓๗ พรรษา ในการควบคุมขุนเครือนั้นเจ้าพระยาไชย-

  สงครามทรงแต่งตั้งท้าวบุญเรืองเป็นหัวหน้าผู้ควบคุม จนกระทั่งท้าวบุญเรือง

  ชราภาพและเสียชีวิตจึงได้สร้างกู่ไว้เป็นที่เก็บอัฏฐิให้ชื่อว่า กู่ท้าวบุญเรืองไว้ตรงแจ่ง

  ของเมืองชั้นนอก (เข้าใจว่าน่าจะเป็นที่บริเวณโรงเรียนบ้านบ้านแจ่งกู่เรืองใน

ปัจจุบัน)




 

               

(ภายในวิหารวัดดอยเวียง ต.โหล่งขอด ซึ่งมีพระพุทธรูปเก่าแก่อายุร่วม๗๓๐ ปีประดิษฐานอยู่)

 

 

 

         เวียงพร้าววังหิน เป็นเวียงที่รุ่งเรืองมากมีคนอยู่หนาแน่น เนื่องจากเป็นเมือง

  หน้าด่านเป็นที่สร้างนักรบและประชุมพล สังเกตได้จากตัวเวียงชั้นใน (พร้าววังหิน)

  มีขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ ๒๐๐ กว่าไร่ และมีวัดร้างโดยรอบหลายวัด เช่น ที่บริเวณ

  โรงเรียนบ้านหนองปลามันและทางทิศตะวันตกของโรงเรียน อีก ๒๐๐ เมตร และที่

  ใกล้เคียงอีกหลายแห่งต่างก็เป็นวัดร้าง ซึ่งวัดร้างดังกล่าวหมายรวมถึงวัดพระเจ้า

  ล้านทองด้วย ปัจจุบันก็อยู่ห่างกันไม่มากนัก และหัวเมืองชั้นนอก (เวียงพร้าว

ปัจจุบัน) ก็มีวัดร้างหลายแห่ง เช่น วัดดงต้นกลาง วัดดงต้นปอ วัดดงอาทิตย์

  วัดศรีชมภู วัดศรีชุม วัดต้นแก้ว วัดสุพรรณ เป็นต้น ซึ่งวัดร้างเหล่านี้ก็อยู่ห่างกัน

  ไม่มาก จำนวนวัดก็ดูมากกว่าวัดในเวียงพร้าวในปัจจุบันนี้เสียอีก ซึ่งเป็นสิ่งแสดงถึง

  ความหนาแน่นของคนในสมัยนั้น นอกจากนี้ยังสันนิษฐานได้จากหนังสือ

  พงศาวดารว่า เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมืองเชียงใหม่จะต้องแต่งตั้งผู้ที่

  ไว้วางใจได้มาครองเวียงพร้าววังหิน ดังปรากฏในสมัยพระสามฝั่งแกน กษัตริย์เมือง

  เชียงใหม่มีราชบุตร ๑๐ พระองค์ ทรงพระนามตามลำดับดังนี้ คือ ท้าวอ้าย ท้าวยี่

  ท้าวสาม ท้าวใส ท้าวงั่ว ท้าวลก ท้าวเจ็ด ท้าวแปด ท้าวเก้า ท้าวสิบ ราชบุตรผู้ทรง

  นามท้าวอ้ายนั้นเมื่อพระชนมายุได้ ๗ พรรษา พระราชบิดาตั้งไว้ในที่อุปราช ผู้ซึ่งรับ

  ราชสมบัติสืบต่อพระองค์ ให้ประทับอยู่ในเวียงเจ็ดลิน ( เวียงเจ็ดลินตั้งอยู่เชิง

  ดอยสุเทพบริเวณถนนห้วยแก้ว ยังมีซากเมืองปรากฎอยู่จนปัจจุบัน) ทรงมีพระชนม์

  ชีพอยู่อีกปี จนพระชนมายุ๙ พรรษาก็เสด็จสวรรคต แต่ท้าวงั่วผู้ถ้วนห้านั้น

  พระบิดาให้ไปกินเมืองเชียงเรือ เรียกว่า เชียงลานท้าวลก ผู้ถ้วนหก พระบิดาให้ไป

  ครองเวียงพร้าว ในที่แดนชาวพร้าววังหินห้าร้อยนา ท้าวเจ็ด ให้ไปครองเมือง

  เชียงราย ท้าวสิบผู้น้องให้ไปครองเมืองฝาง เรียกว่า ท้าวซ้อย (มาจากคำพื้นเมืองว่า

สุดซ้อย) ส่วนราชบุตรอีกพระองค์ ท้าวยี่ ท้าวสาม ท้าวใส ท้าวแปด ท้าวเก้า หมู่นี้

  ได้ไปตามกรรม (ตาย) ส่วนท้าวลกผู้ถ้วนหกนั้น เกิดปีฉลู ศักราช ๗๗๑ (ประมาณ

พ.ศ. ๑๙๗๒) เมื่อครองเวียงพร้าววังหิน อยู่ได้ไม่นานเท่าไรก็ได้กระทำความผิด

  พระราชบิดาทรงพิโรธ จึงเนรเทศไปไว้เมืองยวมใต้ (อ. แม่สะเรียง

จ.แม่ฮ่องสอน ในปัจจุบัน) ต่อมามีพญาสามเด็กน้อย อำมาตย์ชั้นผู้ใหญ่ผู้หนึ่งก็คิด

อ่านจะทำการกบฏต่อพระยาสามฝั่งแกนและได้เชิญท้าวลกมาเป็นหัวหน้า

  เจ้าท้าวลกซึ่งมีความน้อยพระทัยในพระราชบิดาอยู่แล้วจึงรับคำ และเมื่อ

  พระพญาสามเด็กน้อยซ่องสุ่มผู้คนพร้อมแล้ว จึงได้ให้คนสนิทมาเชิญเจ้าลก

  และได้ยกพลล้อมเมืองเชียงใหม่ในเวลากลางคืน ขณะนั้นพระเจ้าสามฝั่งแกน

  ทรงแปรพระราชฐานไปประทับอยู่ที่เวียงเจ็ดลิน พญาสามเด็กน้อยจึงแต่งไพร่พล

  ลอบไปจุดไฟเผาเวียงเจ็ดลินในเวลาเที่ยงคืน พระเจ้าสามฝั่งแกนตกพระทัยจึงทรง

  ม้าพระที่นั่งกลับเข้ามาในเมืองเชียงใหม่ พอไปถึงคุ้มหลวงก็ถูกไพร่พลของเจ้าลก

  ควบคุมตัวไว้ ครั้นรุ่งเช้าก็นิมนต์พระสงค์เจ้าเข้าไปในราชมนเทียรบังคับให้

  เจ้าสามฝั่งแกนเวนราชสมบัติให้แก่พระองค์ พระเจ้าสามฝั่งแกนก็ทรงเวนราชสมบัติ

  และหลั่งน้ำให้แก่เจ้าท้าวลกสมความปรารถนาครั้นทำพิธีแล้ว เจ้าท้าวลกก็ได้ส่ง

  พระราชบิดาไปอยู่เมืองสาด (อยู่ในรัฐฉานของประเทศพม่าในปัจจุบัน)

  แล้วปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติสืบต่อมา ขนานพระนามว่า พระมหาศรีสุ-

  ธรรมติโลกราช และเรียกกันในสมัยต่อมาว่า "พระเจ้าติโลกราช" ในรัชสมัยของ

  พระเจ้าติโลกราชนี้บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองมากและการทหารก็เข้มแข็ง

  พระองค์ก็ยกทัพไปตีเมืองต่าง ๆ ดังนี้ คือ เมืองแพร่ เมืองนาย เมืองสุไลค่า เมืองงึด

  เมืองจาง เมืองกึง เมืองลอกจอก เมืองจำค่า เมืองกุน เมืองยองห้วย เมืองหนองบอน

  เมืองสีป๊อ ได้เลยครอบครัวเงี้ยวมา ๑๒,๓๒๘ คน ซึ่งได้แบ่งครัวไทยเงี้ยวนี้ไปอยู่ที่

  พระทะการเก้าช่อง และเวียงพร้าว เป็นการสะสมพลเมืองเพื่อไว้เป็นกำลังรบต่อไป

  ในสมัยของพระองค์ได้ส่งหมื่นมอกลองมาครองเวียงพร้าว ท่านหมื่นคนนี้มีความ

  กล้าหาญมาก จนกระทั่งตัวเองตายในที่รบ และได้รับคำชมเชยจากสมเด็จพระบรม

  ไตรโลกนาถ แห่งกรุงศรีอยุธยา กาลต่อมาพระเจ้าติโลกราชได้ส่งราชบริวารที่

  ไว้วางใจได้ขึ้นมาครองเมืองพร้าวตามปรากฏนามดังนี้ หมื่นแพง เจ้ายอดเมือง

  ซึ่งเป็นราชนัดดา หมื่นแก่งพร้าว หมื่นเงิน หมื่นเวียงพร้าว พันล่ามบุญ ทั้งท่าน

  ที่ได้กล่าวมานี้ได้ขึ้นมาปกครองเวียงพร้าว ล้วนแต่มีความใกล้ชิดสนิทชิดเชื้อ

  นอกจากนั้น แต่ละท่านยังมีความเก่งกล้าสามารถในด้านการรบเป็นอย่างยิ่ง ดังความ

  ในหนังสือความดีเมืองเหนือ ของคุณสงวน โชติสุขรัตน์ หน้า ๗๗ มีความว่า

"กองทัพหลวงพระบางยกทัพมาตีเมืองน่าน จึงโปรดให้หมื่นเงิน เจ้าเมืองพร้าวเป็น

  แม่ทัพยกทัพไปช่วยเมืองน่าน และได้สู้รบกับกองทัพหลวงพระบางปรากฏว่า

กองทัพหลวงพระบางแตกพ่ายไป" จะเห็นว่าเจ้าเวียงพร้าวมีความสามารถในการรบ

  ทุกท่าน ตามหนังสือพงศาวดารโยนกก็ได้กล่าวไว้โดยละเอียดว่า "พระเจ้าติโลกราช

ตอนจัดทัพใหญ่เพื่อสู้รบกับกองทัพแห่งกรุงศรีอยุธยาของสมเด็จพระไตรโลกนาถ

  ไว้ดังนี้ พระองค์ได้จัดกองทัพไว้เป็น ๕ ทัพ คือ ทัพท้าวบุญเรือง ราชบุตรของ

  พระองค์ เจ้าเมืองเชียงราย ทัพเจ้ายอดเมือง พระนัดดาของพระองค์ ซึ่งครองเมือง

  แจ้สัก (เวียงพร้าววังหิน) ทัพหมื่นกึ่งตีนเมือง ทัพหมื่นหาญแต่ท้อง เจ้าเมืองลำปาง

  ทัพพระยาสองแคว เจ้าเมืองพะเยา ทั้งทัพนี้ ได้สู้รบจนทัพหลวงของกรุงศรี

อยุธยาล้มตายเป็นจำนวนมากและแตกพ่ายไป"


              จะเห็นได้ว่าเจ้าเวียงพร้าวเป็นนักรบที่มีความสามารถในการรบยิ่ง

  จนกระทั่งมาถึงสมัยของพระยอดเชียงรายครองเมืองเชียงใหม่ ท่านได้ส่ง

  เพลาสลงเชื้อสายจีนฮ่อ ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของพระองค์ขึ้นมาครองเมืองพร้าว

  อันเป็นการผิดราชประเพณี ทำให้พระองค์เป็นที่รังเกียจของไพร่พลเมือง หมู่เสนา

  อำมาตย์จึงพร้อมกันโค่นราชบัลลังก์ ตามหลักฐานจากหนังสือชินกาลบาลีปกรณ์

  กรุงเทพหน้า ๑๓๔ มีความว่า "พระองค์ทรงครองราชย์นาน ๘ ปี ก็ทรงมอบราช

สมบัติให้ราชบุตรของพระองค์ในปีเถาะ" ครั้นต่อมาในสมัยพระเมืองแก้ว ซึ่งเป็น

  ราชโอรสของพระยอดเชียงราย ผู้ประสูติกับอัครมเหสีศิริยสวดี ได้ขึ้นครองเมือง

  เชียงใหม่ พระองค์ได้ส่งท้าวเชียงตงมาครองเวียงพร้าว ๖ ปี ไม่ทราบว่าได้ย้ายไปที่

  อื่น ๆ หรือตายในที่รบก็ไม่ปรากฏหลักฐาน จนมาถึงสมัยของพระนางเจ้ามหาเท

  วีจีรประภาได้ครองเมืองเชียงใหม่ ปรากฏว่ามีผู้ครองเวียงพร้าวอยู่แล้ว ชื่อ พระยา

  เวียงพร้าว และไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้ส่งมาท่านได้ครองเวียงพร้าวอยู่นาน

  ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๐๗๓-๒๑๐๑ เป็นเวลานาน ๒๙ ปี ก็ได้ พาครอบครัวและไพร่พล

 หลบหนีจากเวียงพร้าว ไปอยู่ที่นครเขลางค์ เนื่องด้วยมีกองทัพมหึมาของนักรบ

  ผู้เก่งกล้าผู้ลือนามจากหงสาวดีได้ยกเข้ามาเพื่อช่วงชิงอาณาจักรล้านนา จึงเป็นอันว่า

  เมืองที่ท่านพระยามังรายได้สร้างไว้ เพื่อเป็นเมืองหน้าด่านและสะสมกำลังพลอัน

  ได้ชื่อว่า เวียงพร้าววังหิน หรือแต่เดิมเรียกว่าเวียงหวาย ได้สิ้นสภาพการเป็นเวียง

บัดนั้นเป็นต้นมา ดังหลักฐานในศิลาจารึกของวัดเชียงมั่น อำเภอเมือง จังหวัด

  เชียงใหม่ ความว่า " ในปีเปิกสง้า ศักราช ๙๒๐ ปี มะเมีย สัมฤทธิ์ศก พ.ศ. ๒๑๐๑

  เมืองเชียงใหม่เป็นขัณธสีมาของสมเด็จพระมหาธรรมมิกราชาธิราชเจ้าแล้ว ซึ่งเป็น

กษัตริย์ของพม่า" และไม่มีหลักฐานใด ๆ กล่าวถึงเวียงพร้าวอีกเลย 


                                                          ที่มา : หนังสือเวียงพร้าววังหิน

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 10:01 น.
 

Facebook Like Box

ออนไลน์

เรามี 7 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ผู้เยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้89
mod_vvisit_counterเมื่อวาน149
mod_vvisit_counterอาทิตย์นี้598
mod_vvisit_counterเดือนนี้2802
mod_vvisit_counterทั้งหมด6425168