วัดพระเจ้าล้านทอง อ.พร้าว พิมพ์
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันเสาร์ที่ 06 กันยายน 2008 เวลา 15:02 น.

 

                                 วัดพระเจ้าล้านทอง

 

003.JPG

 

                                  
dsc00635_resize_resize.jpg 
                                        วัดพระเจ้าล้านทอง

 

    เมื่อเดินทางจากอำเภอพร้าวไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๔ กิโลเมตร

    ไม่นานนักก็จะพบทางแยกไปยังหมู่บ้านหนองปลามัน ตำบลน้ำแพร่

 ซึ่งก็คือทางไปวัดพระเจ้าล้านทองนั่นเอง
 


     วัดแห่งนี้เป็นโบราณสถานสำคัญแห่งหนึ่งของอำเภอพร้าว เนื่องจาก

   สันนิษฐานว่าที่แห่งนี้ เคยเป็นที่ตั้งเมืองพร้าววังหินหรือเวียงหวายแต่เดิมนั่นเอง

   ซึ่งในปัจจุบันยังคงมีคูเมืองหลงเหลือ ให้เห็นอยู่โดยรอบวัด และเป็นที่ประดิษฐาน

   ของพระพุทธรูปเก่าแก่คู่เมืองพร้าว อันได้แก่ “ พระเจ้าล้านทอง

 

      พระเจ้าล้านทอง ( พระเจ้าล้านตอง ) ถูกขนานนามว่า " พระเจ้าหลวง "

    เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองพร้าววังหินมาช้านานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย 

เนื้อทองสำริด  ขนาดหน้าตัก ๑๘๐ เซนติเมตร สูงรวมฐาน ๒๗๔ เซนติเมตร

   ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุตามประกาศกรมศิลปากรในราชกิจจานุเบกษา 

ฉบับพิเศษ เล่มที่ตอนที่วันที่มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๘

 

 

 1sam_0030.jpg

     วัดพระเจ้าล้านทองเป็นวัดแห่งประวัติศาสตร์ ว่ากันว่าในอดีตนั้น นอกจาก

   วัดแห่งนี้จะเป็นเมืองเก่าแก่แล้ว เมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้

   ยกทัพผ่านเมืองพร้าวนั้น พระองค์ได้ ทรงหยุดทัพวัดพระเจ้าล้านทอง

แห่งนี้อีกด้วย

 

     วัดพระเจ้าล้านทองนั้นไม่มีพระสงฆ์จำวัดอยู่เลย มีเพียงคำร่ำลือถึงอาถรรพ์ต่างๆ

    ซึ่งชาวเมืองพร้าวเชื่อกันว่า พระสงฆ์ผู้มีบุญญาธิการจริงๆเท่านั้น จึงจะจำพรรษาอยู่

 ณ วัดเก่าแก่แห่งนี้ได้ ทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนเหนือ ของทุกปีนั้น ทางวัดจะมี

ประเพณีทำบุญเป็นประจำทุกปีนับว่าเป็นโบราณสถานเก่าแก่ที่ยังทรงคุณค่าในสายตา

   ของชาวเมืองพร้าวเสมอมา และจะเป็นเช่นนี้ไปตลอดกาล

 
ประวัติพระเจ้าล้านทอง

 

 

 002.jpg

                                 องค์พระเจ้าแสนทอง

 

ตามหนังสือเวียงพร้าววังหิน 

 

              " พระเจ้าล้านทองวียงพร้าว  เป็นฝีมือการสร้างแบบสุโขทัย 

สร้างเมื่อจุลศักราช ๘๘๘ และเป็นพระพุทธรูปที่ซึ่งมีความสำคัญทางจิตใจอย่างมาก

   ต่อคนเมืองพร้าว  และทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนเหนือของทุกปี ทางวัดจะมีการจัด

   ให้มีการสรงน้ำพระขึ้น "

 

 

 พระเจ้าหลวงหรือพระเจ้าล้านทอง(องค์ใหญ่สุด)

 

 

ตามหนังสือคนดีเมืองเหนือ

 

              " พ่อท้าวเกษกุมารได้ครองเมืองเชียงใหม่  สืบมาในปี พ.ศ. ๒๐๖๘

   ทรงมีพระนามในการขึ้นครองราชย์ว่าพระเมืองเกษเกล้า  พระองค์ได้ไปสร้างพระพุทธรูปไว้

   ที่เมืองพร้าวองค์หนึ่ง  ซึ่งหล่อด้วยทองปัญจะโลหะ เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๖๙ เรียกว่า 

พระเจ้าล้านทอง  และยังมีอยู่จนถึงทุกวันนี้

 

  

                                          

       

                                               พระธาตุพระเจ้าล้านทอง

 

 

 

ตามหนังสือประวัติศาสตร์เมืองพร้าวของท่านพระครูโสภณกิติญาณ หน้า ๒
 


                 "พระเจ้าล้านทองเรียกอีกนามว่า พระเจ้าหลวง "  ที่ฐานพระพุทธรูปมีข้อความ

 

  จารึกเป็น หนังสือลายฝักขาม ซึ่งท่าสนผู้รู้ได้แปลไว้บ้างตอนว่า " ศาสนาพระได ๒๐๖๙

   วัสสาแล…๘๘๘ ปี รวายเสด หมายความว่า พระพุทธรูปองค์นี้หล่อขึ้นในปี  พ.ศ. ๒๐๖๙ ปีจอ อัฐศก"

 

สมัยพระเกษ แก้วครอง เมืองเชียงใหม่ ซึ่งมีท้าวเชียงตง ครองเวียงพร้าว วังหิน

 

 ตามหลัก ฐานจากหนังสือดัง กล่าวสันนิษฐานได้ว่า    พระพุทธรูปองค์นี้น่า จะหล่อขึ้น 

     ณ บริเวณวัดพระเจ้าล้านทองปัจจุบันซึ่งเป็นวัดในตัวเมืองชั้นในสมัยนั้นจากประวัติ

   ของเวียงพร้าววังหินจะทราบว่า    หลังจากเวียงพร้าววังหินได้ร้างไปเพราะภัยสงครามของ

    พระเจ้ากรุงหงสาวดี แต่ปี  ๒๑๐๑ผู้คนหนีออกจากเมืองหมด    คงปล่อยให้องค์

 พระเจ้าล้านทองประดิษฐานอยู่ในเมืองร้างนานถึง  ๓๔๙  ปีจนมาถึง  พ.ศ.๒๔๕๐ ได้มีดาบส

   นุ่งขาว ห่มขาวเป็นคนเชื้อชาติลาว เข้ามาอาศัยอยู่ที่วัดสันขวางตำบลน้ำแพร่ อำเภอพร้าว

   เชียงใหม่ ชื่อจริงว่าอย่างไรไม่ปรากฎหลักฐานแต่ชาวบ้านในสมันนั้นเรียกว่า ปู่กาเลยังยัง

    ที่เรียก อย่างนี้เนื่องจากว่า ชาวบ้านได้ยินบทสวดของท่านดาบสท่านนี้ขึ้นต้นว่า "กาเลยังยัง"

 จึง เรียกชื่อว่า ปู่กาเลยังยังท่านดาบสองค์นี้ชอบทานข้าวกับหัวตะไคร้ใส่ปลาร้า

เป็นประจำหรือเป็นอาหารโปรดของท่าน ส่วนท่านกาเลยังยังท่านไม่กลัว   

เมื่อท่านกาเลยังยังอยู่ที่วัดสันขวางได้ไปเที่ยวชมทิวทัศน์บริเวณวัดพระเจ้าล้านทอง ตั้งอยู่บนฐานอิฐที่ชำรุด

  ทรุดโทรมจะล้มมิล้มแหล่  และองค์พระพุทธรูปก็ถูกไฟป่าที่เผาเศษไม้ใบไม้แห้งรอบ

องค์พระประดิษฐานอยู่จนพระองค์ถูกรมควันไฟจนดำสนิท ท่านกาเลยังยังจึงได้หาก้อนอิฐ

  ซึ่งพอหา ได้ใน บริเวณนั้นมาชุบด้วยน้ำไก๋ (ชื่อไม้ชนิดหนึ่งมียางเหนียว) ซึ่งอยู่แถวนั้นมากมาย

แล้วนำอิฐที่ชุบไก๋แล้วมาซ่อมแซมฐานพระพุทธรูป จนเป็นที่มั่นคงแล้วได้สร้างเพิงหมาแหงน

  ด้วยเสาสี่ต้น มุงด้วยหญ้าคาเนื่องจากขาดคนดูแล เพิงหมาแหงนจึงถูกไฟป่าเผาไหม้หมด

  จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๙ ท่านครูบาอินตา สาธร เจ้าอาวาสวัดหนองปลามัน ได้ร่วมกับคณะศรัทธา

 

ซึ่งบริเวณนั้นชาวบ้านไม่อยากสัญจรไป เนื่องจากกลัวต่อภูติผีปีศาจตามคำบอกเล่าของคนเฒ่า 

ใครไปทำอะไรแถวๆ นั้น มักจะเกิดความวิปริตจิตฟั่นเฟือน  พูดจาไม่รู้เรื่อง  เดือดร้อนถึงหมอผี

 ต้องทำบนบานศาลกล่าวถึงจะหาย บางคนถึงตายไปก็มี  


จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๖๒ ท่านครูบาอินตา สาธร ได้ไปขอกุฎิวัดสันขวางของ ท่านครูบาปัญญา

 เชื้อสายไทยใหญ่ซึ่งชาวบ้านจะเผาทิ้ง นำมาสร้างวิหารเพื่อเป็นที่ประดิษฐาน

องค์พระเจ้าล้านทองสาเหตุที่ชาวบ้านจะเผากุฏิ เนื่องจากกุฏิวัดสันขวางหลังนี้ ได้มาโดยท่าน 

พระยาเพชร และแม่เจ้านางแพอุทิศบ้านไม้สักขนาดใหญ่ของตนเอง สร้างเป็นกุฏิถวายแด่

   ท่านครูบาไว้เป็นที่จำวัดและอาศัย ซึ่งท่านทั้งสองมีความศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านครูบามาก

   แต่หลังจากได้สร้างกุฏิหลังใหม่ถวายได้ไม่นาน ท่านก็เกิดอาพาธทั้งๆ ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน

 ชาวบ้านซึ่งมีความรักในตัวครูบาเป็นอย่างมาก ต่างก็ลงความเห็นว่าอาการเจ็บป่วยของท่าน

  คงมาจากกุฏิหลังใหม่เป็นแน่ ความทราบไปถึงครูบาอินตาซึ่งเป็นเจ้าอาวาส  "วัดหนองปลามัน "

  จึงได้ไปขอกุฏิหลังนี้แล้วนำไปสร้างวิหาร ณ วัดพระเจ้าล้านทอง (ขณะนี้เหลือแต่ฐานของวิหาร

  เท่านั้น ซึ่งอยู่ ทางทิศตะวันออกของวิหารหลังปัจจุบัน)

 

001.jpg 

                   พระบรมรูปพญามังรายวัดพระเจ้าล้านทอง

 

        ต่อมา พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้มีท่านครูบาอินถา แห่ง   วัดพระเจ้าตนหลวง   อำเภอสันป่าตอง

จังหวัดเชียงใหม่   ได้มาเป็นองค์ประธานก่อสร้างวิหาร  แบบจตุรมุขทางทิศตะวันตก

ของวิหารหลังเดิมจนเสร็จได้ประมาณ ๘๐ % เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕ แล้วได้ย้ายองค์พระเจ้าล้านทอง

 ขึ้นมาประดิษฐานวิหารหลังปัจจุบัน เมื่อวันที่ ๑๑ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕  ตรงกับ

เดือนเหนือ ขึ้น ๑๓  ค่ำ ปีกุน จุลศักราช ๑๓๓๓ ต่อมาในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๔ได้มีการ

ซ่อมแซมวิหารแบบจตุรมุข ให้มีสภาพดีขึ้นโดยการนำของ  ท่านพระบุญชุ่มญาณสังวโร  

แห่งวัดพระธาตุดอนเมือง   อำเภอท่าขี้เหล็ก   สหภาพเชียงตุง ประเทศพม่า โดยมี

 พล.ท.ภุชงค์ นิลขำ (ถึงแก่กรรมแล้ว) กับคุณเทอดศักดิ์ แก้วสว่าง ผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคเงิน

   ใน การซ่อมแซม วิหารหลังนี้ ด้วยเงินประมาณ ๑  ล้านบาทเศษ นับได้ว่าวัดพระเจ้าล้านทอง

เป็นโบราณสถานที่เก่าแก่สร้างมาแต่สมัยเวียงพร้าว วังหิน  เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญ

และมีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน

 

 

ภาพคูเมืองเก่าบริเวณวัดพระเจ้าล้านทอง

 

ที่มา หนังสือคนดีเมืองเหนือ,หนังสือเวียงพร้าววังหิน,หนังสือประวัติศาสตร์เมืองพร้าว

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2016 เวลา 10:12 น.