ครูซอแม่บัวซอน เมืองป๊าว พิมพ์
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2009 เวลา 12:08 น.

เว็บไซต์ภาษาสยาม..ขอแสดงความยินดีกับแม่ครูบัวซอน ถนอมบุญ คนเมืองพร้าว

ที่ได้รับเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-การขับซอ)

ประจำปี ๒๕๕๕ "

 

 

แม่เป๋นคนดี เป๋นศิษย์ตี้บ่ลืมครู ข้าเจ้าขอดู ไว้เป๋นตั๋วอย่าง"

 

แม่ครูคนดี.......แม่ศรีเมืองป๊าว
ยินดีโตยเจ้า......ตี้แม่สืบสาน
จ๋นถึงวันนี้.......ตี้แม่ขับขาน
บทเพลงปื๊นบ้าน....แว่วหวานผ่องแผ้ว
ศิลปินล้านนา.....เหมาะสมยิ่งแล้ว
แม่เปรียบดวงแก้วแห่งวงก๋ารซอ
 

 

บรมครูวงการซอเมืองพร้าว

นางบัวซอน ถนอมบุญ

ชื่อในวงการ : บัวซอน เมืองป๊าว

 

ประวัติส่วนตัว                

วัน เดือน ปีเกิด          ๑๐  กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๗

สถานที่เกิด               บ้านต้นรุง ตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อบิดา มารดา           นายไว - นางหมู  ถนอมบุญ

จำนวนพี่น้อง             ๔ คน แม่บัวซอนเป็นคนสุดท้อง

สถานภาพ                สมรสกับนายสมพร อินถา

จำนวนบุตร               ๒ คน เป็นชาย ๑ คน หญิง ๑ คน

ที่อยู่ปัจจุบัน              บ้านเลขที่ ๑๑๘/๓ บ้านพระเจ้านั่งโก๋น ตำบลดอนแก้ว         

                             อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ    ๐-๘๑๒๘-๘๘๑๒๕  ๐-๕๓๘๙-๐๕๐๖

 

นางบัวซอน ถนอมบุญ

ชื่อในวงการ : บัวซอน เมืองป๊าว

 

ประวัติส่วนตัว                

วัน เดือน ปีเกิด          ๑๐  กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๗

สถานที่เกิด               บ้านต้นรุง ตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่

ชื่อบิดา มารดา           นายไว - นางหมู  ถนอมบุญ

จำนวนพี่น้อง             ๔ คน แม่บัวซอนเป็นคนสุดท้อง

สถานภาพ                สมรสกับนายสมพร อินถา

จำนวนบุตร               ๒ คน เป็นชาย ๑ คน หญิง ๑ คน

ที่อยู่ปัจจุบัน              บ้านเลขที่ ๑๑๘/๓ บ้านพระเจ้านั่งโก๋น ตำบลดอนแก้ว         

                             อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ    ๐-๘๑๒๘-๘๘๑๒๕  ๐-๕๓๘๙-๐๕๐๖

 

ประวัติการศึกษา        เรียนสำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่จากโรงเรียนต้นรุง

                            แม่บัวซอนฝึกหัดเล่นลิเกเมื่ออายุได้ ๑๑ ปี

                            และออกแสดงลิเกตามงานต่างๆ

                            เป็นเวลา ๒ ปีจากนั้นทางญาติจึงได้นำไปฝากเรียนซอ

                            กับแม่ครูคำปัน เงาใส ช่างซอเมืองพร้าว

                            ขณะอายุได้ ๑๓ ปี โดยเป็นลักษณะการเรียนแบบท่องจำเครือซอ

                            (คำซอทีมีทำนองต่างๆ) พร้อมกับช่วยแม่ครูทำงานบ้านไปด้วย

 

ประวัติการทำงาน       ๑.ด้านการแสดง

                                      แม่บัวซอนเรียนซอประมาณ ๓ เดือนก็สามารถออกซอได้ จากนั้นได้ไปซอประกวดในงานประจำอำเภอและได้

                           รางวัลที่การซอในระยะแรกๆของแม่บัวซอนยังไปตามบทตามหลักที่แม่ครูสอนมา จากนั้นก็ได้ร่วมคณะปี่คณะซอต่างๆ

                           หลายคณะ ทั้งยังได้มีโอกาสซอร่วมกับช่างซอระดับครู

                           เป็นคู่ถ้องหลายคนจนมีประสบการณ์และมีความสามารถในการซออย่างไรก็ตาม แม่บัวซอนได้หยุดพักการซอไปเกือบ ๒๐ ปี

                           เนื่องต้องทำหน้าที่แม่บ้านและดูแลบุตร

                                     ต่อมา มีผู้เรียกร้องให้แม่บัวซอนกลับมาซออีกครั้ง

                           แม่บัวซอนจึงได้ตัดสินใจกลับมาซอ และยังคงได้ความนิยม

                           จากผู้ฟังในพื้นที่ต่าง ๆ รวมทั้งได้รับความนิยมจากผู้ว่าจ้าง

                           ให้ไปซอในงานต่างเป็นอย่างมาก     

                                     ลักษณะเด่นและความสามารถในการซอของแม่บัวซอน คือ เป็นช่างซอทีมีปฏิภาณ ไหวพริบดี ใช้ถ้อยคำได้ไพเราะ

                           คมคาย มีน้ำเสียงไพเราะจับใจผู้ฟัง นอกจากนี้แม่บัวซอน

                           ยังได้แต่งเนื้อเพลงซอ หรือบทขับซอ(เครือซอ) ไว้หลายบทหลายเพลง รวมทั้งมีการบันทึกเพลงซอลงแผ่นเสียง

                           และเทปคาสเซสไว้เป็นจำนวนมากโดยได้บันทึกแผ่นเสียง

                           ชุดแรกเรื่อง น้ำตาเมียหลวง ซอคู่กับ บุญศรี สันเหมือง

                           เมื่ออายุได้ ๑๘ ปี หรือปี พ.ศ ๒๕๐๕ รวมระยะเวลา

                           การเป็นช่างซอ ๔๕ ปี

                                     

                           ๒.ผลงานการเผยแพร่ที่สำคัญ

                           -   รับจ้างแสดงซอในงานต่างๆ ทั่วภาคเหนือร่วมงานซอ

                               กับคณะซอต่างๆ

                           -   ซอออกอากาศทางสถานีวิทยุ ต่างๆ เช่น วปถ. FM ๑๐๐   

                                รายการมรดกล้านนา วิทยุล้านนา FM ๙๗.๕ เป็นต้น

                           -   ผลิตเทปซอพื้นเมืองออกจำหน่าย เช่น เรื่องประวัติครูบา

                               เจ้าศรีวิชัย ๑-๒ พระอรหันต์ประจำวันเกิด จ๊อยพระคุณแม่

                               ศาสนาเหมือนมหาสมบัติสิบประการ เป็นต้น

                           -   ประพันธ์บทซอจำนวนหลายสิบเรื่อง เช่น ประวัติครูบาเจ้า

                               ศรีวิชัย เรื่องต่อต้านยาเสพติด โครงการสีขาว เรื่องหน้าที่

                               เยาวชน ซอเกี้ยวสาว เรื่องอริยสัตย์สี่ เรื่องพระคุณของแม่

                           -   เข้าร่วมแสดงซอในงานสำคัญของหน่วยงาน องค์กรต่างๆ

                               และเป็นวิทยากรรับเชิญ บรรยายประกอบการสาธิตการซอ

                               ให้กับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานต่าง

                           -   ๑๓ มีนาคม ๒๕๔๓ เข้าร่วมงานบายศรีสู่ขวัญสืบสานพันธ์

                               ช้างไทยแม่สาเนิร์สเซอรี่ ปางช้างแม่สา จ.เชียงใหม่

                           -   ๔ ถึง ๖ เมษายน ๒๕๔๔ เข้าร่วมกิจกรรมสืบสานฮีตฮอย

                               ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา อ.ไชยปราการครั้งที่ ๑

                           -   ๒๙ ตุลาคม ๒๕๔๔ เข้าร่วมการสาธิตการขับซอพื้นเมือง

                               ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

                           -   ๒๙ ตุลาคม ๔ พฤศจิกายน กิจกรรมสาธิตวิถีชีวิตและ

                               หัตถกรรมไทยหมู่บ้านภาคเหนือ

                           -   ๔ ถึง ๖ ธันวาคม ๒๕๔๔ เข้าร่วมในงานสืบสานฮีตฮอย

                               ฮอมปอยขึ้นเฮือนใหม่ โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา

                           -   ๙ ธันวาคม ๒๕๔๔ การจัดกิจกรรมสนับสนุนเนื่องในวัน

                               พระราชชายาเจ้าดารารัศมี

                           -   ๒๕๔๕ งานฮีตฮอยภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนาประจำปี

                               ๒๕๔๕อำเภอฝาง จ.เชียงใหม่

                           -   ๑ เมษายน ๒๕๔๕ ได้เข้าร่วมกิจกรรม งานเวทีเสวนา

                               ประกอบการสาธิต ณ หอศิลปวัฒนธรรมหลังอนุสาวรีย์

                               สามกษัตริย์

                           -   ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๕ เข้าร่วมซอและขบวนแห่บูชาเสา

                               อินทขิล ของโรงเรียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา

                           -   ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๔๕ ร่วมแสดงละครซอเผยแพร่เรื่อง

                               สุขบัญญัติสิบประการ ให้กับผู้สูงอายุตำบลหนองควาย

                               วัดตองกาย ต.หนองควาย อ. หางดง จ.เชียงใหม่

                           -   จัดทำโครงการซอพื้นเมืองกับวิถีชีวิตคนล้านเสนอ

                               คณะกรรมการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยภาค(สกว.)

                                                

                           ๓. การถ่ายทอด / การสืบทอด

                                      ปัจจุบันแม่บัวซอนได้ทำการสอนให้กับผู้ที่มีความสนใจการซอทั้งที่บ้านและสอนในโครงการสืบสานตำนานซอ ตามโรงเรียนต่างๆ ในจังหวัดเชียงใหม่โดยมีพ่อครูจันทร์ตา เลาคำ เป็นครูผู้ช่วย และมีแผนที่จะสร้างศูนย์การเรียนรู้เรื่องซอ

                           เพื่อใช้เป็นแหล่งข้อมูลและสอนซอ ให้กับเยาวชนที่สนใจ

                           จำนวนลูกศิษย์ที่มาเรียนซอกับแม่ครูบัวซอนมีมากกว่า ๑๐๐ คน

                           และมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในปัจจุบันหลายท่าน

                           เช่น แม่ศรีอร ทิพย์รัตน์ แม่พิกุล เมืองพร้าว

                                      บทบาทและการยอมรับจากสังคม จากประสบการณ์

                           ทียาวนานและการพัฒนาผลงานด้านการซอของแม่บัวซอน รวมถึงการให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ และการนำความรู้ด้าน

                           การซอเผยแพร่สู่กลุ่มเยาวชนในโรงเรียนต่าง ๆ อยู่เสมอ

                           ทำให้แม่ครูบัวซอนได้รับบทบาทสำคัญ และการยอมรับจาก

                           สังคมในเรื่องต่างๆ ต่อไปนี้

                           -   รางวัลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม (สวช.) ประจำปี ๒๕๓๐

-   รางวัลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมสาขาวรรณศิลป์

    ระดับจังหวัด (เชียงใหม่)ประจำปี พ.ศ.๒๕๓๕

-   รางวัลผู้อนุรักษ์ส่งเสริมศิลปะล้านนาในด้านวัฒนธรรม

    ประจำปี ๒๕๓๘

-   มูลนิธิสุจิตโตเพื่อการศึกษามอบโล่เกียรติคุณในฐานะ

    ผู้ให้บริการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาของเยาวชน

    อำเภอพร้าว   ประจำปี ๒๕๓๘

-   รางวัลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขา วรรณศิลป์ ระดับเขต ๘ ประจำปี ๒๕๓๙

-   รางวัลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขา วรรณศิลป์ ระดับชาติ ของภาคเหนือ ประจำปี ๒๕๓๙

-   ศิลปินพื้นบ้านดีเด่นสาขาการซอภาคเหนือจากสภาวัฒนธรรมแห่งประเทศไทยในปี พ.ศ. ๒๕๔๐

-   เกียรติบัตรจากมูลนิธิวาย.เอ็ม.ซี.เอ เพื่อการพัฒนาภาคเหนือจากการเข้าร่วมแสดงในงาน เบิกฟ้าเวียงพิงค์คู่สิ่งแวดล้อม ๔๐ เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก

-   ประกาศนียบัตรครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ ๑ สาขาวรรณกรรม (การซอ)จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๔

-   ปริญญาบัตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาวรรณกรรม) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี ๒๕๔๖

-   ปริญญาบัตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาวิจัยและเผยแพร่ ) มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๖

-   อดีตประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอพร้า

ฟังตัวอย่างซอของแม่บัวซอน

 http://www.imeem.com/people/bH1K-Pb/music/1C8LIk-J//

http://www.buasorn.com/bz03.html

                                           ขอบคุณที่มา  http://www.buasorn.com/

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม 2013 เวลา 18:46 น.