พ่อครูอินตา เลาคำ |
เขียนโดย ภาษาสยาม |
วันจันทร์ที่ 27 เมษายน 2009 เวลา 12:33 น. |
ประวัติพ่อครูจันทร์ตา เลาคำ นายอินตา เลาคำ เป็นนามที่ใช้ในบัตรประชาชน แต่ชื่อในการแสดงได้ใช้ชื่อว่า
นายอินตา เลาคำ เป็นบุตรชายของ นายสุข เลาคำ และนางแสง เลาคำ และมีพี่น้องร่วมสายเลือดทั้งหมด 8 คน คือ นางบัวเร็ว เลาคำ , เด็กชายประพันธ์ เลาคำ (เสียชีวิตแล้ว) , นายอินตา เลาคำ , นางสมเพชร จินดามัง , นางยุพิน แจ้งสว่าง , นายประสิทธิ เลาคำ (คือปั๋นแก้ว เลาคำ ช่างซอ) , นางพิมพ์พร เลาคำ (เสียชีวิตแล้ว) และนางหงษ์คำ เลาคำ ซึ่ง นายอินตา เลาคำ เป็นบุตรคนที่ 3 มีอุปนิสัยที่รักการแสดง ศิลปะ และการขับร้อง ขับซอ เป็นชีวิตจิตใจ มีนิสัยอ่อนโยน มีเหตุผล เอาจริงเอาจังกับงาน เป็นคนตรงไปตรงมาไม่ชอบอ้อมค้อม และรักความยุติธรรมเป็นที่สุด นายอินตา เลาคำ ได้เกิดกับครอบครัวที่มีฐานะยากจน พ่อแม่มีอาชีพทำนา ทำไร รับจ้างทั่วไป แต่ด้วยความชอบและรักในการแสดงร้องรำทำเพลงเป็นชีวิตจิตใจ ทุกวันเวลาไปทำนา ทำไร่ หรือทำงาน นายอินตา จะหิ้ววิทยุทรานซิสเตอร์ไปด้วยทุกครั้งไม่เคยขาด นอกจากเป็นคนที่มีนิสัยอ่อนโยน และยังขยันช่วยพ่อแม่กตัญญูรู้คุณ พอถึงหน้าทำนา นายอินตา ก็จะไปเป็นลูกจ้างเลี้ยงควาย โดยจะต้องตื่นเวลา 5.00 น.ทุกวันเพื่อขี่ควายไปส่งให้นายจ้างที่ทุ่งนาแล้วกลับไปเก็บมูลควายให้สะอาด จากนั้นจึงกินข้าวอย่างเร่งรีบเพื่อให้ทันไปรับควายมาเลี้ยง พอถึงเวลาเที่ยงก็นำควายกลับให้นายจ้างได้ใช้ไถนา จากนั้นต้องกลับมานำฟืนทำกองไฟเพื่อสุมให้ควายกันเลือบ ยุง พอตกเย็นก็ไปรับควายกลับบ้าน ทำอย่างนี้ตลอดระยะเวลาจนทำนาเสร็จประมาณ 1 เดือน หรือเดือนครึ่ง ก็จะได้ค่าจ้างเป็นข้าวเปลือก 5 กระบุง และช่วงของการทำนา นายอินตาก็จะใช้เวลาว่างหรือในช่วงเที่ยงที่เลี้ยงควายทำเบ็ดตกปลาไปด้วย เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระพ่อแม่อีกทางหนึ่ง เป็นอย่างนี้ตลอดทั้งปี และเป็นประจำทุกปี เมื่ออายุได้ 11 ปี นายอินตา เลาคำ ได้จบการศึกษาจากชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 4 พ.ศ. 2509และได้ออกมาช่วยพ่อแม่ทำไร่ทำนา ประกอบกับฐานะพ่อแม่ยากจน ครอบครัวจึงไม่มีใครมีโอกาสเล่าเรียนถึงมัธยมปลาย จนอายุได้ 18 ปี ได้ทราบว่ามีเพื่อนในหมู่บ้านเดียวกันไปเรียนการขับซอกับคุณแม่คำปัน เงาใส ศิลปินอาวุโส ชื่อดังแห่งบ้านทุ่งหลวง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งด้วยความชอบ และรักในการแสดง จึงได้เข้าไปขอเป็นศิษย์กับคุณแม่คำปัน เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2515 ในการเรียนช่วงแรกก็มีปัญหาเสียงไม่ดี แต่ด้วยความรักที่จะเป็นศิลปิน จึงหันมาฝึกการแสดงนายอ่าย (ตัวตลก) ซึ่งในตอนนั้นนายอ่ายที่มีชื่อเสียงคือ พ่อบุญตัน ชือทัศ อยู่บ้านหนองไคร่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยแม่ครูเป็นผู้แนะแนว และติตามดูการแสดงมาโดยตลอด พร้อมกันนั้น พ่อบุญตัน ยังได้ทำการฝึกหัดการเป่าปี่ให้กับแม่ครูคำปันอีกทางหนึ่งด้วย 1 วง โดยใช้ชื่อคณะพร้าวล้านนา ปี 2534 จึงได้มีโอกาสร่วมวงกับบุญศรี รัตนัง ซึ่งเป็นคู่สำรอง พอถึงปี 2537 ก็ลาออกจากวงละครซอศรีสมเพชร 2 และได้ร่วมงานกับบุญศรี รัตนัง จัดตั้งวงละครซอขึ้นอีกครั้ง โดยใช้ชื่อคณะบุญศรี รัตนัง ซึ่งทำเป็นวงละครซอควบคู่กับดนตรีลูกทุ่งวงใหญ่ มีลูกสมาชิกทั้งหมด 42 คน โดยนายอินตา เลาคำ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการวง และคิดหาวิธีพัฒนาการแสดงต่างๆ โดยการนำเอากลองสบัดชัย และกลองปู่เจ่ กลองตึ่งนง และกลองมองเซิงเข้ามามีบทบาทควบคู่ไปกับการขับร้องเพลงลูกทุ่งคำเมือง จนทำให้บุญศรี รัตนัง ได้เป็นนักร้องพระพิฆเนศทองพระราชทานขึ้นในปี 2539 ส่งผลให้การแสดงเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่นั้นมา จนมาถึงปี 2544 บุญศรี รัตนัง เกิดอาการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดอาการวูบ มือเท้าชาจนเดินไม่ได้ อาการดังกล่าวได้เกิดขึ้นในช่วงที่กำลังทำการแสดง ในที่สุดจึงต้องประกาศยุบวงในวันที่ 20 พฤษภาคม 2544 นายอินตา เลาคำ จึงได้มาร่วมกับคุณแม่บัวซอน ถนอมบุญ ตั้งคณะละครซอใหม่ขึ้นมา โดยใช้ชื่อว่า คณะดาวล้านนา มีสมาชิกเกินกว่า 20 คน ซึ่งได้รวบรวมลูกศิษย์และเพื่อนๆเข้ามามีส่วนร่วมในคณะละครซอดังกล่าว โดยนายอินตา เลาคำ เป็นผู้ควบคุมวง และการแสดงทั้งหมด เกียรติคุณและรางวัลที่เคยได้รับ 1. เกียรติบัตรจากสำนักงานการประถมศึกษา อำเภอแม่แตง ได้สนับสนุนและส่งเสริม 2. เกียรติบัตรจากคณะสงฆ์ อำเภอแม่ริม ในการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมตามโครงการ 3. เกียรติบัตรจากสถาบันราชภัฎเชียงใหม่ที่เข้าร่วมแสดงซอและดนตรีพื้นบ้าน วันที่ 7 ธันวาคม 2542 4. เกียรติบัตรจากโรงเรียนสามัคคีวิทยาที่ได้ช่วยเหลือกิจกรรมของโรงเรียน 5. เกียรติบัตรจากสถาบันราชภัฎเชียงใหม่ ในการให้ความร่วมมือแสดงดนตรีพื้นบ้าน (ซอ) 6. เกียรติบัตรจากวิทยาเขตอินทนนท์จัดค่ายพัฒนาจัดค่ายอัจฉริยะนักเรียน ในวันที่ 9 มิถุนายน 2544 7. โล่เกียรติยศ นักแสดงยอดเยี่ยมระดับจังหวัด วันที่ 5 เมษายน 2545 |
แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม 2010 เวลา 12:21 น. |