“วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล"วัดโบราณที่ประดิษฐานพระเจดีย์อายุกว่า ๗๓๐ ปี |
![]() |
![]() |
![]() |
เขียนโดย ภาษาสยาม |
วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม 2013 เวลา 08:47 น. |
“วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล (พระมหาธาตุเจดีย์ บารมี ๑๙ ยอด)อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนกำแพงเมืองโบราณของอำเภอพร้าว สร้างสมัยพระราชวงศ์มังรายมหาราชแห่งอาณาจักรล้านนาไทย มีอายุการสร้าง ๗๓๐ ปี เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคลหลังจากล่มสลายไปตามกาลเวลาเมื่อหลายร้อยปีก่อน เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๔๖ ได้มีการค้นพบวัดพระธาตุดอยเวียง มีการค้นพบพระธาตุภายในซึ่งบรรจุเส้นพระเกศาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากตำนานที่เล่าย้อนหลังถึงแบ่งเป็น ๔ ยุคในประวัติขององค์พระธาตุนี้ จากนั้นได้เริ่มพัฒนาบูรณะปฏิสังขรณ์ จนปัจจุบัน ได้ค้นพบโบราณวัตถุหลายรายการเช่น ก้อนอิฐที่จารึกตัวอักษรฝักขาม, ถ้วยชามสังคโลก, เครื่องปั้นดินเผา, ยอดฉัตรพระธาตุ (เจดีย์) ที่ทำจากทองจังโก้ และโบราณวัตถุอีกมากมาย
ประวัติพระพุทธรูปปางทรงเครื่อง (พระพุทธรูปปางโปรดพญาชมพูบดี) จำนวน ๑๐ องค์
องค์ที่ ๑ พระนามว่า พระมหาจักรพรรดิดับภยชัยมงคล (หลวงพ่อเศรษฐี) หล่อด้วยทองสำริด หน้าตัก ๘๔ นิ้ว ศิลปะทรงเครื่องล้านนาโบราณ
องค์ที่ ๒ พระนามว่า พระเจ้าล้านทองหล่อด้วยทองเหลือบริสุทธิ์ หน้าตัก ๔๒ นิ้ว ศิลปะทรงเครื่องเชียงแสนลังกาวงศ์
องค์ที่ ๓ พระนามว่า พระเจ้าแสนล้านหล่อด้วยทองเหลืองบริสุทธิ์ หน้าตัก ๓๙ นิ้ว ศิลปะทรงเครื่องเชียงแสนสิงห์สาม
องค์ที่ ๔ พระนามว่า พระเจ้าห้ามมารบันดาลโชคหล่อด้วยทองเหลืองบริสุทธิ์ ยืนสูง ๖๐ นิ้ว ศิลปะทรงเครื่องล้านนา
พระอัครสาวกปัจวัคคีย์ทั้ง ๕ องค์ หล่อด้วยทองเหลืองบริสุทธิ์ หน้าตัก ๒๑ นิ้ว ศิลปะล้านนาทรงเครื่องปางนั่งพนมมือ
พระมหาธาตุดอยเวียงชัยมงคล เป็นธาตุเจดีย์โบราณที่ใหญ่ที่สุดของอำเภอพร้าว มีขนาดความกว้างของฐานทั้งสี่ด้านรวม ๓๖ เมตร อดีตใช้เป็นที่พักทัพ ตั้งทัพของกษัตริย์ล้านนาเมื่อครั้งเดินทางผ่านเข้าออกเมืองพร้าว ในยามบ้านเมืองสงบ และยามศึกสงคราม เพราะยังปรากฏร่องรอยแนวคู่ค่ายให้เห็นรอบวัดพระธาตุดอยเวียงชัยมงคล จึงนับว่าเป็นสถานที่เก่าแก่ และสำคัญยิ่งอีกแห่งหนึ่งของอำเภอพร้าว ที่ควรค่าแก่การศึกษา อนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นที่กราบไหว้สักการะบูชาสืบไป
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 22 ธันวาคม 2014 เวลา 06:36 น. |