เสาหลักเมืองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พิมพ์
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันเสาร์ที่ 06 กันยายน 2008 เวลา 13:03 น.

                              

 

หลักเมือง..หลักชัยแห่งพระนคร

 

 

 การสร้างหลักเมือง  เป็นประเพณีโบราณที่เชื่อกันว่าจะทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมือง

 

 และช่วยผดุงขวัญกำลังใจแก่พสกนิกร  ให้มีความมั่นใจว่าจะอยู่เย็นเป็นสุขและ มีความรุ่งเรืองสถาพรสืบไป 

 

 

         กรุงรัตนโกสินทร์ได้ทำพิธียกเสาหลักเมืองเมื่อวันอาทิตย์ เดือนหก  ขึ้นสิบค่ำ  ปีขาล

 

จัตวาศก  จุลศักราช ๑๑๔๔  ฤกษ์เวลาย่ำรุ่ง  ๔๕ นาที  ตรงกับวันที่  ๒๑ เมษายน  พุทธศักราช ๒๓๒๕   

  

       สำหรับฤกษ์ดวงชะตาเมืองนั้นมีบันทึกไว้ว่าลัคนาสถิตราศีเมษกุมอาทิตย์  เกตุอังคารอยู่ที่ราศี

 

 มฤตยูราศีเมถุน  จันทรราศีกรกฎ  เสาร์และพฤหัสราศีธนูศุกร์และพุธราศีมีน     

      

       เสาหลักเมืองนั้นเป็นไม้ชัยพฤกษ์  แล้วนำไม้แก่นมาประดับด้านนอก  ความสูงที่ฝังดินแล้ว  ๑๐๘ นิ้ว

 

   ฝังลึกลงไปในดิน  ๗๙  นิ้ว  มีเม็ดยอดสวมลงบนเสาหลัก  ลงรักปิดทอง  ภายในมีช่องสำหรับ

 

บรรจุดวงเมือง  

 

 

          ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔  ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างศาลหลักเมือง

 

ขึ้นใหม่ โดยสร้างเป็นศาลรูปปรางค์ยอดตามแบบสมัยกรุงศรีอยุธยา  และจารึกดวงชะตาเมืองลงบนแผ่น

 

สุพรรณบัฏ ( ทองคำ )

 

 ในพระอุโบสถวัดพระแก้ว  แล้วอัญเชิญบรรจุลงบนยอดหลักเมือง  เมื่อวันอาทิตย์   เดือนอ้าย  แรมเก้าค่ำ 

 

 ปีฉลูเบญจศก  จุลศักราช ๑๒๑๕  ตรงกับวันที่ ๕ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๙๖    

 

ขอขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต 

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2010 เวลา 19:57 น.