เสาชิงช้า |
![]() |
เขียนโดย ภาษาสยาม |
วันเสาร์ที่ 06 กันยายน 2008 เวลา 13:06 น. |
เสาชิงช้า สิ่งสำคัญในพิธีตรียัมปวาย
หากจะกล่าวถึงกรุงเทพมหานคร ทุกคนคงจะนึกถึงสถานที่แตกต่างกันไป
แต่เชื่อว่าจะต้องมีหลายๆ คนที่นึกถึงภาพเสาชิงช้าที่ปรากฏแก่สายตาของ
ชาวรัตนโกสินทร์มานานแสนนาน
เสาชิงช้าตั้งอยู่หน้าวัดสุทัศน์เทพวนาราม เป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่แกะสลักอย่างสวยงาม
ตั้งอยู่บน แท่นหินใหญ่ พิธีโล้ชิงช้าเป็นพิธีของพราหมณ์ เป็นส่วนหนึ่งของพิธีตรียัมปวาย
เป็นการต้อนรับพระอิศวร ซึ่งจะ เสด็จลงสู่โลก ในวันขึ้นเจ็ดค่ำ เดือนยี่ มีการแห่พระเป็นเจ้า
ไปถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัว พิธีตรียัมปวาย จัดที่เทวสถาน ๓ เทวสถาน คือ เทวสถานพระอิศวร
เทวสถานพระมหาวิฆเนศวร และเทวสถาน พระนารายณ์
โดยโลกบาลทั้ง ๔ ( พระยายืนชิงช้า และนาลิวัน ) จะต้องโล้ชิงช้าถวาย และรับน้ำเทพมนตร์
กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็นโบราณสถานสำคัญของไทยเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๙๒
ปัจจุบันเสาชิงช้าถูกถอนออกเมื่อ วันที่ ๖ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ และตั้งเสาใหม่ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙ โดยใช้ต้นสักทองจากอำเภอเด่นชัยจังหวัดแพร่ สำหรับเสาต้นที่ ๑
และ ๒ เสาต้นที่ ๑ เส้นรอบวงโคนต้น ๓๖๐ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๑๔ เซนติเมตร ความสูง
มากกว่า ๔๐ เมตร
เสาต้นที่ ๒ เส้นรอบวงโคนต้น ๓๕๒ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง ๑๑๒เซนติเมตร ความสูง
มากกว่า ๓๐ เมตร
ส่วนต้นที่ ๓ – ๖ นั้นนำต้นสักมาจากสวนป่าห้วยไร่ ที่มีอายุ ๖๑ ปี มีเส้นรอบวงโคนต้น ๒๓๐
เซนติเมตร สูง ๒๐ เมตร
ขอขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2010 เวลา 20:04 น. |