สนามหลวง |
![]() |
![]() |
![]() |
เขียนโดย ภาษาสยาม |
วันเสาร์ที่ 06 กันยายน 2008 เวลา 13:24 น. |
ท้องสนามหลวง ดินแดนแห่งประวัติศาสตร์
หากสามารถนำภาพอดีตมาร้อยเกี่ยวเป็นฉากทับซ้อนกันได้หมด ท้องสนามหลวงคงจะเต็มไปด้วย เหตุการณ์มากมาย สมกับที่ได้รับใช้แผ่นดินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์มามากกว่า ๒๐๐ ปี ท้องสนามหลวงนั้นอยู่เคียงคู่กรุงรัตนโกสินทร์มาตั้งแต่เริ่มสร้างกรุงในปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ นับตั้งแต่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่ในสมัยนั้นท้องสนามหลวงมิได้มีพื้นที่กว้างขวางดังเช่นปัจจุบัน แต่มีพื้นที่จากประตูวิเศษไชยศรีจนถึง หน้าวัดมหาธาตุเท่านั้น ทุ่งพระสุเมรุ เป็นชื่อที่ชาวบ้านใช้เรียกสนามหลวงในอดีต เพราะเคยเป็นสถานที่จัดพระเมรุมาศถวาย พระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าแผ่นดิน และพระศพพระราชวงศ์พระองค์ต่างๆ จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า คำว่า ทุ่งพระสุเมรุ ไม่เป็นมงคล จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนนามใหม่ว่า ท้องสนามหลวง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ ทรงโปรดเกล้าฯให้รื้อป้อมปราการต่างๆเพื่อปรับปรุงทัศนียภาพในพระนคร ท้องสนามหลวงจึงมีพื้นที่เพิ่มขึ้น อีกราวเท่าตัว และโปรดให้ปลูกต้นมะขามโดยรอบสนามหลวงเพื่อให้เกิดความร่มรื่น สนามหลวงจึงมีพื้นที่ดัง ที่เห็นในปัจจุบัน คือ ทิศเหนือจรดถนนราชินี ทิศใต้จรดถนนหน้าพระลาน ทิศตะวันออกจรดถนนราชดำเนิน ใน ทิศตะวันตกจรดถนนหน้าพระธาตุ ในปัจจุบันท้องสนามหลวงยังคงเป็นสถานที่จัดงานในวันสำคัญต่างๆมากมาย รวมไปถึงเป็นสถานที่ พักผ่อนหย่อนใจแก่ประชาชนเรื่อยมาตราบจนถึงทุกวันนี้ ขอขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ 2010 เวลา 13:20 น. |