ศรีปราชญ์ PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันเสาร์ที่ 06 กันยายน 2008 เวลา 07:49 น.

       ศรีปราชญ์

 

             ศรีปราชญ์ เป็นบุตรของพระโหราธิบดี เกิดในปี พ.ศ.๒๑๙๖ รัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ.๒๑๙๙ -๒๒๓๑) หลังจากที่สมเด็จพระนารายณ์เสด็จขึ้น ครองราชย์แทนพระเจ้าศรีสุธรรมราชา ศรีปราชญ์นั้นแต่เดิมชื่อ ศรี ส่วนชื่อ ศรีปราชญ์ นั้นเป็นตำแหน่งที่พระนารายณ์ทรงพระราชทานให้

 

 เมื่อศรีปราชญ์มีอายุได้ ๙ ขวบนั้น ในคืน วันหนึ่ง เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงพระราชนิพนธ์โคลงไม่จบบท เพราะมีราชกิจอื่นเข้ามาแทรกเสียก่อน จึงโปรดให้พระโหราธิบดีนำไปแต่งต่อเพื่อให้จบบท แล้วนำมาถวายพระองค์ในวันรุ่งขึ้น พระโหราธิบดีพยายามอย่างดีที่สุดเพื่อแต่งโคลงนั้นให้จบ แต่ก็คิดไม่ออกสักทีท่านจึงวางทิ้งไว้อย่างนั้น  โคลงดังกล่าว คือ

 

อันใดย้ำแก้มแม่

 

หมองหมาย

ยุงเหลือบฤๅริ้นพราย

 

ลอบกล้ำ

 

จนรุ่งเช้าอีกวันหนึ่งเมื่อท่านจะนำมา แต่งต่อ ปรากฏว่าอีก ๒ บาทสุดท้ายนั้นได้มีผู้เขียนต่อให้แล้ว สำนวนที่แต่งนั้นมีความไพเราะ และถูกต้องตามฉันทลักษณ์ทุกประการ  โคลงดังกล่าวถูกแต่งต่อว่า

 

ผิวชนแต่จักกราย                             ยังยาก

ใครจักอาจให้ช้ำ                              ชอกเนื้อเรียมสงวน

 

จากนั้นพระโหราธิบดีได้เรียกบุตรชายมาสอบถามก็ได้ความว่า ศรีปราชญ์เป็นผู้ที่แต่งโคลงนั้น จึงเกิดความตกใจด้วยเกรงพระราชอาญา แต่เมื่อนำโคลงบทไปถวายสมเด็จพระนารายณ์ ปรากฏว่าพระองค์ทรงพอพระทัยมาก สมเด็จพระนารายณ์ เรียก ตัวศรีปราชญ์เข้าเฝ้าในทันที แล้วทรงแต่งตั้งให้ทำงานในราชสำนัก และถึงแม้ว่า พระโหราธิบดี จะมีความภาคภูมิใจกับอนาคตอันสดใสของบุตรชาย แต่ท่านก็ยังวิตกกังวลว่าในอนาคต ศรีปราชญ์อาจจะเผลอไผลจนกระทบกระเทือนพระราชหฤทัยของสมเด็จพระนารายณ์ หรือเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ท่านอื่น ๆ เนื่องจากศรีปราชญ์เป็นผู้ที่มีความทะนงตน พระโหราธิบดีจึงกราบทูลสมเด็จพระนารายณ์ ขอให้โปรดพระราชทานอภัยโทษไว้ถ้าหากว่าจะต้องราชทัณฑ์ ถึงประหารชีวิตขอให้พิจารณาลดหย่อนเพียงเนรเทศเท่านั้น พระองค์ก็ทรงยินยอม หลังจากรับใช้เบื้องพระยุคลบาทมาพอสมควรท่านก็ได้รับพระราชทินนามว่า “ ศรีปราชญ์ ”

 

 

ตอนที่สมเด็จพระนารายณ์เดินทางไปประพาสยังป่าแก้ว พระยารามเดโชโดนลิงอุจจาระลงศีรษะบรรดาทหารต่างๆก็หัวเราะ สมเด็จพระนารายณ์ที่บรรทมอยู่จึงตื่นขึ้นแล้วตรัสถามอำมาตย์แต่ไม่มีใครกล้ากราบบังคมทูลเพราะกลัวจะไม่สบพระราชหฤทัยสมเด็จพระนารายณ์จึงเรียกมหาดเล็กศรีมาถาม ฝ่ายเจ้าศรีรับใช้มานานจนทราบพระราชอัธยาศัยจึงกราบบังคมทูลด้วยคำคล้องจองว่า พยัคฆะ ขอเดชะ วานระ ถ่ายอุจจาระ รดศีรษะ พระยารามเดโช สมเด็จพระนารายณ์พอพระทัยเป็นอย่างมากแต่นั่นก็เป็นการสร้างความขุ่นเคืองให้พระยารามเดโชเป็นอย่างมาก สมเด็จพระนารายณ์ถึงกับตรัสว่า ศรีเอ๋ย เจ้าจงเป็นศรีปราชญ์ตั้งแต่บัดนี้เถิด

 

ในคืนวันลอยกระทงศรีปราชญ์ได้ดื่มสุราแล้วเมาจากนั้นก็เดินไปข้าง ๆ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์เพราะฤทธิ์สุรา ท้าวศรีฯ เห็นศรีปราชญ์มายืนข้างๆก็ไม่พอพระทัยจึงว่าศรีปราชญ์เป็นโคลงว่า

 

หะหายกระต่ายเต้น

 

ชมจันทร์

มันบ่เจียมตัวมัน

 

ต่ำต้อย

นกยูงหากกระสัน

 

ถึงเมฆ

มันบ่เจียมตัวน้อย

 

ต่ำต้อยเดียรฉาน ฯ

 

ศรีปราชญ์ได้ยินดังนั้นก็รู้ว่าพระสนมเอกได้หาว่าตนเป็นเดียรฉานจึงย้อนไปเป็นโคลงว่า

 

หะหายกระต่ายเต้น

 

ชมแข

สูงส่งสุดตาแล

 

สู่ฟ้า

ระดูฤดีแด

 

สัตว์สู่ กันนา

อย่าว่าเราเจ้าข้า

 

อยู่พื้นเดียวกัน ฯ

 

 

สนมเอกได้ฟังก็ไม่พอพระทัยจึงไปทูลฟ้องสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระองค์จึงให้ศรีปราชญ์ไปอยู่ในคุกหลวงแต่ไม่ต้องไปทำงานเหมือนนักโทษคนอื่นๆ พระยารามเดโชเห็นดังนั้นจึงให้ศรีปราชญ์มาทำงานเหมือนนักโทษคนอื่นๆ ฝ่ายศรีปราชญ์นั้นเก่งแต่ทางโคลงมิได้เก่งทางด้านการใช้แรงงาน ทางสนมเอกฯ ได้ข่าวก็เสด็จไปที่ที่ศรีปราชญ์ขุดคลองอยู่ เมื่อพระสนมเอกได้ตรัสว่าศรีปราชญ์สมพระทัยแล้วจึงเสด็จกลับ แต่ต้องสวนกลับทางที่ศรีปราชญ์ได้ขนโคลนไปแล้ว พวกนางรับใช้ของพระสนมเอกหมั่นไส้จึงขัดขาศรีปราชญ์ ดังนั้นโคลนจึงหกใส่พระสนมเอกซึ่งมีโทษถึงประหาร แต่พระโหราธิบดีได้เคยทูลขอกับสมเด็จพระนารายณ์ฯ ว่า หากเจ้าศรีทำผิดแล้วมีโทษถึงประหาร ขอพระราชทานให้ลดโทษเหลือเพียงเนรเทศ ดังนั้นสมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงเนรเทศศรีปราชญ์ไปเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งที่เมืองนครศรีธรรมราชนี้เองที่ศรีปราชญ์สามารถแสดงทักษะด้านกวีได้อีกเช่นกัน เพราะว่าท่านเจ้าเมืองเองก็มีใจชอบด้านกวีอยู่แล้ว และด้วยความเป็นอัจฉริยะของศรีปราชญ์นี้เองที่ทำให้ท่านเจ้าเมืองโปรดปรานเขา ทำให้มีคนหมั่นไส้และเคืองแค้นศรีปราชญ์ จึงได้ใส่ร้ายศรีปราชญ์ ว่าลักลอบเป็นชู้กับภริยาของพระยานคร พระยานครหลงเชื่อจึงสั่งให้นำตัวศรีปราชญ์ไปประหารชีวิต ศรีปราชญ์ประท้วงโทษประหารชีวิตแต่ท่านเจ้าเมืองไม่ฟัง ซึ่งปัจจุบันเชื่อกันว่าสถานที่ใช้ล้างดาบที่ใช้ประหารชีวิตศรีปราชญ์นั้น ตั้งอยู่ภายในโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เรียกว่า "สระล้างดาบศรีปราชญ์"[1] และก่อนที่เพชฌฆาตจะลงดาบประหารศรีปราชญ์ได้ขออนุญาตเขียนโคลงบทสุดท้ายไว้กับพื้นธรณีว่า

 

ธรณีนี่นี้

 

เป็นพยาน

เราก็ศิษย์มีอาจารย์

 

หนึ่งบ้าง

เราผิดท่านประหาร

 

เราชอบ

เราบ่ผิดท่านมล้าง

 

ดาบนี้คืนสนอง ฯ

 

ในขณะที่ถูกประหารนั้นศรีปราชญ์มีอายุประมาณ ๓๐ หรือ ๓๕ ปี ได้ข่าวการประหารศรีปราชญ์ แพร่ไปถึงพระกรรณของสมเด็จพระนารายณ์ผู้ซึ่งใคร่จะเรียกตัวศรีปราชญ์มาใช้งานในเมืองหลวงพระองค์ทรงพระพิโรธเจ้าเมืองนคร ฯ ผู้ซึ่งกระทำการโดยปราศจากความเห็นชอบของพระองค์ และเมื่อพระองค์ได้ทราบถึงโคลงบทสุดท้ายของศรีปราชญ์จึงมีพระบรมราชโองการให้นำเอาดาบที่เจ้าพระยานคร ฯ ใช้ประหารศรีปราชญ์แล้วนั้นนำมาประหารชีวิตเจ้านครศรีธรรมราช ให้ตายตกไปตามกัน สมดังคำที่ศรีปราชญ์เขียนไว้เป็นโคลงบทสุดท้ายก่อนสิ้นชีวิตว่า “ ดาบนี้คืนสนอง ”

 

สระล้างบาปศรีปราชญ์ ฐานข้อมูลทางวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนครศรีธรรมราช.

 


 

แก้ไขล่าสุด ใน วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม 2018 เวลา 22:19 น.
 

Facebook Like Box

ออนไลน์

เรามี 5 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ผู้เยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้29
mod_vvisit_counterเมื่อวาน171
mod_vvisit_counterอาทิตย์นี้314
mod_vvisit_counterเดือนนี้3652
mod_vvisit_counterทั้งหมด6426018