กฎหมายตราสามดวง |
![]() |
![]() |
![]() |
เขียนโดย ภาษาสยาม |
วันเสาร์ที่ 06 กันยายน 2008 เวลา 14:36 น. |
กฎหมายตราสามดวง ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ลักษณะการแต่ง แต่งเป็นร้อยแก้ว กฎหมายตราสามดวง คือ ประมวลกฎหมายในรัชกาลที่ ๑ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชำระกฎหมายเก่า ที่มีมาแต่ครั้ง โบราณ แล้วรวบรวมเป็นประมวลกฎหมายขึ้นเมื่อ จุลศักราช ๑๑๖๖ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๔๗ โปรดให้เรียกว่า “กฎหมายตราสามดวง” ให้อาลักษณ์ชุบเส้นหมึกสามชุด แต่ละชุดประทับตรา ๓ ดวง คือ ตราราชสีห์ คชสีห์ และบัวแก้ว ไว้ทุกเล่มเก็บไว้ ณ ห้องเครื่องชุดหนึ่ง หอหลวงชุดหนึ่ง และศาลหลวงอีกชุดหนึ่ง เมื่อครั้งที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง จัดพิมพ์เผยแพร่ เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๒ ม.เอร์ แลงกาต์ ดอกเตอร์กฎหมาย ฝรั่งเศส เป็นผู้ชำระกฎหมายตราสามดวงใหม่นั้น ได้สันนิษฐานว่าหนังสือฉบับหลวงชุดหนึ่งเป็นสมุดไทย ๔๑ เล่ม ฉะนั้น กฎหมายฉบับหลวงมีตราสามดวงซึ่ง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น จึงมี ๑๒๓ เล่ม ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง ๗๙ เล่ม เก็บไว้ที่กระทรวงยุติธรรม ๓๗ เล่ม หอสมุดแห่งชาติ ๔๒ เล่ม ส่วนอีก ๔๔ เล่ม ไม่ทราบว่า ขาดหายไปด้วยประการใด นอกจากฉบับหลวง ตราสามดวง ๓ ชุด ดังกล่าวแล้ว ปรากฏว่ายังมีฉบับรองทรงอีกฉบับหนึ่ง |