กฎหมายตราสามดวง พิมพ์
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันศุกร์ที่ 19 กันยายน 2008 เวลา 21:54 น.

          หลักกฎหมายตราสามดวงเป็นหลักกฎหมายที่ทรงคุณค่าตราบจนปัจจุบัน

กฎหมายตราสามดวงเกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่กฎหมายในสมัยอยุธยาสูญหายไปเมื่อครั้งเสียกรุง

เมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์มีผู้ที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนแก้ไขกฎหมายจนขาดความยุติธรรม

ประกอบกับเกิดคดีความคดีหนึ่งที่หญิงมีสามีแล้วไปมีชู้กับชายอื่นแต่กฎหมายกลับให้หญิง

ฟ้องหย่าสามีได้  แทนที่สามีจะฟ้องหย่าได้ฝ่ายเดียว  ซึ่งถือเป็นกฎหมายที่ไม่ยุติธรรม

ดังนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงโปรดให้มีการชำระกฎหมายใหม่

ออกมา ๓ ฉบับ  ไว้ห้องเครื่องฉบับหนึ่ง  หอหลวงแบบหนึ่ง  ศาลหลวงฉบับหนึ่ง

แล้วประทับตามสามดวง  คือ ตราราชสีห์  ซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่งสมุหนายก 

ตราคชสีห์  ซึ่งเป็นตราประจำตำแหน่งสมุหกลาโหม  ตราบัวแก้ว  ซึ่งเป็นตรา

ประจำตำแหน่งโกษาธิบดี  แล้วให้เรียกกฎหมายนี้ว่า กฎหมายตราสามดวง

ปัจจุบันมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ ๑

ผู้แต่ง                     ลูกขุน  อาลักษณ์  ราชบัณฑิต ไม่ทราบนาม

ความมุ่งหมาย          เพื่อชำระสะสางกฎหมายที่เหลืออยู่ให้ถูกต้องตามหลักนิติธรรม

ลักษณะการแต่ง       แต่งเป้นร้อยแก้ว  โดยมีบาลีแทรกในตอนต้น  และมีภาษาโบราณแทรก

                             ในส่วนที่สำคัญ

เนื้อหาสาระ

             ตอนแรกกล่าวถึงพระมนุสาราจารย์ฤาษีไปพบคัมภร์พระธรรมศาสตร์

ซึ่งจารึกไว้กำแพงจักรวาล  แล้วนำมาสั่งสอนพระเจ้าสมมุติราช  พระเจ้าสมมุติราช

ทรงเลื่อมใสและนำกฎหมายนั้นมาใช้ปกครองบ้านเมือง  ตอนสองกล่าวถึง

ตัวบทพระธรรมศาสตร์ ซึ่งมีทั้งหมด  ๒๘ เรื่อง

 

ที่มา  วรรณกรรมกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยรัชกาลที่ ๑  ๒ ๓ . อุทัย  ไชยานนท์