ลิลิตนิทราชาคริต |
![]() |
![]() |
![]() |
เขียนโดย ภาษาสยาม |
วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม 2008 เวลา 20:53 น. |
ลิลิตนิทราชาคริตนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชนิพนธ์เมื่อ
ปี พ.ศ. ๒๔๒๒ โดยทรงแปลเก็บเนื้อความมาจากนิทาน เรื่อง " The Sleeper Awaken "
ซึ่งเป็นนิทานอาหรับโดยไม่ทราบว่าใครแต่ง และแต่งเมื่อใด
ความมุ่งหมาย พระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ในงานปีใหม่
ลักษณะการแต่ง แต่งเป็นลิลิตสุภาพ มีร่ายและโคลงสลับกัน
เนื้อหาสาระ
เป็นนิทานเรื่องหนึ่งที่นางเซหะระซัดเล่าถวายพระราชา โดยเล่าว่า...............
พระเจ้ากาหลิบพระองค์หนึ่งพระนามว่า พระเจ้าฮารูนอาลราษจิต เสวยราชสมบัติ ณ
กรุงแบกแดด พระองค์ทรงปลอมเป็นพ่อค้า เที่ยวสัญจรไปตามเมืองต่างๆอยู่เนืองนิตย์
ประชาชนจึงอยู่เย็นเป็นสุขเรื่อยมา
มีทายาทของนายพาณิชผู้มั่งมีคนหนึ่งชื่อ อาบูหะซัน เมื่อบิดาสิ้นชีพแล้ว เขาจึง
แบ่งทรัพย์สมบัติออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งซื้อที่ดินเรือกสวนไร่นาและตึกรามบ้านช่องไว้ให้
คนเช่าอีกส่วนหนึ่งเก็บไว้เพื่อการสำราญเลี้ยงเพื่อนฝูงและนารี โดยไม่คิดทำการค้าขายอีก
ต่อไป อาบูประพฤติเช่นนี้เป็นเวลา ๑ ปี เงินทองก็หมดสิ้นไป จึงเที่ยวยืมเงินเพื่อนฝูง แต่
กลับต้องผิดหวังเมื่อเพื่อนฝูงหลบหน้า และพากันรังเกียจ เขาจึงพากเพียรเก็บออมเงินทอง
เพื่อค้าขายใหม่ ในไม่ช้าเขาก็กลับมามั่งคั่งตามเดิม เขาได้ตั้งสัตย์ไว้ในใจว่าจะไม่คบ
เพื่อนฝูงในเมืองแบกแดดอีกเป็นอันขาดและจะคบแต่เพื่อนต่างเมืองเท่านั้น เพียงคืนเดียว
เมื่อพบปะกันอีกก็จะทำเป็นไม่รู้จัก
วันหนึ่งพระเจ้าฮารูนอาลราษจิต ปลอมพระองค์เป็นพ่อค้ามาเมืองมุศสุล
มีทาสผิวดำมาด้วยคนหนึ่ง เมื่อเสด็จมาถึงบ้านอาบูจึงได้รับเชิญให้เข้าไปในบ้านของตน
และบอกว่าจะต้อนรับเพียงคืนเดียว พระเจ้ากาหลิบเห็นแปลกก็รับเชิญ ขณะบริโภคอาหาร
และดื่มสุราอย่างสนุกสนานนั้นพระเจ้ากาหลิบพยายามลวงถามถึงชีวิตอาบู และความเป็นไป
ของคนในแบกแดด อาบูก็เล่าความจริง ถึงอีแมนซึ่งเป็นอาจารย์และศิษย์ทั้งสี่ ว่าประพฤติ
ตนชั่วช้าและเล่าต่ออีกว่า หากเขาเป็นพระเจ้ากาหลิบจะจับอีแมนกับศิษย์มาเฆี่ยนประจาน
ให้หลาบจำ ตกดึกพระเจ้ากาหลิบจึงโรยยาสลบให้อาบูดื่ม เมื่ออาบูสิ้นสติจึงสั่งทาสให้แบก
อาบูเข้าวังทันที
พระเจ้ากาหลิบจึงสั่งให้แต่งเครื่องทรงอาบูอย่างกษัตริย์ และกำชับขุนนางให้ปฏิบัติ
กับอาบูเหมือนปฏิบัติกับพระองค์ ครั้งรุ่งขึ้นอาบูตื่นจึงคิดว่าตนฝันไป แต่เหล่าสนมและ
อำมาตย์ยืนยันว่าเขาคือกาหลิบจริงๆ อาบูจึงเคลิ้มว่าตนเป็นกาหลิบจึงๆบ้าง เมื่อเสด็จ
ออกว่าการ อาบูกาหลิบก็ตัดสินข้อราชการได้ถูกต้อง พร้อมสั่งพวกนครบาลไปจับตัวอีแมน
และศิษย์ทั้งสี่มาลงโทษประจาน และสั่งให้นำทองคำพันลิ่มไปมอบให้นางจอบแก้วผู้เป็น
มารดาด้วย
ตกค่ำเมื่อเสวยพระกระยาหาร นางกำนัลนามว่าฟองไข่มุกลอบวางยาสลบลงใน
ถ้วยสุราเมื่ออาบูสิ้นสติแล้วพระเจ้ากาหลิบจึงรับสั่งให้เปลี่ยนชุด และให้ทาสดำแบกไปส่ง
บ้านเดิมของเขารุ่งขึ้นอาบูตื่นขึ้นเวลาบ่าย ยังคงเพ้อพกถึงความสนุกสนานในวัง
ครั้งมารดามาเตือนว่าตนเองคืออาบูก็กลับทุบตีมารดา ชาวบ้านจึงจับเขาไปส่งโรงพยาบาล
โรคจิต อาบูถูกโบยตีสาหัสจึงมีสติเช่นเดิม
หลังจากนั้นอีกเดือนหนึ่งพระเจ้ากาหลิบจึงปลอมพระองค์มาหาอาบูใหม่ และทรง
กระทำเช่นเดิมอีกนครั้งนี้อาบูเกิดสนุกสนานจนลุกขึ้นมาเต้นรำกับสนมกำนัล พระเจ้ากาหลิบ
ซึ่งแอบทอดพระเนตรอยู่สุดจะกลั้นได้พระสรวลลั่นออกมา เมื่ออาบูทราบว่ามิตรของตนคือ
พระเจ้ากาหลิบ ก็เข้าไปขอพระราชทานอภัยโทษ กาหลิบจึงตั้งให้อาบูอยู่รับราชการในสำนัก
พร้อมทั้งพระราชทานนางนอซาตอลอัวดัดให้เป็นภรรยาของอาบูด้วย
อาบูกับอัวดัดอยู่กินกันอย่างมีความสุข ทั้งสองใช้สอยเงินอย่างฟุ่มเฟือย
ไม่นานเงินพระราชทานก็หมดลง อาบูจึงออกอุบายว่าตนจะไปทูลพระเจ้ากาหลิบว่า
นางอัวดัดตายเพื่อจะได้รับพระราชทานเงินปลงศพ ส่วนนางอัวดัดก็ให้ไปทูล
พระนางโซบิเดว่าอาบูตายจะได้รับพระราชทานเงินเช่นกัน ในที่สุดพระเจ้ากาหลิบ
และพระนางโซบิเดจึงเสด็จมาที่เรือนอาบูทั้งสองจึงแกล้งทำเป็นตาย พระเจ้ากาหลิบ
ตรัสว่าถ้าใครบอกว่าตายก่อนจะได้ทองพันลิ่ม พอสิ้นเสียงตรัสอาบูและอัวดัดก็ลุกขึ้นทั้งคู่
พร้อมกับทูลว่าตายก่อน สองกษัตริย์และคนทั้งหลายพากันขบขันครื้นเครงอาบูและอัวดัด
ได้รับอภัยโทษและได้รับทองอีกคนละพันลิ่ม
ที่มา วรรณกรรมกรุงรัตนโกสินทร์ยุครุ่งเรืองสุดขีด.อุทัย ไชยานนท์
|
แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ 2010 เวลา 13:42 น. |