เวนิสวาณิช พิมพ์
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันอังคารที่ 28 ตุลาคม 2008 เวลา 07:54 น.

 ผู้แต่ง                       รัชกาลที่ ๖

ลักษณะการแต่ง       กลอนบทละคร

เนื้อเรื่องย่อ

           เป็นเรื่องราวในสมัยรศตวรรษที่ ๑๖ บาสสานิโอ เป็นชายหนุ่มผู้ใช้ชีวิตที่หรูหรา

ทำให้เขามีหนี้สินมาก เขาได้ตกหลุมรักสาวงาม พอร์เทีย ของเบลมอนท์

 แต่ในการเอาชนะใจของเธอ เขาต้องพิสูจน์คุณค่าของตนเองโดยการหาเงิน

และยังต้องแก้ไขปริศนาของพินัยกรรมของพ่อของพอร์เทียด้วย

เพื่อจะได้พอร์เทียมาเป็นเจ้าสาว บาสสานิโอได้จ้างผู้ช่วยของ แอนโตนิโอ

เพื่อนรักของเขาทำการค้า แต่การค้ามีปัญหา แอนโตนิโอขาดแคลนสิค้า

และจำเป็นต้องกู้ยืมเงินจาก ชายล็อก นายทุนหน้าเลือด ชาวยิวผู้ซึ่งถูกบังคับ

ให้อาศัยอยู่ในเกทโท และถูกจำกัดการเข้าไปในเมือง 

      แอนโตนิโอได้ปรักปรำชายล็อก และชาวยิวคนอื่นที่ให้กู้เงินโดยคิดดอกเบี้ยสูง

 และทำลายธุรกิจเงินกู้โดยการให้กู้เงินแบบไม่มีดอกเบี้ย เหตุการณ์นี้

และการก่อกวนชาวยิวในเวลานั้น ทำให้ ชายล็อกอาฆาต แอนโตนิโอ เป็นอย่างมาก

อย่างไรก็ตามในเวลานี้ ชายล็อก ได้ตัดสินใจเสนอให้กู้โดยไม่คิดดอกเบี้ยแต่ว่าขอเนื้อสดๆ

ของแอนโตนิโอ ๑ ปอนด์แทน หากเขาไม่คืนเงินตามกำหนด ด้วยความมั่นใจว่า บาสสานิโอ

จะคืนเงินเขาเป็นสามเท่า แอนโตนิโอจึงตกลงตามเงื่อนไข

          บาสสานิโอเดินทางไปเบลมอนท์กับกราทิโน เพื่อขอพอร์เทียแต่งงาน

 แต่ปรากฎว่าพี่เลี้ยงของพอร์เทีย เนริสสา ได้ต้อนรับชายหนุ่มมาไขปริศนา เทีย

 ซึ่งพินัยกรรมของพ่อพอร์พอร์เทียได้ระบุไว้ว่าพอร์เทียจะต้องแต่งงานกับชาย

 ซึ่งสามารถเลือกตลับ ๑ ใบ จาก ๓ ใบ ได้ถูกต้อง

        ต่อมาการค้าของแอนโตนิโอล้มเหลว และ เจสสิกา  ลูกสาวของ ชายล็อก

ได้หนีตาม โลเรนโซ เพื่อนของบาสสานิโอ พร้อมกับได้หอบเอาทรัพย์สินของชายล็อก

ไปเป็นจำนวนมาก ความเสียหายนี้ทำให้ ชายล็อก ตั้งใจจะเก็บเงินจากลูกหนี้ให้ได้มากที่สุด

เมื่อบาสสานิโอทราบข่าวเพื่อนของเขา เขาก็เดินทางอย่างเร่งรีบจากเบลมอนท์กลับบ้าน

เพื่อหาทางแก้ไขสถานการณ์ที่ลำบากของแอนโตนิโอ แต่ก่อนที่บาสสานิโอจะกลับถึงบ้าน

ก็เลยเวลาใช้หนี้ ชายล็อกซึ่งกำลังคุ้มคลั่งและเกือบวิกลจริตต้องการเนื้อสดๆ

ของแอนโตนิโอเพื่อจะแก้แค้น เรื่องนี้จบลงด้วยการที่ท่านดยุค  ผู้ปกครองเมืองได้เรียก

ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมาที่ศาล เพื่อพิจารณาคดีที่ประหลาดนี้

 

 ตัวอย่างบางตอน

           อันว่าความ กรุณา ปราณี                

จะมีใคร บังคับ ก็หาไม่

หลั่งมาเอง เหมือนฝน อันชื่นใจ                    

จากฟากฟ้า สุราลัย สู่แดนดิน

เป็นสิ่งดี สองชั้น  พลันปลื้มใจ

แห่งผู้ให้ และผู้รับ สมถวิล

เป็นกำลัง เลิศพลัง อื่นทั้งสิ้น

เจ้าแผ่นดิน ผู้ทรง พระกรุณา

ประดุจทรง วราภรณ์ สุนทรสวัสดิ์

เรืองจรัส ยิ่งมกุฎ สุดสง่า

พระแสงทรง ดำรง ซึ่งอาชญา

 เหนือประชา พศก นิกร

ประดับพระ วรเดช วิเศษฤทธิ์

ที่สถิต อานุภาพ สโมสร

แต่การุณ ยะธรรมะ สุนทร

งามงอนกว่า พระแสง อันแรงฤทธิ์

เสถียรใน หฤทัย พระราชา

เป็นคุณของ เทวา ผู้มหิทธิ์

และราชา เทียมเทพ อมฤต

ยามบพิตร เผยแผ่ พระกรุณา

 

 

 

แก้ไขล่าสุด ใน วันพฤหัสบดีที่ 30 ตุลาคม 2008 เวลา 14:14 น.