หน้าหลัก วรรณคดี สมัยสุโขทัย ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑
ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ PDF พิมพ์ อีเมล
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันอังคารที่ 16 กันยายน 2008 เวลา 18:59 น.

         ในปี พ.ศ. ๒๓๗๖  ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ยังทรงผนวชอยู่  พระองค์ได้เสด็จธุดงค์ไปยังหัวเมืองฝ่ายเหนือ  ทรงพบศิลาจารึกบริเวณปราสาทเก่าเมืองสุโขทัย

จึงโปรดเกล้าฯ ให้นำมาไว้ที่กรุงเทพฯ

         ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  เป็นศิลาจารึกหลักแรกที่ใช้ตัวอักษรไทยและภาษาไทย  จารึกนี้

มีลักษณะเป็นแท่งหินสี่เหลี่ยมยอดกลมมน  สูง  ๑  เมตร  ๑๑  เซนติเมตร กว้าง ๓๕ เซนติเมตร  เป็นหินชนวนสีเขียว

มีอักษรจารึกทั้ง  ๔  ด้าน  ด้านที่ ๑  และที่ ๒  มีจารึกด้านละ  ๓๕  บรรทัด  ด้านที่ ๓ และ ๔  จารึกด้านละ  ๒๗  บรรทัด

        " เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี  ๑๒๐๕ ศกปีมะแม  หาใคร่ใจในใจและใส่ลายสือไทยนี้  ลายสือไทยนี้ จึงมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้"

        ๑๒๐๕ ศก เป็นมหาศักราช  ตรงกับพุทธศักราช ๑๘๒๖  นักวิชาการจึงลงความเห็นว่า

  ปี๑๘๒๖ เป็นปีที่พ่อขุนรามคำแหงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น

 

เนื้อหาในศิลาจารึก

       -    กล่าวถึงพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหง

       -    กล่าวถึงการชนช้างกับขุนสามชน

       -    กล่าวถึงการปกครองสมัยสุโขทัย

      -    กล่าวถึงความเป็นอยู่ของชาวสุโขทัย

      -    บอกถึงอาณาเขตของสุโขทัย

      -    กล่าวถึงพระพุทธศาสนา

      -    กล่าวถึงประเพณีของชาวสุโขทัย

           ฯลฯ

ที่มา  หนังสือเรียนภาษาไทยม.๒ นันทา  ขุนภักดี

แก้ไขล่าสุด ใน วันอังคารที่ 16 กันยายน 2008 เวลา 20:34 น.
 

Facebook Like Box

ออนไลน์

เรามี 3 บุคคลทั่วไป ออนไลน์

ผู้เยี่ยมชม

mod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_countermod_vvisit_counter
mod_vvisit_counterวันนี้152
mod_vvisit_counterเมื่อวาน149
mod_vvisit_counterอาทิตย์นี้661
mod_vvisit_counterเดือนนี้2865
mod_vvisit_counterทั้งหมด6425231