สุภาษิตพระร่วง พิมพ์
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน 2008 เวลา 23:13 น.

ผู้แต่ง                      พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงสันนิษฐานว่า  สุภาษิตพระร่วง

                             รวบรวมขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

                             ต่อมามีผู้แสดงความเห็นว่าสุภาษิตพระร่วงไม่ได้มีมาแต่สมัยสุโขทัย  น่าจะเป็นของ

                             สมเด็จพระสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส  โดยทรงดัดแปลงพระราชนิพนธ์

                             โคลงประดิษฐ์พระร่วงของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแต่ยังไม่มีข้อยุติ

                             เพราะเนื้อหาบางตอนตรงกับหนังสือเก่าหลายเรื่อง  ซึ่งก่อนโคลงประดิษฐ์พระร่วง

ประวัติ                     สุภาษิตนี้มีชื่อเรียกอย่างอื่นว่าบัญญัติพระร่วงและบัณฑิตพระร่วงตามโคลงกระทู้

                             ท้ายเรื่องที่ว่า

                                             บัณ    ฑิตเจิดจำแนกแจ้ง             พิศดาร  ความเอย

                                         ฑิต     ยุบลบรรหาร                       เหตุไว้

                                         พระ     ปิ่นนัคราสถาน                      อุดรสุข  ไทยนา

                                         ร่วง    ราชนามนี้ได้                        กล่าวถ้อยคำสอน

ลักษณะการแต่ง        ตอนต้นแต่งด้วยร่ายสุภาพ  จบแบบโคลงสองสุภาพ  ตอนท้ายเป็นโคลงกระทู้หนึ่งบท

ความมุ่งหมาย           เพื่อสั่งสอนประชาชน

เรื่องย่อ

           เริ่มต้นกล่าวถึงพระร่วงเจ้าสุโขทัย   ทรงมุ่งประโยชน์กาลภายหน้า  จึงทรงบัญญัติสุภาษิต

สำหรับสั่งสอนประชาชนขึ้นไว้  มีลักษณะเป็นสุภาษิตทั้งทางโลกและทางธรรม  รวม ๑๕๘ บท

ตอนท้ายบอกชื่อหนังสือ  ผู้แต่ง  และจุดมุ่งหมายที่แต่ง

 

ตัวอย่าง

     เมื่อน้อยให้เรียนวิชา          ให้หาสินเมื่อใหญ่

อย่าใฝ่เอาทรัพย์ท่าน              อย่าริร่านแก่ความ

เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า               หน้าศึกอย่านอนใจ

อย่ารักเหากว่าผม                  อย่ารักลมกว่าน้ำ

อย่ารักถ้ำกว่าเรือน                 อย่ารักเดือนกว่าตะวัน

 

ที่มา : ประวัติวรรณคดีไทยสมัยสุโขทัยและอยุธยา ของเสนีย์ วิลาวรรณ

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 22 กันยายน 2008 เวลา 16:56 น.