ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พิมพ์
เขียนโดย ภาษาสยาม   
วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน 2008 เวลา 23:31 น.

ผู้แต่ง                     นางนพมาศ  ซึ่งเป็นธิดาของพระศรีมโหสถกับนางเรวดี  บิดาเป็นพราหมณ์ปุโรหิตในรัชกาลพระร่วงเจ้า

                            ซึ่งสันนิษฐานกันว่าเป็นพญาลิไท  ได้รับตำแหน่งสนมเอก  มีบรรดาศักดิ์เป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์

 

ประวัติ                    หนังสือเรื่องตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์  มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า  เรวดีนพมาศ  หรือนางนพมาศ

                            ข้อความที่ยืนยันชัดแจ้งว่า เรื่องนี้มีผู้แต่งต่อภายหลังคือ ด้วยชนชาติฝรั่งหลายภาษาเข้ามาในประเทศไทย

                            สมัยสุโขทัย  โดยเฉพาะคำว่าอเมริกันนั้น เพิ่งเกิดขึ้นในสมัยอยุธยา  และยังกล่าวถึงปืนใหญ่ ซึ่งไม่มีในสมัยนั้น

                            อย่างไรก็ดี ท้าวศรีจุฬาลักษณ์  เป็นตำแหน่งพระมเหสี  ดังปรากฏในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย  เช่น จารึกวัดอโสกราม

                            สุโขทัย  พ.ศ. ๑๙๔๒

 

ลักษณะการแต่ง      เป็นความเรียงร้อยแก้ว  บางตอนเป็นบทดอกสร้อยซึ่งต่อเติมภายหลัง

 

เรื่องย่อ

         เริ่มกล่าวถึงประเทศ  ภาษา  และชนชาติต่างๆ  เช่น  ชมพูประเทศ  มัชฌิมประเทศ  ปัจจันตประเทศ  และสิงหลประเทศ

แบ่งเป็นภาษาต่างๆ  และชนชาติต่างๆ  ต่อจากนั้นยอพระเกียรติพระร่วงเจ้า  และบรรยายสภาพความเป็นอยู่ชาวสุโขทัย 

ประวัตินางนพมาศตั้งแต่เยาว์วัย  การศึกษา รับราชการ  ความดีความชอบในการประดิษฐ์โคมรูปดอกบัวพานหมากสองชั้นรับแขกเมือง

และพานบูชาพระรัตนตรัยและคุณธรรมของนางสนม  ตลอดจนพระราชพิธีต่างๆ เช่น จองเปรียงลอยพระประทีป  พระราชพิคเชนทรัศวสนาน

 พระราชพิธีจรดพระนังคัล

ข้อความบางตอน

      ครั้นถึงโคมรูปดอกกระมุทของข้าน้อย  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทอดพระเนตรแล้วตรัสชมว่า  โคมลอยอย่างนี้งามประหลาด

อย่างหาเคยมีไม่  เป็นโคมของผู้ใดคิดกระทำ  ท้าวศรีราชศักดิ์โสภาก็กราบบังคมทูลว่า  โคมของนพมาศธิดาพระศรีมโหสถ

 

ที่มา : ประวัติวรรณคดีไทยสมัยสุโขทัยและอยุธยา ของเสนีย์ วิลาวรรณ

แก้ไขล่าสุด ใน วันจันทร์ที่ 22 กันยายน 2008 เวลา 17:48 น.