น้ำฟ้า..ปัณณ์รัก..นวนิยายไทย..นวนิยายเสียง..ข่าวสารการเขียน

เสวนาภาษาไทย

Re: ..น้ำฟ้า..บันทึกความทรงจำ

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 01 ก.พ. 2020 7:46 pm

เก็บข้อมูลเขียนนิยาย "ม่านรักนิรมิต"
ขอบคุณภาพและข้อมูลจากคอลัมน์ “พระปรางค์วัดอรุณฯ” โฉมใหม่ งดงามโดดเด่นริมแม่น้ำเจ้าพระยา โดย: ผู้จัดการออนไลน์
560000008345301.jpg
560000008345301.jpg (83.24 KiB) เปิดดู 50984 ครั้ง


สำหรับ “วัดอรุณราชวราราม” มีชื่อเดิมว่า “วัดมะกอกนอก” แต่ต่อมาสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เปลี่ยนชื่อจากวัดมะกอกนอกมาเป็น “วัดแจ้ง” เพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าพระองค์ได้เสด็จมาถึงที่นี่ในยามแจ้ง ในสมัยกรุงธนบุรี วัดอรุณฯ หรือวัดแจ้งในขณะนั้นถือเป็นวัดประจำวัง เพราะอยู่ในเขตของพระราชวังเดิม จึงไม่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา และในรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าตากสินนั้น วัดแจ้งแห่งนี้ยังเคยเป็นที่ประดิษฐานของพระแก้วมรกตและพระบางอีกด้วย โดยได้อัญเชิญมายังประเทศไทยเมื่อครั้งที่เราไปตีเมืองเวียงจันทน์ในปี พ.ศ.๒๓๒๒ในครั้งนั้นได้มีการจัดงานสมโภชพระแก้วและพระบางถึง ๓ วัน ๓ คืนด้วยกัน

วัดแห่งนี้ถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๒ เนื่องจากในขณะที่พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งเป็นวังหน้าในรัชกาลที่ ๑ นั้น พระองค์ได้ประทับอยู่ที่พระราชวังเดิมแห่งนี้ และได้บูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้เป็นการใหญ่ มีการจัดงานสมโภชใหญ่ถึง ๗ วัน ๗ คืน และพระองค์ยังได้เปลี่ยนชื่อวัดจากวัดแจ้งมาเป็น "วัดอรุณราชธาราม" และเปลี่ยนเป็น "วัดอรุณราชวราราม" ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
560000008345304.jpg
560000008345304.jpg (86.9 KiB) เปิดดู 50984 ครั้ง

ในส่วนของ “พระปรางค์” ที่เห็นในปัจจุบันนี้ ไม่ใช่พระปรางค์องค์เดิมที่มีมาตั้งแต่แรก พระปรางค์องค์เดิมนั้นสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีความสูงเพียง ๘ วา หรือ ประมาณ ๑๖ เมตร เท่านั้น แต่พระปรางค์ที่เห็นกันในปัจจุบันนี้ได้มีการต่อเติมขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อคราวที่ทรงปฏิสังขรณ์วัดอรุณใหม่หมดทั้งวัด พระปรางค์องค์ที่บูรณะใหม่นี้มีขนาดความสูงจากฐานถึงยอด ๘๑.๘๕ เมตร ที่น่าทึ่งก็คือ การที่จะสร้างพระปรางค์องค์สูงใหญ่อยู่ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำ และยังคงแข็งแรงมาจนถึงทุกวันนี้ได้นี้แสดงว่าฝีมือของช่างในสมัยนั้นไม่ธรรมดาเลยทีเดียว
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ..น้ำฟ้า..บันทึกความทรงจำ

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 01 ก.พ. 2020 7:52 pm

กลุ่มพระปรางค์ประกอบด้วยของปรางค์ประธานซึ่งมีความสูง ๘๑.๘๕ เมตร และปรางค์ทิศจำนวน ๔ ปรางค์ เป็นปรางค์องค์เล็กก่ออิฐถือปูนประดับกระจกเคลือบสีแบบเดียวกับพระปรางค์องค์ใหญ่ ปรางค์ทิศตั้งอยู่มุมทักษิณชั้นล่างของปรางค์องค์ใหญ่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันตกเฉียงใต้ ทิศละองค์
560000008345305.jpg
560000008345305.jpg (100.46 KiB) เปิดดู 50984 ครั้ง

แม้ว่าพระปรางค์จะสร้างมานานแล้ว แต่ก็มีการบูรณปฏิสังขรณ์อยู่เป็นระยะ ครั้งล่าสุดนี้เริ่มบูรณะเมื่อเดือนกันยายน๒๕๕๖ มาแล้วเสร็จในปี ๒๕๖๐ นี้ โดยคาดว่าจะเสร็จสิ้นในเดือนสิงหาคม และสามารถเปิดไฟแสดงได้ในเดือนกันยายน ๒๕๖๐ ส่วนในช่วงปลายปี ๒๕๖๐ – ต้นปี ๒๕๖๑ จะจัดงานสมโภชพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม

นอกจากองค์พระปรางค์ ที่เป็นจุดเด่นของวัดอรุณฯ แล้ว ใครที่มาถึงวัดนี้ก็ต้องมาดูยักษ์วัดอรุณ หรือที่เรียกกันติดปากว่า "ยักษ์วัดแจ้ง" ที่มีเรื่องเล่าว่ายักษ์วัดโพธิ์มาตีกับยักษ์วัดแจ้ง ตีกันจนบ้านเมืองแถวนั้นราบเป็นหน้ากลอง เลยเรียกกันต่อมาว่าท่าเตียน
560000008345306.jpg
560000008345306.jpg (101.47 KiB) เปิดดู 50984 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ..น้ำฟ้า..บันทึกความทรงจำ

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 01 ก.พ. 2020 7:56 pm

เมื่อผ่านยักษ์และซุ้มประตูเข้าไป จะพบกับพระอุโบสถของวัดอรุณฯ ก็มีความงามไม่แพ้ที่ไหนๆ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีนามว่า "พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก" พระประธานองค์นี้กล่าวกันว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงปั้นหุ่นพระพักตร์ด้วยพระองค์เอง และที่ฐานชุกชีนี้ยังบรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้ด้วย นอกจากนี้ภายในพระอุโบสถยังมีจิตรกรรมฝาผนังฝีมือของครูคงแป๊ะ และครูทองอยู่ ช่างเขียนจิตรกรรมฝาผนังชั้นครู ที่เคยฝากฝีมือไว้ที่วัดสุวรรณารามไว้ด้วยเช่นกัน
560000008345307.jpg
560000008345307.jpg (90.39 KiB) เปิดดู 49452 ครั้ง

ด้านหน้าวัดที่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา มี “พระราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย” ประดิษฐานอยู่ ส่วนบริเวณทางเข้าพระปรางค์ มีอาคารหลังเก่าอยู่สองหลัง นั่นคือ “โบสถ์น้อย” และ “วิหารน้อย”
560000008345308.jpg
560000008345308.jpg (90.49 KiB) เปิดดู 49452 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ..น้ำฟ้า..บันทึกความทรงจำ

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 01 ก.พ. 2020 8:01 pm

ด้านหน้าวัดที่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา มี “พระราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย” ประดิษฐานอยู่ ส่วนบริเวณทางเข้าพระปรางค์ มีอาคารหลังเก่าอยู่สองหลัง นั่นคือ “โบสถ์น้อย” และ “วิหารน้อย”
560000008345309.jpg
560000008345309.jpg (95.6 KiB) เปิดดู 49452 ครั้ง

โบสถ์น้อย เป็นพระอุโบสถหลังเก่าของวัดอรุณฯ ภายในประดิษฐาน “พระบรมรูปหล่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน” ให้ผู้ที่มาเยือนได้สักการะ และทางด้านซ้ายของบรมรูปหล่อ เป็นที่ตั้งของศาลสถิตดวงพระวิญญาณของพระองค์ ตรงข้ามของพระบรมรูปหล่อฯ เป็น “พระแท่นบรรทม” ที่เชื่อว่าสมเด็จพระเจ้าตากสิน ทรงมาประทับในปลายรัชกาล ส่วนด้านหลังของพระบรมรูปฯ ประดิษฐาน “หลวงพ่อรุ่งมงคล”
560000008345310.jpg
560000008345310.jpg (91.77 KiB) เปิดดู 49452 ครั้ง

วิหารน้อย หรือวิหารหลังเก่า สันนิษฐานว่า ถูกสร้างมาพร้อมกับโบสถ์น้อยในสมัยอยุธยาที่ตั้งอยู่ข้างด้านข้าง ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐาน “พระจุฬามณีเจดีย์” เป็นพระเจดีย์ขนาดใหญ่หล่อด้วยโลหะ มีรูปปั้นท้าวจตุโลกบาลยืนเฝ้าพระเจดีย์อยู่ทั้ง ๔ มุม ซึ่งเมื่อครั้งอดีตนั้น วิหารน้อยแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกต เมื่อครั้งที่ได้อัญเชิญมาจากเมืองเวียงจันทร์ ประเทศลาว นอกจากนี้ก็ยังมี “พระแท่นบรรทม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย” อยู่ด้านในวิหารน้อยด้วย
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ..น้ำฟ้า..บันทึกความทรงจำ

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 01 ก.พ. 2020 8:03 pm

ภายในวัดอรุณฯ ยังมีจุดที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น พระวิหารหลวง, หอระฆัง, มณฑปพระพุทธบาทจำลอง เป็นต้น ใครที่มีเวลามากหน่อยก็ลองเดินชมให้ถ้วนทั่ว จะได้เห็นถึงความวิจิตรบรรจง และความงดงามของสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของวัดแห่งนี้
560000008345311_resize.jpg
560000008345311_resize.jpg (75.1 KiB) เปิดดู 49452 ครั้ง

ตรงข้ามของพระรูปหล่อฯ เป็นที่ตั้งของ “พระแท่นบรรทมสมเด็จพระเจ้าตากสิน” ซึ่งผู้ดูแลวัดได้บอกไว้ว่า “หากใครได้ลอดใต้พระแท่นบรรทมของพระองค์ท่านแล้ว ถือได้ว่าเป็นการล้างอาถรรพ์ต่างๆ ให้หมดไปจากชีวิต” ซึ่งหากใครต้องการจะลอดแล้วก็สามารถทำได้ แต่ต้องทำกระทำด้วยความสำรวม
ไฟล์แนป
557000007164011.jpg
557000007164011.jpg (29.92 KiB) เปิดดู 49452 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ..น้ำฟ้า..บันทึกความทรงจำ

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 01 ก.พ. 2020 8:10 pm

เตียงนอนสี่เสา หรือที่เรียกว่า แท่นพระบรรทมทำจากไม้สักทอง ประดับประดาลวดลายตกแต่งตั้งอยู่ตรงหน้า ตรงกลางเป็นพระบรมฉายาทิศลักษณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
DSCN9083.jpg
DSCN9083.jpg (55.5 KiB) เปิดดู 49452 ครั้ง

(ภาพ : สายลมที่ผ่านมา
อีกหนึ่งเอกลักษณ์เด่นที่จะขาดไปไม่ได้ คือเหล่าตุ๊กตาปูนปั้นหรือที่เรียกว่า “ตุ๊กตาอับเฉา” รูปทรงต่างๆ ที่ตั้งเรียงรายอยู่ทุกมุมให้เราได้ชมตลอดเส้นทาง ความเป็นมาของรูปปั้นเหล่านี้ได้ถูกเล่าไว้ว่า เมื่อครั้งอดีตไทยเราค้าขายกับจีน สินค้าของไทยที่นำไปขายนั้นมีน้ำหนักมาก แต่ขากลับสินค้าจากจีนนั้นเบาเพราะส่วนใหญ่เป็นผ้าไหม จึงต้องมีการนำตุ๊กตาปั้นมาไว้ที่ห้องอับเฉาของเรือเพื่อถ่วงน้ำหนัก ตุ๊กตาปูนปั้นเหล่านี้จึงได้ชื่อว่าตุ๊กตาอับเฉา
557000007164017_resize.jpg
557000007164017_resize.jpg (56.09 KiB) เปิดดู 49452 ครั้ง

วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ศาสนสถานเอกลักษณ์ประจำกรุงรัตนโกสินทร์ที่งดงามด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมงานศิลป์ ควรค่าแก่ความภาคภูมิใจของคนไทยทุกคนหาเอ่ยถึง วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร หรือที่คนไทยเรียกสั่นๆว่า วัดอรุณ เราเชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดีด้วยเพราะความงดงามทางสถาปัตยกรรมอันประเมินค่าไม่ได้ แถมยังตั้งเด่นเป็นสง่าริมแม่น้ำเจ้าพระยายังกลายเป็นสัญลักษณ์ความสวยงามประจักษ์ต่อสายตายชาวโลกและเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาช้านานวันนี้เราโอกาสพาทุกท่านไปชมความสวยงามและทำความรู้จักกับ วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ให้มากขึ้นกันดีกว่าเอาละเรามาเริ่มกันเลยดีกว่า

วัดอรุณนั้นเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร หมายถึงพระอารามที่พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระยุพราช ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์เป็นการส่วนพระองค์ ตั้งอยู่แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ

วัดอรุณฯ เป็นวัดโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า วัดมะกอก แต่เมื่อครั้งสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีพระราชประสงค์ย้ายราชธานีมาตั้ง ณ กรุงธนบุรี โดยกรีธาทัพมาทางชลมารค และมาถึงหน้าวัดมะกอกเอารุ่งสาง จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "วัดแจ้ง" จวบจนสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ เถลิงถวัลยราชสมบัติ แต่ยังไม่ทันแล้วเสร็จ พระองค์เสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ จึงทรงดำเนินการปฏิสังขรณ์ต่อจนเสร็จ โดยพระราชทานนามวัดว่า "วัดอรุณราชวราราม" และกลายเป็นวัดประจำรัชกาลในพระองค์

พระปรางค์ใหญ่วัดอรุณ ถือได้ว่าเป็นศิลปกรรมที่สง่าและโดดเด่นที่สุด ก่อสร้างโดยช่างฝีมือที่มีความเชี่ยวชาญ บนพระปรางค์ประดับด้วยเครื่องกระเบื้องเคลือบและเครื่องถ้วยชามเบญจรงค์ที่นำเข้ามาจากจีน ซึ่งมีลวดลายงดงามเป็นของเก่าแก่และหายาก โดยได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่

บริเวณโดยรอบพระปรางค์ใหญ่วัดอรุณฯ ประกอบด้วยพระปรางค์เล็ก ๔ องค์ รอบ ๔ ทิศ ภายในมีรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ กำแพงแก้วกั้น มีฐานทักษิณ ๓ ชั้น มีรูปปั้นมารและกระบี่แบกฐานสลับกัน นอกจากนั้นมีซุ้ม ๔ ซุ้ม มีพระนารายณ์อวตาร เหนือขึ้นไปเป็นยอดปรางค์ มีเทพพนมนรสิงห์เพื่อปราบยักษ์

ซุ้มประตูทางเข้าพระอุโบสถ จะมียักษ์วัดแจ้งที่มีชื่อเสียงยืนเฝ้าอยู่ ยักษ์กายสีขาว มีชื่อว่า "สหัสเดชะ" ยักษ์กายสีเขียว มีชื่อว่า "ทศกัณฐ์" เป็นยักษ์ศิลปะแบบจีน ปูนปั้นประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี มือถือตะบองใหญ่เป็นอาวุธ ตรงบริเวณหน้าซุ้มทางเข้าพระอุโบสถ แฝงไว้ด้วยคติความเชื่อในการทำหน้าที่เป็นเทพพิทักษ์ ปกปักรักษาสถานที่สำคัญทางศาสนา
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: ..น้ำฟ้า..บันทึกความทรงจำและข้อมูลทำงาน

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 08 ก.พ. 2020 4:59 pm

สถานภาพของภรรยาสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้นแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท ได้แก่

'เมียกลางเมือง' หมายถึง ภรรยาที่พ่อแม่จัดการให้แต่งงานกับลูกชายของตน มีการสู่ขอ เรียกสินสอดและขันหมากตามประเพณี ถือว่าเป็นภรรยาหลวง เมียกลางเมืองจะถือศักดินาครึ่งหนึ่งของสามี

'ภรรยาพระราชทาน' หมายถึง ภรรยาที่พระมหากษัตริย์พระราชทานมาเพื่อตอบแทนความดีความชอบ ภรรยาพระราชทานจะถือศักดินาเท่ากับเมียกลางเมือง

'เมียกลางนอก' หมายถึง อนุภรรยาที่ชายขอมาเลี้ยง จะถือศักดินาครึ่งหนึ่งของเมียกลางเมือง

'เมียกลางทาสี' หมายถึง ทาสที่ผู้ชายไถ่ตัวมาเป็นภรรยา หากมีลูกด้วยกัน ศักดินาจะเท่ากับเมียกลางนอก

ภรรยาทั้งสี่ประเภทมีสถานภาพเสมือนทรัพย์สินของสามี สามีมีสิทธิยกภรรยาให้ใครก็ได้ และยังมีสิทธิจะขายภรรยาของตนโดยไม่จำเป็นต้องบอกให้เจ้าตัวรับรู้หรือยินยอมก็ได้

วิธีประหารสมัยอยุธยา http://variety.teenee.com/foodforbrain/69376.html

ทำไมถึงเรียกหมอตำแย https://www.silpa-mag.com/club/art-and- ... ticle_8741

การรีดผ้าของชาววัง https://www.silpa-mag.com/history/article_8238

ศักดินาในล้านนา ตำแหน่งปกครองของล้านนาในอดีต
92-19.jpg
92-19.jpg (49.59 KiB) เปิดดู 49414 ครั้ง


เป็นที่ทราบกันดีว่า ปัจจุบันนั้นได้ยกเลิกระบบนายและไพร่ทาสไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วตั้งแต่สมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ซึ่งก่อนหน้าที่จะเกิดการ “เลิกทาส” ในระบบการปกครองของอาณาจักรนั้นก็มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินการปกครอง


การบริหารบ้านเมืองของอาณาจักรนั้นๆ ตำแหน่งต่างๆ ในแต่ละเมืองล้วนมีความสำคัญในการทำให้เมืองมีความเจริญเติบโต อีกทั้งตำแหน่งยังเป็นการแบ่งชนชั้นของสังคมในอาณาจักรนั้นๆอีกด้วย อาณาจักรล้านนาก็มีตำแหน่งปกครองเป็นของตัวเองซึ่งวางไว้เป็นระบบดังต่อไปนี้

“พ่อเมือง” มีที่ปรึกษา ๔ ท่าน เรียกทั้งคณะว่า “เถ้าสรีเมือง” หรือ “มนตรี” เรียกเป็นสามัญว่า “ต้าวตังสี่” หรือ “ท้าวทั้งสี่” เรียกรายตัวว่า

“ราชครูเมือง” เป็นพระสังฆราชา เรียกเป็นสามัญว่า “หัวหน้าคณะฝ่ายหนใน” หมายความว่า “ฝ่ายปฏิบัติตนใกล้หรือเหมือนกับพระพุทธจริยาวัตร”

“อาจารย์หลวง” คือ นักปราชญ์ เรียกเป็นสามัญว่า “หัวหน้าคณะหนฝ่ายนอก” หมายความว่า “ฝ่ายปฏิบัติไม่ครบอย่างพุทธจริยาวัตร” เป็นคฤหัสถ์ที่ได้บวชเรียนทรงความรู้เท่าๆ กับราชครูเมือง แล้วสึกออกมามีหน้าที่ให้คำแนะนำพ่อเมืองในการพิพากษาเทียบได้กับ “อธิบดีศาลฎีกา” และเป็นหัวหน้าชาวเมืองประกอบการกุศลบางครั้งก็เป็นผู้วินิจฉัยปัญหาในพระไตรปิฎก และให้คำแนะนำสั่งสอนพระภิกษุสามเณร

“โหราหลวง” คือ โหรหลวง มีหน้าที่ทางพยากรณ์โชคลางและวิธีในไสยศาสตร์ บางคนก็เป็น “พ่อเลี้ยง” คือแพทย์เรียกกันเป็นสามัญว่า “พ่อหมอเถ้า” ถ้าอยู่ในวัยชราเรียกว่า “ปู่เจ้า”

“ต๋าเมือง” หรือ “ตาเมือง” เป็นที่พระนามหาอุปราชเทียบอย่างง่ายๆ ว่า “นายกรัฐมนตรี”


บรรดาเจ้านายชนชั้นสูงของล้านนาขณะประชุมราชการ

“ยศบริวาร” คือ เสนาอำมาตย์ แบ่งเป็นส่วนต่างๆ ดังนี้

๑. “หัวสาม” อาจจะหมายถึง “อาลักษณ์” หรือ “เลขาธิการคณะรัฐบาล” มีหน้าที่ในการติดต่อสื่อสาร และการคลัง มีตำแหน่งขึ้นอยู่หัว 3 อย่างคือ

ก. “หัวศีล” อาจจะหมายถึง “สังคการี” คือ เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับสงฆ์ในงานหลวง มีหน้าที่ ช่วยเหลือ และดำเนินกิจกรรมทางพุทธศาสนา

ข. “หัวเมืองแก้ว” คือ “ผู้ทำกิจต่างเมือง” หรือ “การต่างประเทศ” มีหน้าที่ ติดต่อกับชาวต่อชาติในเรื่องของการค้าขาย การเมืองการปกครอง

ค. “หัวคลังแก้ว” คือ “นายคลัง” มีหน้าที่ ดูแลควบคุมการคลังของพระราชวัง

นอกจากนี้ยังมีตำแหน่ง “ม้าแข้งเหล็ก หรือผู้เดินทน” กับ “ม้าแข้งไฟ หรือผู้เดินเร็ว” ขึ้นอยู่กับหัวสามอีก 2 ตำแหน่ง เข้าใจว่า “ม้าแข้งเหล็ก” จะตรงกับ “ทหารรักษาวัง” ทางเมืองเชียงใหม่เรียกตำแหน่งนี้ว่า “เขน” แปลว่า สู้ หรือต่อสู้ ส่วน “ม้าแข้งไฟ” เห็นจะตรงกับ “ตำรวจวัง” คำนี้ทางเมืองเชียงตุงเรียกว่า “แย” เห็นจะเป็นภาษาพม่าทำหน้าที่อยู่ยาม และรับใช้


บรรดาเจ้านายชนชั้นสูงของล้านนา

๒. “หัวสนาม” บางทีเรียก “อะธิปติ” เห็นจะได้แก่ เจ้ากรมต่างๆ ฝ่ายพลเรือน เรียกเป็นสามัญว่า “จ๊ะเร” คำนี้ใกล้เคียงกับภาษาเขมรว่า “สเสร” ซึ่งแปลว่าเสมียน

คำว่า “สนาม” ตรงกับศาลากลางจังหวัด หรือศาล ถ้าพ่อเมืองไปนั่งทำการที่สนามเทนนิสสนามนั้นเรียกว่า “เค้าสนามหลวง”


๓. “หัวสึก” บางทีเรียกว่า “ขุนพล” ตรงกับ “แม่ทัพนายกอง” มีตั้งแต่หัวสิบ หรือนายสิบ ผู้บังคับหมู่ หัวซาว หรือนายหมวด ผู้บังคับหมวด หัวร้อย หรือนายร้อย ผู้บังคับกองร้อย หัวพัน หรือนายพัน ผู้บังคับกองพัน หัวหมื่น หรือนายพล ผู้บังคับการกองพล เจ้าแสน หรือแม่ทัพ ตำแหน่งชั้นเจ้าแสนนั้นบางทีเรียก “ขุนพลแก้ว” แต่เรียกตามคุณสมบัติ ยศบริวารต่างๆ ที่สรรพนามมานี้ “ตาเมือง” หรือ “พญามหาอุปราช” หน้าที่โดยเฉพาะ 2 อย่าง คือ จัดการปกครองบ้านเมือง และพิพากษาคดีต่างๆ ที่เรียกว่า “วัวพันหลัก” เห็นจะตรงกับ “อุทลุม” น่าจะเทียบได้กับ “อธิบดีศาลอุทธรณ์”


บรรดาเจ้าชนชั้นสูงของล้านนาขณะถ่ายภาพกับข้าราชการสยาม
จะเห็นได้ว่า การวางยศไว้นั้น ไม่ใช่เพียงแค่ได้รับประโยชน์ หรือสิทธิ์ที่มากกว่าชนชั้นล่าง แต่การมียศนั้นเป็นการกำหนดหน้าที่ในการบริหารบ้านเมืองให้เป็นประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าการกำหนดหน้าที่ไว้อย่างหลวมๆ นั่นเอง ซึ่งหลักฐานที่กล่าวมาข้างต้นได้ถูกบันทึกไว้ช่วงสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ในปีพ.ศ.๒๔๘๕

ที่มา : เชียงใหม่นิวส์
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: น้ำฟ้า..บันทึกความทรงจำและข้อมูลทำงาน

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » เสาร์ 08 ก.พ. 2020 5:13 pm

เชียงใหม่ในตาฝรั่ง เชียงใหม่โบราณในบันทึกของ “ปิแอร์ โอร์ต”
เชียงใหม่โบราณ1.jpg
เชียงใหม่โบราณ1.jpg (23.67 KiB) เปิดดู 49414 ครั้ง


ในประเทศสยามในอดีตยังไม่ได้มีการพัฒนามากมายเท่าปัจจุบันจึงมีการใช้ที่ปรึกษาทางกฎหมายชาวต่างชาติ เนื่องจากข้าราชการชาวสยามยังไม่มีความสามารถมากเท่าชาวต่างชาติเพราะยังไม่ได้รับการศึกษาเท่าในปัจจุบัน ซึ่งคนสยามชนชั้นทั่วไปที่ไม่ใช่ชนชั้นสูงในอดีตก่อนที่จะได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึงในปัจจุบันนั้น ไม่สามารถอ่าน และเขียนหนังสือได้ จึงไม่นิยมการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรเสียเท่าไร จึงทำได้เพียงอ่านบันทึกจากคณะทูต, บาทหลวง, มิชชั่นนารี หรือข้าราชการต่างชาติ

นาย “ปิแอร์ โอร์ต” ผู้ช่วยที่ปรึกษากฎหมายชาวเบลเยี่ยม ของสยามในอดีต ที่ได้บันทึกเรื่องราวการเดินทางในเมืองล้านนา รวมถึงเมืองเชียงใหม่เอาไว้ ดังนี้

“นาย ปิแอร์ โอร์ต” ผู้ช่วยที่ปรึกษากฎหมายชาวเบลเยี่ยม ของสยามในอดีต

เมื่อปี พ.ศ.๒๔๓๙ ได้เกิดคดีสำคัญขึ้นที่เชียงใหม่ “ระหว่างรัฐบาลสยาม” กับ “ประเทศสหรัฐอเมริกา” นาย “อี.วี.เคลเลตท์” รองกงศุลที่รัฐบาลสหรัฐส่งมาประจำอยู่ที่เชียงใหม่เพื่อคุ้มครองทรัพย์สินของหมอชิก หรือ “นายแพทย์แดเนียล แมคกิลวารี” เป็นอดีตหมอสอนศาสนาชาวอเมริกันที่ได้หันมาทำธุรกิจป่าไม้ ซึ่งกำลังตกเป็นคดีความกับรัฐบาลสยาม ได้ถูกทหารสยามทำร้ายร่างกาย “นายจอห์น บาเรตท์” ราชทูตสหรัฐในเมืองบางกอกได้ยื่นหนังสือขึ้นร้องต่อสมเด็จฯกรมหลวงเทววงศ์วโรปการ เสนาบดีต่างประเทศ ขอให้พิจารณาสอบสวนคดีนี้โดยตั้งคณะอนุญาโตตุลาการผสม ซึ่งประกอบด้วยฝ่ายสหรัฐ และฝ่ายสยามขึ้นพิจารณาคดี
เชียงใหม่โบราณ3.jpg
เชียงใหม่โบราณ3.jpg (26.64 KiB) เปิดดู 49414 ครั้ง

ขบวนช้างระหว่างการเดินทางในป่า
ทางฝ่ายสยามได้แต่งตั้ง “นายปิแอร์ โอร์ต” ผู้ช่วยที่ปรึกษากฎหมายชาวเบลเยี่ยม ให้เดินทางไปทำหน้าที่พิจารณาคดีร่วมกับนาย “จอห์น บาเรตท์” ราชทูตสหรัฐที่เมืองเชียงใหม่ ในวันที่ ๓ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๐ ทั้งสองนายออกเดินทางจากบางกอกทางแม่น้ำเจ้าพระยาด้วยเรือ ขึ้นมาตามผ่านเมืองชัยนาท ปากน้ำโพขึ้นมาตามลำน้ำปิงผ่านกำแพงเพชร เมืองตาก จนมาถึงเมืองเชียงใหม่เมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคมปีเดียวกัน ทั้งสองได้ร่วมกันพิจารณาคดีโดยเบิกพยานทั้งสองฝ่ายมาให้การโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๔๐ การพิจารณาคดีก็เสร็จสิ้นลงในวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๔๔๐

หลังจากที่พิจารณาคดีนี้กำลังจะแล้วเสร็จ “นายปิแอร์ โอร์ต” ก็ได้รับคำบัญชาจากพระยาอภัยราชาให้ออกเดินทางด้วยการนั่งช้าง ขี่ม้า และเดินเท้าบ้าง เขาได้ไปเยี่ยมหัวเมืองต่างๆ ในภาคเหนือและภาคอีสาน เริ่มจากเมืองลำพูน ลำปาง พะเยา เชียงราย แพร่ น่าน ซึ่งขณะนั้นรวมเป็นมณฑลลาวเฉียง เมื่อไปถึงเมืองใดปิแอร์ ก็จะหารือข้อราชการกับข้าหลวงถึงปัญหาต่างๆ ถ้าเรื่องไหนเห็นว่า สามารถแก้ไขได้ก็จะแนะนำให้ข้าหลวงดำเนินการโดยทันที


หลังจากที่ออกเดินทางจากเมืองน่านแล้ว ท่านได้เดินทางไปถึงเมืองปากสายริมแม่น้ำโขงแล้วล่องแพไปตามลำน้ำจนถึงเมืองเวียงจันทน์ จากนั้นก็ใช้แพเดินทางล่องลงมาจนถึงเมืองหนองคาย ผ่านเมืองหมากแข็ง หรือ จังหวัดอุดรธานี จนมาถึงเมืองโคราช ผ่านดงพญาไฟ และมาขึ้นรถไฟที่หมู่บ้านหินลังในเขตจังหวัดสระบุรี ก่อนที่จะเข้าสู่เมืองบางกอก โดยปิแอร์ โอร์ต ใช้เวลาในการเดินทางเยี่ยมหัวเมืองต่าง ๆ ทั้งหมดนานถึง ๕ เดือนเต็ม

เชียงใหม่โบราณ5.jpg
เชียงใหม่โบราณ5.jpg (28.53 KiB) เปิดดู 49414 ครั้ง

เขตกำแพงเมืองเชียงใหม่ในอดีต
ซึ่งในบันทึกของเขาได้เล่าว่า “ข้าพเจ้าไปพบเจ้าเมือง และ เจ้าผู้ครองนครผู้เฒ่า เจ้าเมืองพำนักอยู่ในคุ้มที่ปลูกด้วยไม้ซึ่งได้รับการดูแลเป็นอย่างดี และออกมาต้อนรับข้าพเจ้าพร้อมด้วยลูกชายและเจ้านายอื่นๆ อีก ๒ องค์ เจ้าเมืองคะคั้นคะยอให้ข้าพเจ้ารับหอกไม้ที่หุ้มด้วยเงิน ๒ เล่ม ซึ่งเป็นงานฝีมือของช่างพื้นเมือง”

นอกจากนั้นยังได้บันทึกไว้อีกว่า “เมืองเชียงใหม่” สมัยนั้น (พ.ศ.๒๔๔๐) มีประชากรราว ๕ หมื่นคน ลักษณะของเมืองแบ่งเป็น ๒ เขต แต่ละเขตมีกำแพงสูง ๒ – ๓ เมตร และมีป้อมสูงที่แต่ละมุมกำแพง ตัวเมืองตั้งอยู่บนฝั่งของแม่น้ำปิง มีสะพานไม้ สันนิษฐานว่า เป็นสะพานแห่งแรกที่สร้างข้ามแม่น้ำปิง (บริเวณหน้าวัดเกตุ) ทำด้วยไม้สัก ต่อมาได้พังลงเนื่องจากถูกท่อนซุงที่ไหลมากับกระแสน้ำเชี่ยวพุ่งชน


ทั้งนี้สามารถหาอ่านได้จากหนังสือ “ล้านนาไทยในแผ่นดินพระพุทธเจ้าหลวง” ซึ่งเป็นบันทึกการเดินทางเยี่ยมหัวเมืองเหนือ และตะวันตกเฉียงเหนือเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีก่อนของนาย “ปิแอร์ โอร์ต” ที่ได้บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ของภาคเหนือ และประเทศสยาม ซึ่งได้รับการแปลจากบันทึกต้นฉบับ “หอจดหมายเหตุแห่งชาติกรุงบรัสเซลล์” โดย “คุณพิษณุ จันทร์วิทัน”

เรียบเรียงโดย : “เชียงใหม่นิวส์”
ข้อมูลและภาพจาก : จักรพงษ์ คำบุญเรือง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: น้ำฟ้า..บันทึกความทรงจำและข้อมูลทำงาน

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 24 ก.พ. 2020 8:26 pm

วัดประจำรัชกาลที่ ๓
Untitled.jpg
Untitled.jpg (190.84 KiB) เปิดดู 48976 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: น้ำฟ้า..ปัณณ์รัก..นวนิยายไทย..นวนิยายเสียง..ข่าวสารการเข

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 30 ส.ค. 2021 5:13 am

นิยายเสียงเรื่อง ห้วงรักเงาอดีต EP 1 บทนำ - บทที่ 2


ห้วงรักเงาอดีต เป็นนวนิยายที่ตัวละครย้อนอดีตไปในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เรื่องราวรักสามเส้าระหว่างหญิงสาวชาวไทย นายทหารญี่ปุ่น และเชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร เพราะกรรมในอดีตที่ทำร่วมกันมาจึงชักพาให้เขาและเธอมาพบกัน
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: น้ำฟ้า..ปัณณ์รัก..นวนิยายไทย..นวนิยายเสียง..ข่าวสารการเข

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » จันทร์ 30 ส.ค. 2021 5:13 am

นิยายเสียงเรื่อง ห้วงรักเงาอดีต EP 2 บทที่ 3 - บทที่ 5
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: น้ำฟ้า..ปัณณ์รัก..นวนิยายไทย..นวนิยายเสียง..ข่าวสารการเข

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อังคาร 31 ส.ค. 2021 9:22 pm

นิยายเสียงเรื่อง ห้วงรักเงาอดีต EP 2 บทที่ 6 - บทที่ 7
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง สนทนากับคนภาษาไทย

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 155 ท่าน

cron