อัลบั้มรูปและบันทึกของ น้ำฝน ทะกลกิจ (น้ำฟ้า)

เสวนาภาษาไทย

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ น้ำฝน ทะกลกิจ น้ำฟ้า แม่หญิงล้านน

โพสต์โดย ภาษาสยาม » เสาร์ 22 ก.ย. 2018 8:32 am

พื้นดวงของเราปีนี้ (๒๕๖๑) จะมีสิ่งใหม่ๆประสบการณ์ใหม่ๆพีคๆเกิดขึ้น

ด้านวิชาชีพครูก่อนก็แล้วกัน สิ่งแปลกใหม่ที่เกิดขึ้น นั่นคือ การเป็นตัวแทนเสนอผลงานเข้ารับการพิจารณารางวัลเชิดชูเกียรติ ๓ รายการ ซึ่งประสบความสำเร็จทุกรายการ ดังนี้

๑. งานวันครู ๑๖ มกราคม ๒๕๖๑ รับรางวัลเชิดชูเกียรติ ประเภท ครูผู้สอนดีเด่น กลุ่มสาระฯภาษาไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓ รางวัลด้านครูผู้สอนดีเด่นนั้นเพิ่งมีขึ้นเป็นปีแรก จากที่ทุกปีจะมีเพียงครูดีเด่นซึ่งโรงเรียนคัดชื่อเสนอเขตไปโรงเรียนละ ๑ คน (ไม่นับผู้บริหาร) แต่ครูผู้สอนดีเด่นนั้น ส่งรายชื่อได้ทุกกลุ่มสาระฯ กลุ่มสาระฯละ ๑ คน คณะกรรมการของเขตพื้นที่ฯจะคัดจากตัวแทนทุกๆโรงเรียนให้เหลือกลุ่มสาระฯ ละ ๓ คน



CCI09202018_0002_resize.jpg
CCI09202018_0002_resize.jpg (171.98 KiB) เปิดดู 53429 ครั้ง


CCI09202018_0001_resize.jpg
CCI09202018_0001_resize.jpg (219.85 KiB) เปิดดู 53429 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1144
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ น้ำฝน ทะกลกิจ น้ำฟ้า แม่หญิงล้านน

โพสต์โดย ภาษาสยาม » เสาร์ 22 ก.ย. 2018 8:38 am

๒. รางวัล "ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น” จังหวัดนนทบุรี ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๑ จัดโดย สำนักวัฒนธรรมจังหวัด ทางจังหวัดจะสรรหาผู้ที่มีความดีเด่นทางด้านภาษาไทยจังหวัดละ ๑ คน เพื่อเสนอชื่อพิจารณาระดับประเทศต่อไป

๓. รางวัลเชิดชูเกียรติ ‘ครูดี ศรี สพฐ.’ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๓ (จังหวัดนนทบุรี,พระนครศรีอยุธยา) งานนี้จัดปีการศึกษา ๒๕๖๑ เป็นปีแรก โดยมีเป้าประสงค์เพื่อเชิดชูเกียรติครูสายผู้สอนที่จัดการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นที่ศรัทธายกย่อง ยอมรับ จากนักเรียน เพื่อนครู และชุมชน เป็นแบบอย่างของผู้มีจิตวิญญาณความเป็นครู และได้ทุ่มเทเสียสละเพื่อนักเรียนอย่างต่อเนื่อง ทุกโรงเรียนในทุกๆเขตพื้นที่การศึกษาจะคัดเลือกครู ๑ คน(มาจากครูผู้สอนทุกๆกลุ่มสาระฯ) เป็นตัวแทนไปคัดเลือกระดับเขตพื้นที่การศึกษา ให้ได้เขตละ ๑ คน ดังนั้นการคัดเลือกนี้จึงมาจากทุกสายวิชา

ทั้ง ๓ รางวัลที่ได้มา เป็นผลจากคำแนะนำของรองดาราณีย์ โกพลรัตน์ และครูสายพิณ ศรีเพ็ง ที่พยายามเกลี้ยกล่อมให้เสนอผลงานเพื่อพิจารณา บอกเลยว่าถ้าไม่มีสองท่านนี้อิฉันคงไม่ส่ง เพราะการเสนอชื่อเข้ารับรางวัลต่างๆไม่เคยอยู่ในหัวมาก่อน แต่กว่าจะประสบความสำเร็จได้นั้น มีทั้งนักเรียน เพื่อนครู และบุคลากรในโรงเรียนคอยช่วยเหลือคนละนิดละหน่อย แต่ลืมไม่ได้จริงๆ เพราะทุกคนต่างมีส่วนร่วม จึงขอแสดงความขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยนะคะ คนเราทำอะไรคนเดียวไม่สำเร็จหรอก มันต้องมีทีมงาน มีความปรารถนาดีจากคนรอบข้างด้วย อิฉันเป็นคนโชคดีที่ได้มาอยู่โรงเรียนแห่งนี้ Pakkred Secondary School บ้านหลังที่สอง..ที่เราไม่มีวันลืม

CCI09202018_0003_resize.jpg
CCI09202018_0003_resize.jpg (148.37 KiB) เปิดดู 53429 ครั้ง


CCI09202018_0004_resize.jpg
CCI09202018_0004_resize.jpg (98.44 KiB) เปิดดู 53429 ครั้ง


นางสาวน้ำฝน ทะกลกิจ
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1144
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ น้ำฝน ทะกลกิจ น้ำฟ้า แม่หญิงล้านน

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:32 pm

เลี้ยงส่งครูเกษียณ ภาษาไทย ปากเกร็ด ๒๕๖๑
อาจารย์เตือนใจ ขมิ้นเขียว และอาจารย์มุขสุดา(สุชาดา ถีระแก้ว)

กาญจนบุรี2018_180928_0203_resize.jpg
กาญจนบุรี2018_180928_0203_resize.jpg (77.19 KiB) เปิดดู 52889 ครั้ง





ณ สกายเลค วิว รีสอร์ท เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี
ไฟล์แนป
กาญจนบุรี2018_180928_0248_resize.jpg
กาญจนบุรี2018_180928_0248_resize.jpg (62.61 KiB) เปิดดู 52889 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ น้ำฝน ทะกลกิจ น้ำฟ้า แม่หญิงล้านน

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:37 pm

1097871_resize.jpg
1097871_resize.jpg (71.13 KiB) เปิดดู 52889 ครั้ง


ณ สกายเลค วิว รีสอร์ท เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี

กาญจนบุรี_180928_0015_resize.jpg
กาญจนบุรี_180928_0015_resize.jpg (115.08 KiB) เปิดดู 52889 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ น้ำฝน ทะกลกิจ น้ำฟ้า แม่หญิงล้านน

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:43 pm

รำพันพิลา กษิณานุสรณ์ ปากเกร็ด ๒๕๖๑

70130_resize.jpg
70130_resize.jpg (73.68 KiB) เปิดดู 52889 ครั้ง


71233_resize.jpg
71233_resize.jpg (72.51 KiB) เปิดดู 52889 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ น้ำฝน ทะกลกิจ (น้ำฟ้า)

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 28 ต.ค. 2018 3:56 pm

ดอยม่อนล้าน
ดอยม่อนล้าน ตั้งอยู่ในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูง ประมาณ ๑,๖๙๖ เมตร ถือว่าเป็นจุดชมทิวทัศน์ที่มีชื่อเสียงของ อำเภอพร้าว บนยอดดอยสามารถเห็นทะเลหมอก โดยเฉพาะช่วงเวลาพระอาทิตย์ขึ้น และ พระอาทิตย์ตกจะมีความสวยงามมาก สามารถมองเห็นดอยหลวงเชียงดาว เขื่อนแม่งัด และตัวอำเภอพร้าวในยามค่ำคืนนักท่องเที่ยวยังจะได้ชมดาวบนดินได้อีกด้วย

20181019_181024_0023_resize.jpg
20181019_181024_0023_resize.jpg (127.16 KiB) เปิดดู 52284 ครั้ง


ดอยม่อนล้าน เป็นที่ตั้งของโครงการสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ ในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ เพื่อให้ ชาวบ้านเข้ามามีส่วนในกิจกรรมต่างๆของสถานี บริเวณพระตำหนักที่ประทับมีดอกไม้เมืองหนาวสีสีนสวยงามนานาพันธุ์ให้ได้ ชื่นชมและถ่ายภาพ นอกจากนี้บนดอยม่อนล้าน ยังเป็นจุดติดตั้งกังหันลมเพื่อการผลิตไฟฟ้า ตามโครงการศึกษาศักยภาพการ ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ม.แม่โจ้ จ.เชียงใหม่ ซึ่งถือเป็น ๑ ใน ๓ แหล่ง ที่มีความเหมาะสมในการติดตั้งกังหันลมซึ่งจะทำให้ชาวบ้านมีไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดใช้ได้ตลอด

20181019_181024_0034_resize.jpg
20181019_181024_0034_resize.jpg (185.5 KiB) เปิดดู 52284 ครั้ง


ดอยม่อนล้านมีที่พักของโครงการเกษตรที่สูงม่อนล้าน ให้บริการจำนวน ๗ หลัง พร้อมเครื่องนอน พักได้ ๔ – ๕ คน ภายในบ้านมี ไฟฟ้าใช้ตลอดวันไม่จำกัดเวลา ไม่มีเครื่องทำน้ำอุ่น ค่าบริการแล้วแต่จะให้เป็นค่าบำรุงสถานที่รวมถึงสถานที่กางเต็นท์สามารถ นำเต็นท์มาเองได้ ไม่มีร้านอาหารต้องเตรียมมาเอง แต่บริเวณที่ทำการมีร้านสวัสดิการขายเครื่องดื่ม ขนม มีบริการกาแฟ โอวัลติน
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ น้ำฝน ทะกลกิจ (น้ำฟ้า)

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 28 ต.ค. 2018 4:08 pm

วัดพระสิงห์
วัดพระสิงห์ หรือมีชื่อเต็มว่า วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เป็นวัดสำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เป็นวัดที่ประดิษฐาน พระสิงห์ (พระพุทธสิหิงค์) พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองเชียงใหม่และแผ่นดินล้านนา พระพุทธรูปเป็นศิลปะ เชียงแสนรู้จักกันในชื่อ "เชียงแสนสิงห์หนึ่ง วัดพระสิงห์ มีสถาปัตยกรรมล้านนาอันงดงามเป็นที่รู้จักและ คุ้นชื่อกันอย่างดี วัดพระสิงห์ยังเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเชียงใหม่ที่ให้ความศรัทธาและจะเดินทาง มาเคารพ สักการะกันอย่างเนื่องแน่นเป็นประจำ ทุกปีเมื่อถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์หรืองานประเพณีปี๋ใหม่เมือง ทางราชการ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ขึ้นประดิษฐานบนรถบุษบกแห่ไปรอบเมืองเพื่อให้ศรัทธา ประชาชนได้พากันมา สรงน้ำเนื่อง ในเทศกาลปีใหม่ ตามคติล้านนา คนเกิดปีมะโรงต้องมาไหว้พระสิงห์ให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต

20181022_181024_0076_resize.jpg
20181022_181024_0076_resize.jpg (134.73 KiB) เปิดดู 52284 ครั้ง


สิ่งที่น่าสนใจในวัดพระสิงห์

โบสถ์
เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีมุขโถงทั้งด้านหน้าด้านหลัง ลักษณะอาคารและการตกแต่งเป็น แบบศิลปะล้านนา โดยแท้ ด้านข้างแลเห็นหน้าต่างขนาดใหญ่ตีเป็นช่องแบบไม้ระแนง แต่ภายในเป็นหน้าต่างจริง มีลายปูนปั้นบริเวณ ซุ้มประตูทางเข้า หน้าบันมีลักษณะวงโค้งสองอันเหนือทางเข้าประกบกัน เรียกว่า คิ้วโก่ง เหนือคิ้วโก่งเป็น วงกลม สองวงคล้ายดวงตา ที่เสาและส่วนอื่นๆ มีปูนปั้นนูน มีรักปั้นปิดทอง วิจิตรพิสดารมาก

หอไตร
สร้างเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ผนังด้านนอกประดับด้วยทวยเทพปูนปั้น ทำเป็นรูปเทพพนมยืน บ้างก็เหาะประดับ อยู่โดยรอบ เป็นฝีมือช่างสมัยพระเมืองแก้ว ประมาณ พ.ศ.๒๔๗๖ เจ้าแก้วนวรัฐได้ซ่อมแซมขึ้น ใหม่ที่ฐาน หอไตรปั้นเป็นลายลูกฟักลดบัว ภายในประดับด้วยรูปสัตว์หิมพานต์ เช่น นางเงือกมีปีก คชสีห์มีปีก กิเลน เป็นต้น และมีลายประจำยามลักษณะคล้ายลายสมัยราชวงศ์เหม็งของจีน

วิหารลายคำ
วิหารลายคำนี้มีลวดลายปูนปั้นที่สวยงามปราณีตบรรจงมากแสดงให้เห็นฝีมือของช่างในยุคนั้นว่าเจริญถึงที่สุด ตัววิหารลายคำสร้างตามแบบศิลปกรรมของภาคเหนือ มีรูปปั้นพญานาค ๒ ตัวอยู่บันไดหน้า และใกล้ ๆ พญานาค มีรูปปั้นสิงห์ ๒ ตัว บริเวณ ภายในเป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธสิหิงค์” บนผนังด้านหลังพระประธาน เสาหลวง (เสากลม) เสาระเบียง (เสาสี่เหลี่ยม) มีภาพลายทองพื้นแดงเป็นลวดลายต่างๆ เต็มไปหมด ด้านหลังพระประธาน ยังมีรูปปราสาทแวดล้อมด้วยมังกรและหงส์ มีความงดงามน่าชมยิ่ง ผนังวิหารด้านเหนือมีภาพจิตรกรรม เขียน เรื่องสังข์ทอง ด้านใต้เรื่องสุวรรณหงส์ นับเป็นภาพที่น่าสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องสังข์ทอง พบเพียงแห่ง เดียวที่นี่

20181022_181024_0095_resize.jpg
20181022_181024_0095_resize.jpg (212.1 KiB) เปิดดู 52284 ครั้ง


ประวัติพระพุทธสิหิงค์
พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์ เป็นพระพุทธรูปโบราณหล่อด้วยสำริดหุ้มทอง ปางสมาธิ สูง ๗๙เซนติเมตร หน้า ตักกว้าง ๖๓ เซนติเมตร เป็นศิลปะแบบลังกา ตามประวัติกล่าวว่า พระเจ้าสีหฬะ พระมหากษัตริย์แห่ง ลังกาทวีป ทรงสร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๗๐๐ ต่อมา เจ้านครศรีธรรมราชได้ไปขอมาถวายพระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย เมื่อสมเด็จ พระบรมราชาธิราชที่ ๑ แห่งกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยเป็นเมืองขึ้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐาน ที่ กรุงศรีอยุธยาต่อมาได้มีผู้นำไปไว้ที่เมืองกำแพงเพชรและเชียงราย เมื่อพระเจ้าแสนเมืองมา เจ้านครเชียงใหม่ ยกทัพไปตีเมืองเชียงรายได้ จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่เชียงใหม่พร้อมกับพระแก้วมรกต เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชตีเมืองเชียงใหม่ได้เมื่อ พ.ศ.๒๒๐๕ ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่ วัดพระศรีสรรเพชญ์กรุงศรีอยุธยาเป็นเวลานานถึง ๑๐๕ ปี เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ แก่พม่าใน พ.ศ. ๒๓๑๐ ชาวเชียงใหม่ได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปที่เชียงใหม่ เมื่อมณฑลพายัพได้กลับมาเป็นของไทย ในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทโปรดให้อัญเชิญลงมา ยังกรุงเทพมหานครเมื่อปี พ.ศ.๒๓๓๘ ปัจจุบันพระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวัง บวรสถานมงคล โดยจะมีพิธีเชิญออกมาช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้ประชาชนไทยได้สักการะและสรงน้ำ ส่วนพระสิงห์ที่ประดิษฐานที่วัดแห่งนี้เป็นพระพุทธรูปจำลอง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ น้ำฝน ทะกลกิจ (น้ำฟ้า)

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 28 ต.ค. 2018 4:26 pm

วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร
วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ในจังหวัดเชียงใหม่ มีชื่อเรียกหลายชื่อ ได้แก่ ราชกุฏาคาร,วัดโชติการาม สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมา กษัตริย์ลำดับที่ ๗ แห่งราชวงศ์มังราย ไม่ปรากฏปีที่สร้างแน่ชัด สันนิษฐานว่าวัดแห่งนี้น่าจะสร้างในปี พ.ศ. ๑๙๓๔ วัดเจดีย์หลวงเป็นพระอารามหลวงแบบโบราณ มีการบูรณะมาหลายสมัย ปัจจุบันมีขนาดความกว้างด้านละ ๖๐ เมตร เป็นองค์พระเจดีย์ที่มีความสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในเชียงใหม่

20181022_181024_0111_resize.jpg
20181022_181024_0111_resize.jpg (165.94 KiB) เปิดดู 52284 ครั้ง


วิหารหลวง
วิหารหลวงของวัดนี้เจ้าคุณอุบาลีคุณปรมาจารย์(สิริจันทะเถระ) และเจ้าแก้วนวรัฐเป็นผู้สร้างขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๗๑ หน้าประตูทางเข้าวิหาร มีบันไดนาคเลื้อยงดงามยิ่ง ใช้หางเกี่ยวกระหวัดขึ้นไปเป็นซุ้มประตูวิหาร นาคคู่นี้เป็นฝีมือเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่เดิมได้ชื่อว่าเป็นนาคที่สวยที่สุดของมีพระอัฎฐารสเป็นพระประธานในพระวิหารหลวงหล่อด้วยทองสำริดปางห้ามญาติสูง ๑๘ ศอก พระนางติโลกะจุดาราชมารดาของพญาติโลกราชโปรดฯให้หล่อขึ้น เมื่อ พ.ศ.๑๙๕๔ สมัยรัชกาลที่ ๕ ใช้วิหารวัดเจดีย์หลวงเป็นที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัจจา แทนการใช้ที่วิหารวัดเชียงมั่น


พระเจดีย์หลวง
เริ่มสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๙๓๔ สมัยพญาแสนเมืองมา สมัยพญาติโลกราช โปรดให้สร้างเสริมให้มีส่วนสูง ๘๐ เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ ๕๖ เมตรปรับรูปทรงเป็นแบบโลหะปราสาทของลังการูปลักษณ์ทรงเจดีย์แบบพุกาม ดัดแปลงซุ้มตรงสี่มุมของมหาเจดีย์ มีรูปปั้นช้างค้ำรายล้อมรอบองค์เจดีย์หลวงนั้นมี ๒๘ เชือก การสร้างรูปปั้นช้างนั้นเป็นการส่งเสริมกำลังเมืองในทางด้านไสยศาสตร์เพื่อให้เมืองมีความแข็งแรงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีพิธีการสักการบูชาพญาช้างทั้ง ๘ เชือก เพราะเชื่อว่าจะทำให้เกิดสวัสดิมงคล นำความสงบสุขมาสู่บ้านเมือง ศัตรูไม่กล้ามารุกรานย่ำยีเมืองได้ เพราะชื่อพญาช้างที่ตั้งขึ้นนั้นเป็นพลังอำนาจก่อเกิดเดชานุภาพ อิทธิฤทธิ์ ข่มขู่บดบัง ขวางกั้น กำจัด ปราบปรามอริราชศัตรูที่จะมารุกราน ให้แพ้ภัยแตกพ่ายหนีไปเอง ซึ่งแต่ละชื่อมีความหมายดังนี้

๑. เมื่อศัตรูยกพลเสนามารุกราน ล่วงล้ำเข้ามาในเขตพระราชอาณาจักร จะเกิดอาเพศ ท้องฟ้ามืดมิดด้วยเมฆหมอกปกคลุม ธรรมชาติวิปริตแปรปรวน น่ากลังยิ่งนัก ทำให้ผู้รุกราหวาดผวาภัยพิบัติ ตกใจกลัวแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “เมฆบังวัน”

๒. เมื่อผู้รุกรานยกทัพเข้ามาใกล้ แม้จะมีพลโยธาทหารกล้าเรือนแสน ก็จะเกิดอาการมึนเมาลืมหลง ไม่อาจครองสติยับยั้งอยู่ได้ ต้องระส่ำระส่าย แตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ข่มพลแสน”

๓. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามา แม้จะมีกำลังพลมากมาย มีศาตรา มีด พร้า ด้ามคมเป็นแสนๆเล่ม ก็ไม่อาจเข้าใกล้ทำร้ายได้ มีแต่จะเกิดหวาดหวั่นขาดกลัวแตกหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ดาบแสนด้าม”

๔. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามารานรบ แม้จะมีกำลังพลกล้าหาญมากมาย มีศาสตราอันคมยาว หอกแหลนหลาวเป็นแสน ก็ไม่อาจเข้ามาราวีได้ จึงต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “หอกแสนลำ”

๕. เมื่อข้าศึกศัตรูผู้รุกรานเข้ามา แม้จะมีกำลังพลจำนวนมาก มีอาวุธปืนเป็นแสนกระบอก ก็ไม่สามารถทำอันตรายได้ ต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “ปืนแสนแหล้ง”

๖. เมื่อผู้รุกรานบุกรุกเข้ามา แม้จะมีกำลังพลมากมาย มีหน้าไม้คันธนูเป็นแสนๆ ไม่สามารถทำอันตรายได้ ต้องแตกพ่ายหนีไป จึงได้ชื่อว่า “หน้าไม้แสนเกี๋ยง”

๗. เมื่อข้าศึกอาจหาญล้ำแดนเข้ามา แม้ด้วยกำลังพลหัตถีนึก กองทัพช้างมีเป็นแสนเชือก ก็ไม่อาจหักหาญเข้ามาได้ มีแต่จะอลม่านแตกตื่นแกหนีไปสิ้น จึงได้ชื่อว่า “แสนเขื่อนกั้น” (บางแห่งเป็น แสนเขื่อนก๊าน)

๘. เมื่อข้าศึกเข้ามาหมายย่ำยี ก็จะเกิดอาการร้อนเร่าเหมือนเพลิงเผาผลาญรอบด้าน เลยแตกพ่ายหนีไปด้วยความทุกข์ทรมาน จึงได้ชื่อว่า “ไฟแสนเต๋า”



เสาอินทขิล
เสาอินทขิลเดิมตั้งอยู่ในบรเวณพื้นที่ซึ่งตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่เรียกว่า"สายดือเมือง"(วัดอินทขิล) เมื่อพระเจ้ากาวิละย้ายออกจากเวียงป่าซางซึ่งอยู่นาน ๑๔ ปี ๔ เดือน ๒๐ วันเข้าสู่นครเชียงใหม่ เมื่อเดือน ๖ ขึ้น ๑๒ ค่ำ ย้ายเข้าวันที่ ๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๓๙ เพื่อ"สร้างบ้านแปลงเมือง" นำเชียงใหม่สู่ยุคเก็บผักใส่ช้าเก็บข้าใส่เมืองฟื้นอำนาจเชียงใหม่จนประสบชัยใน พ.ศ.๒๓๔๓ จึงเรียกชื่อเมืองเชียงใหม่ว่า "เมืองรัตตนติงสาภินวปุปรี" พร้อมก่อรูป กุมภัณฑ์รูป สุเทวฤษไว้ใกล้หออินทขีล ที่วัดโชติอารามวิหาร ในเดือนมิถุนายน ๒๕๓๓ ถึงเดือน ธันวาคม ๒๕๓๕ กรมศิลปากรได้ว่าจ้างบริษัทศิวกรการช่างจำกัดบูรณปฎิสังขรณ์พระธาตุเจดีย์หลวงด้วยงบประมาณ ๓๕ ล้าน บาท รักษารูปทรงที่เหลืออยู่จากครั้งแผ่นดินไหวให้มั่นคงยิ่งขึ้นโดยทำฐานกว้างด้านละ ๖๐ เมตรและเสริมเติมส่วนที่มีร่องรอยเช่น ช้างทั้ง ๘ เชือก รอบพระเจดีย์ แต่ได้รับการวิจารณ์หนัก และปัจจุบันมีความพยายามให้ ปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ให้เต็มองค์โดยนิมนต์สมเด็จพระสังฆราช เป็นองค์ประธาน ราวกับจะให้ร่องรอยพังทลาย ที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์หมดสิ้นไป
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ น้ำฝน ทะกลกิจ (น้ำฟ้า)

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 28 ต.ค. 2018 4:46 pm

๒๓ ตุลาคม ๒๕๖๑ ได้ยืนอยู่บนจุดชมวิวดอยสุเทพเชียงใหม่ เวลาหลังฝนตก นักท่องเที่ยวมีไม่มากนัก แต่ก็เกิน ๑๐ คน
เมื่อไปยืนตรงระเบียงจุดชมวิว ช่วงแรกๆหมอกสีขาวบดบังทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่จนขาวโพลน แต่พักเดียวหมอกก็ค่อยๆเลื่อนไปทางทิศใต้ ค่อยๆไหลไปเหมือนสายน้ำ อะเมซิ่งมาก ไม่เคยเห็นภาพแบบนี้เลย ชอบมาก

20181022_181024_0029_resize.jpg
20181022_181024_0029_resize.jpg (90.43 KiB) เปิดดู 52522 ครั้ง


2018-10-22 13.04.34_resize.jpg
2018-10-22 13.04.34_resize.jpg (97.7 KiB) เปิดดู 52522 ครั้ง
ไฟล์แนป
20181022_181024_0043_resize.jpg
20181022_181024_0043_resize.jpg (98.44 KiB) เปิดดู 52522 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ น้ำฝน ทะกลกิจ (น้ำฟ้า)

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 28 ต.ค. 2018 4:53 pm

วัดอินทขิล สะดือเมือง วัดโบราณเมืองเชียงใหม่

วัดอินทขิล ได้เจริญรุ่งเรืองมีพระสงฆ์จำพรรษาตลอดเรื่อยมา จากเอกสารสำรวจวัดในสมัยครูบาปัญญา เจ้าอาวาสวัดหัวข่วง พ.ศ.๒๔๒๕ ยังปรากฏชื่อวัดอินทขิลอยู่ สันนิษฐานว่าวัดอินทขิลได้กลายเป็นวัดร้างในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๗ (พ.ศ.๒๔๑๖-๒๔๓๙) ซึ่งเป็นยุคเริ่มต้นของการรวมศูนย์เข้ากับส่วนกลางให้เป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศ เจ้านายฝ่ายเหนือถูกลดบทบาทลงอย่างมาก ต้องแบ่งเงินภาษีอากรส่งไปส่วนกลาง วัดจึงขาดการทำนุบำรุง พระสงฆ์ก็ขาดการอุปถัมภ์ วัดอินทขิลหรือวัดสะดือเมืองจึงตกอยู่ในสภาพรกร้าง

20181022_181024_0011_resize.jpg
20181022_181024_0011_resize.jpg (198.03 KiB) เปิดดู 48970 ครั้ง


ในสมัยพญามังรายได้ทรงสร้างวัดสะดือขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานของเสาหลักเมือง หรือเสาอินทขิล ซึ่งตามตำนานพื้นเมืองเหนือกล่าวถึงการบูชาเสาอินทขิลไว้ว่า พระอินทร์ได้ประทานให้ลัวะในสมัยการสร้างเวียงนพบุรี โดยเศรษฐีลัวะ ๙ ตระกูล พระฤาษีให้กุมภัณฑ์ ๒ ตน เอาเสาอินทขิลใส่สาแหรกหามนำไปประดิษฐานไว้ ณ แท่นกลางเมืองนพบุรี ให้ชาวเมืองของลัวะสักการะบูชาก่อนที่จะกลายเป็นเมืองร้าง

กระทั่งพญามังราย ได้สุบินนิมิตรไล่ตามกวางเผือกจนมาพบชัยภูมิที่ดี จึงมีดำริจะสร้างเมืองขึ้นใหม่ พ.ศ.๑๘๓๕ ก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่ พญามังรายได้มาสำรวจพื้นที่บริเวณเมืองนพบุรีร้าง ได้พบซากเสาอินทขิลและรูปกุมภัณฑ์ ณ ที่กลางเมืองนั้น จึงมีบัญชาให้เสนาชื่อ สรีกรชัย แต่งเครื่องบรรณาการไปหาพญาลัวะบนดอยสุเทพ พญาลัวะจึงแนะนำว่า หากเจ้าพญามังรายจะสร้างเมืองขึ้นใหม่ให้อยู่เย็นเป็นสุขก็ให้บูชากุมภัณฑ์และเสาอินทขิล เมื่อพญามังรายสร้างเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่แล้ว จึงโปรดให้ยกรูปกุมภัณฑ์และเสาอินทขิลที่ประดิษฐานในบริเวณสะดือเมืองขึ้นมาเพื่อให้คนสักการะกราบไหว้ตามคำแนะนำของพญาลัวะ

20181022_181024_0016_resize.jpg
20181022_181024_0016_resize.jpg (163.93 KiB) เปิดดู 48970 ครั้ง


ต่อมาจึงได้สร้างวัดขึ้นชื่อว่า วัดอินทขิล แต่เนื่องจากว่าวัดนี้ตั้งอยู่บริเวณสะดือเมือง ชาวบ้านจึงเรียกว่า วัดสะดือเมือง ในตลอดรัชสมัยของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์มังรายวัดสะดือเมืองได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นโดยลำดับ ก่อนที่จะเป็นวัดร้างภายหลังล้านนาถูกพม่าเข้าปกครอง จนถึงปี พ.ศ.๒๓๔๓ พระเจ้ากาวิละ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์เจ้าเจ็ดตน เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์แรก ได้ขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนาและได้ฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ขึ้น ได้ย้ายเสาอินทขิลจากวัดอินทขิลมาประดิษฐานอยู่ ณ วัดเจดีย์หลวง พร้อมกับบูรณะฟื้นฟูวัดอินทขิล โดยได้สร้างวิหารคล่อมฐานเดิม อัญเชิญพระอุ่นเมือง (หลวงพ่อขาว) มาประดิษฐานเป็นพระประธานในวิหาร

20181022_181024_0007_resize.jpg
20181022_181024_0007_resize.jpg (184.16 KiB) เปิดดู 48970 ครั้ง
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ น้ำฝน ทะกลกิจ (น้ำฟ้า)

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 28 ต.ค. 2018 5:17 pm

พระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร

พระธาตุดอยสุเทพตั้งอยู่บนดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ การขึ้นไปนมัสการในปัจจุบันนี้สะดวกสบายมาก เพราะมีถนนซึ่งสร้างสำเร็จโดย" ครูบาศรีวิชัย " พระคุณเจ้าได้เชิญชวนชาวบ้านในภาคเหนือทั้งหลาย ให้ร่วมแรงร่วมใจกันก่อสร้างถนนเวียนไปจนถึงยอดพระธาตุแห่งนี้

20181022_181024_0070_resize.jpg
20181022_181024_0070_resize.jpg (138.47 KiB) เปิดดู 49364 ครั้ง


ตำนานการสร้างพระธาตุดอยสุเทพกล่าวเอาไว้ว่า กล่าวถึงพระมหาสุมนเถรเจ้าแห่งสุโขทัยเกิดนิมิตฝันอันประหลาดว่า พระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า ซึ่งพระเจ้าธรรมาอโศกราชให้อัญเชิญมาบรรจุไว้ณ พระเจดีย์เมืองปางจานั้น บัดนี้พระเจดีย์นั้นหักพังเสียแล้ว โดยข้างเจดีย์มีกอดอกเข็มกอหนึ่งมีลักษณะเป็นรูปม้านั่ง เป็นที่สถิตของพระบรมธาตุ ขอให้ท่านไปขุดเอาพระบรมธาตุองค์นี้มาเสีย
รุ่งขึ้น พระสุมนเถรก็นำความไปถวายพระพรแก่พระธรรมราชา เจ้าเมืองสุโขทัย ณ เมืองศรีสัชนาลัย แล้วถวายพระพรเรื่องความฝันนั้นแก่พระเจ้าลือไทยให้ทรงทราบทุกประการ พระองค์ทรงโสมนัสยิ่งนัก ตรัสสั่งอนุญาตและพระราชทานคนช่วยขุดพระบรมธาตุ พระสุมนเถรเจ้าก็พาคนไปยังเมืองปางจา แล้วสร้างศาลเพียงตากระทำการสักการะบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียนต่างๆ ตกกลางคืน พระเถรเจ้าได้กระทำการบวงสรวงเทพเจ้าให้ขุดพระธาตุได้สมตามปรารถนา พอสิ้นคำอธิษฐาน พระบรมธาตุก็ทำปาฏิหารย์รุ่งโรจน์เป็นแสงรัศมีสุกใสสวยงามยิ่งนัก พระเถรเจ้าจึงได้เอาธงปักเป็นเครื่องหมายข้างกอดอกเข็มไว้

ต่อมา พระสุมนเถรเจ้า จึงให้ผู้จะขุดพระบรมธาตุนั้นทุกคนสมาทานศีล ๕ และศีล ๘ ทุกคนแล้วจึงลงมือขุดก็พบอิฐและศิลา และในไม่ช้าผอบที่บรรจุพระบรมธาตุเป็นชั้นๆ คือ

ชั้นแรก เป็นผอบทองเหลือง

ชั้นที่สอง เป็นผอบเงิน

ชั้นที่สาม เป็นผอบทองคำ

ชั้นที่สี่ เป็นที่บรรจุพระบรมธาตุ เป็นผอบแก้วประพาฬ ขนาดโตเท่าลูกทับทิม

เมื่อเหตุการณ์ประสบเช่นนี้แล้ว จึงมีผู้สงสัยว่าจะใช่พระบรมธาตุจริงหรือ พระสุมนเถรเจ้าจึงว่าไม่ใช่พระบรมธาตุ เป็นผอบแก้ว และทำการสักการะบูชาและตั้งสัตยาธิษฐาน จึงได้เห็นที่เปิดพระเถระเจ้าจึงเปิดผอบก็เห็นพระบรมธาตุโตประมาณเท่าเม็ดถั่วเขียว มีพระรัศมีมีทองสุกปลั่ง คนทั้งหลายได้เห็นดังนั้น จึงพากันอนุโมทนา และสรงน้ำชำระพระบรมธาตุด้วยความเลื่อมใสยิ่ง เมื่อเรียบร้อยแล้วจึงนำกลับมายังเมืองศรีสัชนาลัย

เมื่อพระเจ้าลือไทยทรงทราบข่าวนั้น จึงโปรดให้สร้างปราสาทขึ้นหลังหนึ่งเพื่อประดิษฐานพระบรมธาตุที่ได้มานี้ เพราะทรงเลื่อมใสและได้ทอดพระเนตรเห็นพระบรมธาตุแสดงปาฏิหารย์อย่างน่าอัศจรรย์มาแล้ว พระองค์ส่งข่าวไปถวายพระธรรมราชาเจ้าเมืองสุโขทัย พระเจ้าธรรมราชาก็ทรงยินดียิ่ง ทรงดำริว่าถ้าพระธาตุองค์นี้แสดงปาฏิหารย์ดังที่คนเล่าลือแล้วไซร้ เราจักสร้างเจดีย์ทองคำองค์หนึ่งในเมืองนี้เพื่อประดิษฐานไว้เป็นที่สักการะบูชาให้จงได้ แต่พระบรมธาตุมิได้แสดงปาฏิหารย์ดังที่ได้ยิน จึงมิทรงเชื่อถือถึงกับรับสั่งคืนพระบรมธาตุให้แก่พระสุมนเถรเจ้าตามเดิม

ในสมัยพระเจ้ากือนา แห่งราชวงศ์มังรายที่ ๖ ขึ้นครองนครเชียงใหม่ จุลศักราช ๗๒๙ พ.ศ. ๑๙๑๐พระองค์มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงให้ไปนิมนต์พระสุมนเถรเจ้า มาประกาศศาสนาที่เมืองเชียงใหม่ตามลัทธิลังกา ทางสุโขทัยก็ยินยอมให้พระสุมนเถรเจ้ามาพร้อมกับพระธาตุนั้นมาด้วย ภายหลังพระเจ้ากือนาได้อัญเชิญไปบรรจุไว้ ณ วัดบุปผารามสวนดอกไม้หลวง พ.ศ. ๑๙๒๖

ส่วนอีกองค์หนึ่ง พระองค์อธิษฐานเสี่ยงไป โดยอัญเชิญพระบรมธาตุสถิตบนหลังช้างเผือก ช้างเผือกก็แผดร้องถึง ๓ ครั้ง แล้วบ่ายหน้าไปทางทิศเหนือ เดินมาพักใหญ่ถึงภูเขาลูกหนึ่งแล้วหยุดบนภูเขาลูกหนึ่ง แล้วจึงเดินต่อไปอีก ภูเขาที่ช้างเผือกหยุดนั้น ปัจจุบันเรียกว่า " ดอยช้างนอน " จนกระทั่งพักใหญ่ช้างเผือกจึงหยุดบริเวณที่กว้างและราบเรียบ แล้วจึงเดินต่อไปอีก ปัจจุบันเรียกที่ราบนั้นว่า " ยอดดอยงาม " ช้างเผือกเดินต่อไปเรื่อยๆ จนกระทั่งลุถึงดอยสุเทพ จึงหยุดนิ่ง พร้อมกับแผดร้องขึ้นถึง ๓ ครั้ง กระทำปทักษิณสถานที่นี้ถึง ๓ ครั้ง แล้วคุกเข่าทั้ง ๔ ลง พระเจ้ากือนาทรงโสมนัสยิ่งนัก รีบอาราธนาพระบรมธาตุลงจากหลังช้างเผือก พอช้างเผือกลงจากหลังช้างเท่านั้น ช้างเผือกก็ถึงความตายทันที

พระเจ้ากือนาได้ทอดพระเนตรเห็นเหตุการณ์มหัศจรรย์ในครั้งนี้ ก็ทรงนมัสการกราบไหว้พระธาตุด้วยความเคารพยำเกรงยิ่ง แล้วจึงรับสั่งให้ขุดสถานที่บนยอดดอยนั้นลึก ๘ ศอก ๑ วา ๓ ศอกแล้วให้เอาแท่งหินใหญ่ ๖ ศอก มากระทำเป็นหีบหินใหญ่ ใส่ลงไปในหลุมนั้น แล้วอาราธนาพระธาตุพร้อมทั้งผอบตั้งไว้ในหีบหิน เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงโปรดให้สร้างเจดีย์สวมลงสถานที่ฝังพระบรมธาตุนั้นอีกองค์หนึ่งสูง ๕ วา

พระธาตุดอยสุเทพนั้น มีเจ้านายเมืองเชียงใหม่ทุกๆพระองค์เคารพนับถือมาก และบูรณปฏิสังขรณ์กันมาตลอด จนมาถึงท้าวอ้ายจึงให้สร้างเพิ่มเติมองค์พระเจดีย์ให้สูงขึ้นเป็น ๑๑ วา ต่อมาท้าวชายได้สร้างเพิ่มเติม และสร้างวิหารหน้าหลังและระเบียงรอบพระมหาธาตุ สำเร็จเรียบร้อยบริบูรณ์มาจนถึงปัจจุบันนี้

ที่มา หนังสือประวัติเจดีย์และโบราณสถาน. อุดม เชยกีวงศ์ สำนักพิมพ์ภูมิปัญญา


ในสมัยก่อน การขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพนั้น เป็นเรื่องที่ยากลำบากเหลือเกิน เพราะไม่มีถนนสะดวกสบายเหมือนปัจจุบัน ทางเดินก็แคบๆ และ ไม่ราบเรียบ ต้องผ่านป่าเขาลำเนาไพร และปีนเขาต้องใช้เวลายาวนานถึง ๕ ชั่วโมงกว่า จนมีคำกล่าวขานกันทั่วไปในสมัยนั้นว่า ถ้าไม่มีพลังบุญและศรัทธาเลื่อมใสจริงๆ ก็จะไม่มีโอกาสได้กราบไหว้พระธาตุดอยสุเทพ

ในปี พ.ศ.๒๔๗๗ ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย มาจากวัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน เป็นผู้เริ่มดำเนินการสร้างถนนขึ้นสู่พระธาตุดอยสุเทพ โดยมีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่สมัยนั้น เป็นผู้เริ่มขุดดินด้วยจอบเป็นปฐมฤกษ์ ตรงที่หน้าสวนสัตว์เชียงใหม่ปัจจุบัน ใกล้ๆ กับบริเวณน้ำตกห้วยแก้ว โดยเริ่มสร้างวันที่ ๙ พฤศจิกายน ๒๔๗๗

ครูบาศรีวิชัย เจ้าแก้วนวรัฐและพระภิกษุสงฆ์ ประชาชน ถ่ายรูปเป็นที่ระลึกที่บันไดนาค เมื่อ ๓๐ เมษายน ๒๔๗๘ เมื่อข่าวการสร้างถนนขึ้นดอยสุเทพได้แพร่สะพัดไปยังจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือ ชาวพุทธผู้เลื่อมใสในครูบาศรีวิชัย ต่างทยอยกันมาจากทั่วสารทิศจนเต็มบริเวณเชิงดอยหมด เพื่อมาร่วมสละแรงงานช่วยสร้างถนน โดยไม่มีค่าจ้างใดๆ ทั้งสิ้น วันๆ หนึ่งจะมีประชาชนมาร่วมสร้างถนนประมาณ ๓-๔ พันคนจากทั่วทุกจังหวัดภาคเหนือ รวมไปถึงอุตรดิตถ์-พิษณุโลก ปริมาณคนงานที่มาช่วยมีมากเกินความต้องการครูบาศรีวิชัยจึงได้กำหนดให้สร้างถนนหมู่บ้านละ ๑๐ วาเท่านั้น และต่อมายังได้ลดลงอีกเหลือประมาณหมู่บ้านละ ๒ วา ๓ วา เพราะมีคนมาขอร่วมแรงงานสร้างมากขึ้นเรื่อยๆ

นับเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์มากที่การสร้างถนนบนภูเขายาวถึง ๑๑ กิโลเมตร ใช้เวลาเพียง ๕ เดือนกับอีก ๒๒ วัน ทั้งๆ ที่อุปกรณ์การสร้างทางมี เพียงจอบ และเสียม เท่านั้น อุปกรณ์ทันสมัย เช่นในปัจจุบันยังไม่มีพิธีเปิดใช้ถนนใหม่ได้เริ่มเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๔๗๘ โดยท่านครูบาศรีวิชัย เป็นคนแรกที่นั่งรถยนต์ขึ้นดอยสุเทพตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ น้ำฝน ทะกลกิจ (น้ำฟ้า)

โพสต์โดย น้ำฝน ทะกลกิจ » อาทิตย์ 28 ต.ค. 2018 5:25 pm

อุโบสถเงิน วัดศรีสุพรรณ
วัดศรีสุพรรณ ตั้งอยู่บนถนนวัวลาย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวัดที่มีประวัติการก่อสร้างมาตั้งแต่ครั้งอดีตกว่า ๕๐๐ ปี ในรัชสมัยของพระเจ้าเมืองแก้ว กษัตริย์เชียงใหม่ราชธานี และพระนางสิริยสวดี พระราชมารดามหาเทวีเจ้า โปรดเกล้าฯ ให้มหาอำมาตย์ชื่อเจ้าหมื่นหลวงจ่าคำ สร้างวัดชื่อว่า “วัดศรีสุพรรณอาราม” ต่อมาเรียกสั้น ๆ ว่า “วัดศรีสุพรรณ” ภายในวัดมีอุโบสถเงินแห่งแรกของโลก ที่ชาวชุมชนร่วมแรงร่วมใจสืบสานเครื่องเงินชุมชนวัวลาย ซึ่งเป็นชุมชนทำหัตถกรรมเครื่องเงินที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงใหม่


108243.jpg
108243.jpg (222.4 KiB) เปิดดู 49364 ครั้ง



เนื่องด้วยวัดศรีสุพรรณตั้งอยู่ท่ามกลางชุมชนหัตถกรรมช่างหล่อ หัตถกรรมเครื่องเงิน เครื่องเขิน ของถนนวัวลาย ทางวัดจึงมีแนวคิดที่จะสืบสานมรดกงานศิลป์ภูมิปัญญาท้องถิ่นให้ยั่งยืนสืบไปด้วยการรวบรวมภูมิปัญญาชาวบ้านจัดตั้งเป็น กลุ่มหัตถศิลป์ล้านนาวัดศรีสุพรรณ มีการจัดตั้งศูนย์ศึกษาศิลปะไทยโบราณ สล่าสิบหมู่ล้านนาวัดศรีสุพรรณ ขึ้นภายในวัด ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ทางวัดศรีสุพรรณมีแนวคิดสร้างอุโบสถเงินหลังแรกของโลก ให้เป็นสถาปัตยกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนา โดยมีปณิธานร่วมกันเพื่อ “ฝากศิลป์แก่แผ่นดินล้านนา ถวายไว้ในบวรพระพุทธศาสนา เทิดไท้องค์ราชันย์ รัชกาล ที่ ๙ ” เกิดเป็นพุทธศิลป์อันวิจิตรที่ดึงดูดให้ทั้งพุทธศาสนิกชนและบุนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเยี่ยมชมความงดงามของพระอุโบสถหลังนี้อยู่ทุกวัน


พระอุโบสถเงิน

เป็นพระอุโบสถหลังใหม่ที่ปฏิสังขรณ์จากฐานและเขตพัทธสีมาของอุโบสถหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม สร้างขึ้นเพื่อทดแทนหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก มีลักษณะเป็นพระอุโบสถเงินทรงล้านนา สร้างด้วยโลหะเงินและดีบุก โดยฝีมือและภูมิปัญญาช่างท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงด้านเครื่องเงิน ทั้งภายนอกและภายในพระอุโบสถ ประดับตกแต่งด้วยหัตถกรรมเครื่องเงินอย่างวิจิตรอลังการ และมีลวดลายอ่อนช้อย ภายในประดิษฐานองค์พระประธาน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า พระเจ้าเจ็ดตื้อ เป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง ๓ ศอก สูง ๔ ศอก ปางมารวิชัย เนื้อทองสัมฤทธิ์ มีเรื่องเล่าขานเกี่ยวกับ พระพุทธปาฏิหาริย์ฯ(พระเจ้าเจ็ดตื้อ) ตลอดเวลาที่ประดิษฐานเป็นพระประธานอุโบสถวัดศรีสุพรรณมา กว่า ๕๐๐ ปี ได้แสดงปาฏิหาริย์ลงสรงน้ำในสระข้างโบสถ์ ได้โปรดเมตตาให้ผู้มีจิตอันบริสุทธิ์ด้วยศีลธรรมที่มาขอพรให้สมปรารถนา โดยเฉพาะผู้หญิงและยังมีนักพลังจิตหรือผู้มีญาณพิเศษทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ได้สัมผัสถึงพลัง ๓ คู่ คือ พลังหยิน – หยาง พลังร้อน – เย็น พลังเงิน-ทอง ในองค์หลวงพ่อพระเจ้าเจ็ดตื้อ ยิ่งมีผู้มีจิตศรัทธา เคารพสักการะ มานมัสการขอพรมากยิ่งขึ้น

108241.jpg
108241.jpg (198.68 KiB) เปิดดู 49364 ครั้ง


หมายเหตุ: ใต้ฐานอุโบสถ เขตพัทธสีมา (ภายในกำแพงแก้ว) ฝังสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ของมีค่า คาถาอาคมและเครื่องรางของคลังไว้กว่า ๕๐๐ ปีอาจก่อให้เกิดความเสื่อมแก่สถานที่หรือตัวสุภาพสตรีเองตามจารีตล้านนา จึงห้ามสุภาพสตรีขึ้นอุโบสถหลังนี้
น้ำฝน ทะกลกิจ
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 1111
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 30 ก.ย. 2018 1:00 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง สนทนากับคนภาษาไทย

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 7 ท่าน

cron