อัลบั้มรูปและบันทึกของ น้ำฝน ทะกลกิจ (น้ำฟ้า)

เสวนาภาษาไทย

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ"น้ำฟ้า"น้ำฝน ทะกลกิจ

โพสต์โดย น้ำฟ้า » เสาร์ 20 เม.ย. 2013 1:47 pm

น้ำฟ้า ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ เชียงใหม่

ตั้งอยู่ด้านหน้า หอศิลปวัฒนธรรมเมืองเชียงใหม่ ใกล้กับ วัดอินทขีลสะดือเมือง เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์แห่งการระลึกถึงการสร้างเมืองเชียงใหม่ของ พญามังราย และพระสหายทั้งสอง คือ พญางำเมือง เจ้าเมืองพะเยา และ พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหง) เจ้าเมืองสุโขทัย เมื่อครั้งพระองค์ทรงย้ายเมืองจากเวียงกุมกาม มาสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นอันเป็นชัยภูมิที่ดีกว่า โปรดฯ ให้สร้างที่ประทับชั่วคราวขึ้นบริเวณวัดเชียงมั่นในปัจจุบัน และได้ร่วมกับพระสหายทั้งสองสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 1839 จนแล้วเสร็จในปีเดียวกัน ซึ่งขนานนามเมืองที่สร้างขึ้นใหม่นี้ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่"

พระบรมราชานุสาวรีย์หล่อด้วยทองเหลืองและทองแดงรมดำ มีขนาดเท่าครึ่ง โดยมีความสูง 2.70 เมตร ออกแบบและทำการปั้นหล่อโดยอาจารย์ ไข่มุกด์ ชูโต พระบรมรูปประกอบด้วย พญามังรายประทับกลางเป็นประธาน พญาร่วงประทับอยู่เบื้องซ้าย พญางำเมืองประทับอยู่เบื้องขวา


พระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ ตั้งอยู่ที่ ถ.พระปกเกล้า ต.ศรีภูมิ อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่

16042013057_resize.jpg
16042013057_resize.jpg (87.81 KiB) เปิดดู 84480 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ"น้ำฟ้า"น้ำฝน ทะกลกิจ

โพสต์โดย น้ำฟ้า » เสาร์ 20 เม.ย. 2013 1:48 pm

เจดีย์บรรจุอัฐิ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว เชียงใหม่

DSCF0092_resize.JPG
DSCF0092_resize.JPG (125.02 KiB) เปิดดู 84480 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ"น้ำฟ้า"น้ำฝน ทะกลกิจ

โพสต์โดย น้ำฟ้า » เสาร์ 20 เม.ย. 2013 1:50 pm

น้ำพุร้อน สันกำแพง เชียงใหม่
ไฟล์แนป
DSCF0114_resize.JPG
DSCF0114_resize.JPG (198.4 KiB) เปิดดู 83998 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ"น้ำฟ้า"น้ำฝน ทะกลกิจ

โพสต์โดย น้ำฟ้า » เสาร์ 20 เม.ย. 2013 1:51 pm

น้ำฟ้า ณ วัดเจ็ดยอด มหาโพธาราม เชียงใหม่

DSCF0137_resize.JPG
DSCF0137_resize.JPG (64.94 KiB) เปิดดู 83998 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ"น้ำฟ้า"น้ำฝน ทะกลกิจ

โพสต์โดย น้ำฟ้า » เสาร์ 20 เม.ย. 2013 1:52 pm

เจดีย์ทราย ปี๋ใหม่เมือง
DSCF0140_resize.JPG
DSCF0140_resize.JPG (167.64 KiB) เปิดดู 83998 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ"น้ำฟ้า"น้ำฝน ทะกลกิจ

โพสต์โดย น้ำฟ้า » เสาร์ 20 เม.ย. 2013 1:53 pm

วัดเจ็ดยอด มหาโพธาราม เชียงใหม่

DSCF0126_resize.JPG
DSCF0126_resize.JPG (146.8 KiB) เปิดดู 83998 ครั้ง



น้ำฟ้า (น้ำฝน ทะกลกิจ) ไปสักการะพระเจดีย์วัดเจ็ดยอด มหาโพธาราม เชียงใหม่
ประวัติ องค์พระเจดีย์เจ็ดยอด

องค์เจดีย์ก่อด้วยศิลาแลง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ฐานชั้นล่างประกอบด้วยฐานเขียง และฐานปัทม์อย่างละ ๑ ชั้น ไม่มีลูกแก้วและบัวหงาย ด้านหน้ามีการเจาะช่องคูหาหรืออุโมงค์ลึกเข้าไปในตัววิหารประตูทางเข้าก่อเป็นซุ้มโค้ง ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานเขียงหันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ตรงกลางของช่องอุโมงค์เจาะด้านข้างทั้งสองข้างทะลุขึ้นไปชั้นบน ด้านหลังมีอุโมงค์ เช่นเดียวกันแต่ขนาดเล็กด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก ผนังภายนอกฉาบปูนและตกแต่งด้วยรูปเทวดาปูนปั้นซึ่งพบทั้งในลักษณะนั่งขัดสมาธิเพชรและยืนถือดอกบัวแบ่งคั่นเทวดาแต่ละองค์โดยการใช้เสาพรางแปดเหลี่ยมกั้นในแนวตั้งและใช้ลูกแก้วแบ่งช่องในแนวนอนทำให้ผนังแต่ละด้านถูกแบ่งเป็นช่องประดับเทวดาช่องละ ๑ องค์ และคาดว่ามีเทวดาทั้ง หมด ๗๐ องค์ ( ท่านั่ง ๒๖ องค์ และท่ายืน ๔๔ องค์ )
เครื่องภูษิดาภรณ์ และ ลวดลายประดับบนเทวดาเหล่านี้แตกต่างกัน ลักษณะของภูษาหรือผ้านุ่งของเทวดาในท่านั่งยืนเอียงสะโพก จะเป็นแบบชักชายพกออกมาห้อยคลุมด้านหน้าบังทับเข็มขัดและรัดสะเอวบางส่วนจึงไม่เห็นส่วนประดับหัวเข็มขัด ส่วนเทวดาในท่ายืนตรงจะไม่ชักชายออกมาทำให้เห็นส่วนประดับหัวเข็มขัดและรัดสะเอวทุกส่วน ท่อนพระองค์ส่วนบนอยู่ในลักษณะเปลือยเปล่ามีเครื่องประดับพระเศียรเป็นทรงกรวยสูง

ชั้นบนขององค์พระเจดีย์เจ็ดยอดประกอบด้วยเจดีย์เจ็ดองค์ องค์ใหญ่ที่สุดอยู่ตรงกลางเป็นทรงสี่เหลี่ยมมีซุ้มเข้าทางทิศตะวันออก ด้านในประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่งขัดสมาธิเพชรปางมารวิชัย และมีเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมลักษณะเดียวกันแต่ขนาดเล็กอีกสี่องค์เป็นเจดีย์ประจำมุมองค์ล้อมรอบเจดีย์ประธาน และมีซุ้มทางขึ้นจากชั้นล่างในเจดีย์ประจำมุมสององค์ด้านหน้า ส่วนอีกสององค์ด้านหลังมีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทั้งสององค์ เจดีย์ทั้งห้าองค์ประดับลวดลายปูนปั้นเป็นรูปเปลวเพลิงหรือใบเสมา และด้านหน้ามีลานกว้างที่มุมทั้งสองข้างมีเจดีย์ทั้งกลมขนาดเล็กอีกสององค์ทั้งหมดรวมเป็น ๗ องค์

องค์พระเจดีย์เจ็ดยอด นับเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกทางพุทธศาสนา ของล้านนาไทยมีความวิจิตรงดงามสะท้อนถึงความเจริญทางด้านศิลปกรรม และ สถาปัตยกรรมอย่างสูงสุด แม้ไม่ปรากฏปีศักราชหรือสร้างในสมัยใดอย่างชัดเจน แต่นักวิชาการส่วนใหญ่เห็นว่าน่าจะสร้างในสมัยพระเจ้าติโลกราชที่หมายถึงปฐมโพธิบัลลังก์ หนึ่งในสัตตมหาสถาน ส่วนรูปแบบทางสถาปัตยกรรมนักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าได้แบบอย่างมาจากมหาโพธิ์วิหารจากพุกาม แต่สมหมาย เปรมจิตต์ ศึกษาเปรียบเทียบเจดีย์เจ็ดยอดกับมหาโพธิ์วิหารที่พุทธคยา พบว่าคล้ายคลึงกันมากทั้งสัดส่วน รูปทรงและแม้แต่การตกแต่งรูปเทวดาปูนปั้นก็มีเครื่องทรงเครื่องประดับเหมือนกันอย่างไม่ผิดเพียนจนพูดได้ว่าเพียงแต่ย่อส่วน มหาโพธิ์วิหารมาเท่านั้น



เจดีย์บรรจุอัฐิพระเจ้าติโลกราช




พระเจ้าติโลกราชทรงสวรรคตในปี พ.ศ.2030 (ค.ศ.1487) พระเจ้ายอดเชียงราย ผู้เป็นพระราชนัดดา (หลาน) ขึ้นเสวยราชย์ครองเมืองเชียงใหม่แทน นับเป็นกษัตริย์องค์ที่ 10 แห่งราชวงศ์เม็งราย พระเจ้ายอดเชียงรายได้โปรดสร้างสถูปขนาดใหญ่ บรรจุพระอัฐิของพระอัยกาธิราช ( พระเจ้าติโลกราช ) ไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ชนรุ่นหลังให้ได้ตระหนักและระลึกถึงพระองค์ท่าน ในฐานะเป็นผู้สถาปนาวัดเจ็ดยอดนี้ขึ้นซึ่งยังคงปรากฏให้เห็นอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้
องค์เจดีย์นั้น ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์พระเจดีย์เจ็ดยอดเป็นเจดีย์ทรงปราสาทผสมทรงกลม กล่าวคือมีเรือนธาตุทรงปราสาทย่อเก็จขนาดใหญ่ ส่วนบนเป็นเจดีย์ทรงกลมประกอบด้วยฐานเขียงสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกันสองชั้น ฐานเขียงย่อเก็จซ้อนกันสามชั้น ฐานปัทม์ยย่อเก็จมีลูกแล้ว ๑ เส้น เรือนธาตุทรงปราสาทย่อเก็จมีซุ้มทั้งสี่ด้านแต่มีพระพุทธรูปประทับนั่งขัดสมาธิราบปางมารวิชัย ประดิษฐานเพียงซุ้มด้านทิศตะวันออกเพียงซุ้มเดียว อีกสามซุ้มเป็นซุ้มตื้น ๆ มีลายบัวคอเสื้อและบัวเชิงบาตรประดับที่เสาของแต่ละซุ้ม ถัดขึ้นไปเป็นฐานปัทม์ย่อเก็จอีก ๑ ชั้น และชั้นบัวถลา มีชั้นมาลัย เถาทรงกลมรองรับองค์ระฆัง ก้านฉัตร ปล้องไฉนและปลียอดตามลำดับ
ไฟล์แนป
DSCF0149_resize.JPG
DSCF0149_resize.JPG (113.27 KiB) เปิดดู 81837 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ"น้ำฟ้า"น้ำฝน ทะกลกิจ

โพสต์โดย น้ำฟ้า » เสาร์ 20 เม.ย. 2013 1:55 pm

อนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา วัดศรีโสดา เชิงดอยสุเทพ

อนุสาวรีย์พระครูบาศรีวิชัย ตั้งอยู่บนทางขึ้นดอยสุเทพ ก่อนถึงน้ำตกห้วยแก้ว ครูบาศรีวิชัยเป็นนักบุญแห่งลานนาไทย ผู้เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวเชียงใหม่ และประชาชนโดยทั่วไป เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ พระครูบาศรีวิชัยขณะที่จำพรรษาอยู่ที่วัดศรีโสดาเริ่มชักชวนประชาชนสร้างถนนจากเชิงดอยถึงวัดพระธาตุดอยสุเทพ รวมระยะทางประมาณ ๑๒ กิโลเมตรโดยใช้เวลาสร้างประมาณ ๖ เดือน ต่อมาชาวเชียงใหม่จึงได้สร้างอนุสาวรีย์พระครูบาศรีวิชัยไว้เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อสักการะบูชาสืบไป

DSCF0169_resize.JPG
DSCF0169_resize.JPG (109.68 KiB) เปิดดู 83998 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ"น้ำฟ้า"น้ำฝน ทะกลกิจ

โพสต์โดย น้ำฟ้า » เสาร์ 20 เม.ย. 2013 1:57 pm

ไปกราบสักการะพระธาตุดอยสุเทพ

DSCF0160_resize.JPG
DSCF0160_resize.JPG (130.87 KiB) เปิดดู 81837 ครั้ง


วัดพระธาตุดอยสุเทพวรวิหาร อยู่สูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,053 เมตรเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสำคัญทางศาสนาและทางประวัติศาสตร์ของนครเชียงใหม่ สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1927 ในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช เจ้าเมืองเชียงใหม่องค์ที่ ๙ โดยพระเจ้ากือนาทรงรับสั่งให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่พระมหาสุมนเถระ นำมาจากเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งได้ขุดพบจากนิมิตฝันของพระมหาสุมนเอง เมื่ออัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาสู่เชียงใหม่แล้ว พระธาตุได้แยกเป็นสองส่วน พระเจ้ากือนาทรงเลื่อมใส ได้อัญเชิญบรรจุไว้ที่พระธาตุวัดสวนดอก ส่วนองค์ที่สอง ได้อัญเชิญขึ้นบนหลังช้างเพื่อเสี่ยงทายว่า ช้างหยุดที่ใด ก็จะสร้างเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุที่นั่น แล้วปล่อยช้างไป ช้างได้มุ่งหน้าไปสู่ทิศตะวันตก ขึ้นไปยังดอยสุเทวะฤาษี หรือดอยสุเทพปัจจุบัน แล้วมาหยุดที่ยอดดอยสุเทพ ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานขององค์เจดีย์ทรงมอญที่ใต้ฐานพระเจดีย์มีพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบรรจุอยู่ วัดพระธาตุดอยสุเทพมีชื่อเต็มว่า"วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพวรวิหาร" ซึ่งจัดได้ว่าเป็นปูชนียสถานที่แสดงออกถึงศิลปกรรมล้านนาไทยที่สำคัญคู่เมืองเชียงใหม่ เป็นสถานที่เคารพบูชาที่มีความสวยงามเป็นที่รู้จักและนิยมไปสักการะของประชาชนทั่วไป
พระบรมธาตุดอยสุเทพ ความหมายของพระบรมธาตุหมายถึง พระอัฐิที่ผุกร่อนหรือเถ้าถ่านของพระพุทธเจ้า ซึ่งมารวมตัวอัดแน่นเป็นก้อนแข็งราวกับแร่ธาตุชนิดหนึ่งแล้วก็ตกผลึกมีแสงแวววาวระยิบระยับ ประหนึ่งก้อนหยกที่ถูกเจียรไนแล้ว ขนาดสัณฐานของพระบรมธาตุมีลักษณะกลมเล็กสะท้อนแสง ขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว พระบรมธาตุที่แท้จริงจะสำแดงนิมิตปาฏิหารย์ได้ โดยทั่วไปจะมีสีแสงโชติช่วงในเวลากลางคืนและมีพลังอำนาจในตัวของมันเอง จะมีทั้งแยกธาตุ - รวมธาตุและสลายธาตุหายไป ได้โดยพลังอำนาจฉับพลันราวกับปาฏิหารย์ ชาวพุทธนิยมเก็บพระบรมธาตุไว้ในเจดีย์ หรือไม่ก็ขุดฝังไว้ภายใต้องค์พระเจดีย์ เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมทั้งยังเป็นการสร้างสถานที่สำคัญไว้เคารพบูชาของคนและเทวดาทั้งหลาย และยังเป็นเรื่องแปลกประหลาดมหัศจรรย์อย่างยิ่งที่พระบรมธาตุมีพลานุภาพอย่างมาก หากใครได้ยินได้ฟังแล้วก็อยากจะมาเยี่ยมชมและกราบไหว้นมัสการองค์พระเจดีย์อยู่มิได้ขาด


บันไดนาค มีบันไดนาคทอดยาวขึ้นไปสู่วัด บันไดนาค เป็นสัญลักษณ์สำคัญแห่งหนึ่งของวัดพระธาตุดอยสุเทพ มีความงดงามทางด้านศิลปะที่ทรงคุณค่า และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ นักท่องเที่ยวผู้มานมัสการพระบรมธาตุ มักจะต้องถ่ายภาพเป็นที่ระลึกที่ด้านของบันไดนาค ซึ่งมีทัศนียภาพงดงามและมีเสน่ห์เมื่อมองขึ้นไปตามขั้นได นักท่องเที่ยวที่มาเยือนครั้งแรก มักจะเดิน ขึ้นหรือเดินลงบันไดนาคเสมอ แต่ส่วนใหญ่มักจะเดินลง ส่วนตอนขึ้นนั้นมักจะขึ้นทางลิฟท์หรือรถรางไฟฟ้า

ในสมัยก่อน การขึ้นไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพนั้น เป็นเรื่องที่ยากลำบากเหลือเกิน เพราะไม่มีถนนสะดวกสบายเหมือนปัจจุบัน ทางเดินก็แคบๆ และ ไม่ราบเรียบ ต้องผ่านป่าเขาลำเนาไพร และปีนเขาต้องใช้เวลายาวนานถึง 5ชั่วโมงกว่า จนมีคำกล่าวขานกันทั่วไปในสมัยนั้นว่า ถ้าไม่มีพลังบุญและศรัทธาเลื่อมใสจริงๆ ก็จะไม่มีโอกาสได้ กราบไหว้ พระธาตุดอยสุเทพฯ


ค่ำคืนนี้มีความสุข ณ บันไดทางขึ้นวัดพระธาตุดอยสุเทพ น้ำฟ้าน่ากลัว ๕๕๕
DSCF0157_resize.JPG
DSCF0157_resize.JPG (114.29 KiB) เปิดดู 83998 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ"น้ำฟ้า"น้ำฝน ทะกลกิจ

โพสต์โดย น้ำฟ้า » เสาร์ 20 เม.ย. 2013 2:00 pm

ทุกครั้งที่ได้แต่งตัวด้วยชุดผ้าเมือง คือความสุข คือความคุ้นเคยอย่างประหลาด (ชักจะนิยายละ๕๕)

1214.jpg
1214.jpg (36.22 KiB) เปิดดู 84322 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ"น้ำฟ้า"น้ำฝน ทะกลกิจ

โพสต์โดย น้ำฟ้า » เสาร์ 20 เม.ย. 2013 2:01 pm

น้ำฟ้ากับแม่ ^^

DSCF0180_resize.JPG
DSCF0180_resize.JPG (126.77 KiB) เปิดดู 84322 ครั้ง
ผู้หญิงธรรมดา..แต่ใจมันด้านชาผู้ชาย
ภาพประจำตัวสมาชิก
น้ำฟ้า
นักเขียนแห่งปี
นักเขียนแห่งปี
 
โพสต์: 886
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ 11 ก.ค. 2008 10:19 am

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ"น้ำฟ้า"น้ำฝน ทะกลกิจ

โพสต์โดย ภาษาสยาม » เสาร์ 15 มิ.ย. 2013 8:19 am

๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๖

555874.jpg
555874.jpg (18.95 KiB) เปิดดู 72459 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

Re: อัลบั้มรูปและบันทึกของ"น้ำฟ้า"น้ำฝน ทะกลกิจ

โพสต์โดย ภาษาสยาม » เสาร์ 15 มิ.ย. 2013 8:24 am

วันไหว้ครู ณ ดรงเรียนปากเกร็ด นนทบุรี

ในคาบสอนนักเรียนมาขอถ่ายรูป ก็ตอบตกลงไป พอเอาจริงนักเรียนขอว่า "หนูขอถ่ายแบบกราบครูได้ไหมคะ"
ก็อนุญาตค่ะ นักเรียนจึงให้เพื่อนมาถ่ายรูปให้และกราบ ที่เราเงยหน้าขึ้นมองกล้อง เพราะเข้าใจว่าถ่ายเล่นๆ
สักพักนักเรียนเงยหน้าขึ้นมา พูดว่า "เนื่องในวันนี้เป็นวันไหว้ครู หนูขอให้ครูมีความสุขมากๆนะคะ" ครู..อึ้งกิมกี่เลย
ไฟล์แนป
1000417_383842825057821_296666579_n.jpg
1000417_383842825057821_296666579_n.jpg (52.83 KiB) เปิดดู 72459 ครั้ง
บาดแผลเป็นสัญลักษณ์ของนักสู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
ภาษาสยาม
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 1145
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ 06 ก.ค. 2008 9:43 pm

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง สนทนากับคนภาษาไทย

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 138 ท่าน

cron